พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่า & การชำระค่าเช่า: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น, การวางทรัพย์มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์, อุทธรณ์เรื่องการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องขัดต่อ ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์ที่จำเลยเช่าจาก น.และ พ.แล้ว โจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เช่า จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ ปัญหานี้ย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายที่ดินที่เช่าระหว่างโจทก์กับ น. และ พ.เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืม สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินที่เช่านั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142
โจทก์ได้มอบให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่ 22 ธันวาคม 2535แจ้งให้จำเลยทราบว่า น. และ พ.ขายที่ดินที่จำเลยเช่าให้โจทก์แล้ว ให้จำเลยนำค่าเช่างวดที่จะต้องชำระภายในวันที่ 20 มีนาคม 2536 มาชำระให้โจทก์ซึ่งจำเลยรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 การที่จำเลยนำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ประจำศาลจังหวัดภูเก็ตโดยมีเงื่อนไขในการวางทรัพย์ตามคำร้องขอวางทรัพย์ว่า หากโจทก์มารับเงินก็ขอให้โจทก์ทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิมที่ น.ทำกับจำเลย เมื่อโจทก์ขอรับเงินที่จำเลยวางไว้เพื่อชำระค่าเช่าตามสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 วรรคสอง แต่ไม่อาจรับเงินได้เนื่องจากติดเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในการวางเงินดังกล่าวที่ว่าโจทก์ต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยใหม่ตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิม ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติใดใน ป.พ.พ.ว่าด้วยเช่าทรัพย์บัญญัติรองรับไว้ การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ ดังนั้นการวางเงินโดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระค่าเช่านั้นให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การโอนทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องน.มิได้แจ้งการโอนให้จำเลยทราบเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรกการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ชอบ จึงถือว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยและไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า จำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ได้มอบให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่ 22 ธันวาคม 2535แจ้งให้จำเลยทราบว่า น. และ พ.ขายที่ดินที่จำเลยเช่าให้โจทก์แล้ว ให้จำเลยนำค่าเช่างวดที่จะต้องชำระภายในวันที่ 20 มีนาคม 2536 มาชำระให้โจทก์ซึ่งจำเลยรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 การที่จำเลยนำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ประจำศาลจังหวัดภูเก็ตโดยมีเงื่อนไขในการวางทรัพย์ตามคำร้องขอวางทรัพย์ว่า หากโจทก์มารับเงินก็ขอให้โจทก์ทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิมที่ น.ทำกับจำเลย เมื่อโจทก์ขอรับเงินที่จำเลยวางไว้เพื่อชำระค่าเช่าตามสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 วรรคสอง แต่ไม่อาจรับเงินได้เนื่องจากติดเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในการวางเงินดังกล่าวที่ว่าโจทก์ต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยใหม่ตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิม ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติใดใน ป.พ.พ.ว่าด้วยเช่าทรัพย์บัญญัติรองรับไว้ การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ ดังนั้นการวางเงินโดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระค่าเช่านั้นให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การโอนทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องน.มิได้แจ้งการโอนให้จำเลยทราบเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรกการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ชอบ จึงถือว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยและไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า จำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการมอบสิทธิถอนเงินจากบัญชี และการรับชำระหนี้บางส่วนโดยเจ้าหนี้
ล.ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์รวม 275,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 1ค้ำประกัน และ ล.ได้มอบสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้ไว้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปถอนเงินเดือนของ ล.จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โจทก์ถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติรวม 345,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนนี้หักชำระหนี้จากเงินที่ ล.กู้จากโจทก์จำนวน 275,000 บาท แต่เงินที่โจทก์ถอนมาทั้งหมดอันจะนำไปหักชำระหนี้นั้นเป็นการชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้ความว่าคงเหลือต้นเงินเท่าใด และโจทก์ก็อ้างว่า ล.ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์เลยดังนั้นจึงกำหนดต้นเงินตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การยอมรับว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนไปแล้วเป็นเงิน 210,000 บาท
การที่ ล.มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ก็รับฟังได้ว่า ล.ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
การที่ ล.มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ก็รับฟังได้ว่า ล.ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการมอบบัตรเอทีเอ็มและการยอมรับการชำระหนี้โดยเจ้าหนี้
ล.ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์รวม275,000บาทโดยมีจำเลยที่1ค้ำประกันและล. ได้มอบสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้ไว้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปถอนเงินเดือนของล.จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โจทก์ถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติรวม345,000บาทจึงต้องนำเงินจำนวนนี้หักชำระหนี้จากเงินที่ล. กู้จากโจทก์จำนวน275,000บาทแต่เงินที่โจทก์ถอนมาทั้งหมดอันจะนำไปหักชำระหนี้นั้นเป็นการชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้ความว่าคงเหลือต้นเงินเท่าใดและโจทก์ก็อ้างว่าล. ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์เลยดังนั้นจึงกำหนดต้นเงินตามที่จำเลยที่2และที่3ให้การยอมรับว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนไปแล้วเป็นเงิน210,000บาท การที่ล. มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา321แม้ว่าจำเลยที่2ที่3ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคสองก็รับฟังได้ว่าล. ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการมอบบัตร ATM และการยอมรับการชำระหนี้โดยเจ้าหนี้
ล. ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์2ครั้งและได้มอบสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติไว้กับโจทก์โดยมีข้อตกลงให้โจทก์นำสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อหักชำระหนี้เงินกู้ได้แม้การใช้เงินกู้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคสองแต่การที่โจทก์ได้รับมอบสิทธิในการเบิกเงินจากล. โดยนำบัตรถอนเงินอัตโนมัติไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของล.ที่เปิดไว้กับธนาคารผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติของธนาคารนั้นถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา231วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ: การจอดรถกีดขวางทางรถไฟ และความประมาทของผู้ขับรถไฟ
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนก้นพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดกรณีฟังได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์แล้วและเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223วรรคหนึ่ง,438วรรคหนึ่งและ442ปรากฎว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าค้นอื่นพนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไปส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ20เมตรเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้นซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว15กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ50เมตรในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ3ปีก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำและพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา18นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นการที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้าแสดงว่าการที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าเพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่าในส่วนของความประมาทเลินเล่อของศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการจอดรถกีดขวางทางรถไฟและการประมาทของพนักงานขับรถไฟ ศาลแบ่งความรับผิด
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิได้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฎิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดจำเลยที่2จึงละเมิดต่อโจทก์และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425 การที่ช. ขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อผ่านทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันมีรถยนต์ของจำเลยที่2อยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่นแต่ช. คงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันนั้นในภาวะเช่นนั้นช. ย่อมจะคาดหมายได้ว่าอาจเกิดการเฉี่ยวชนรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่ขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วการที่ช. ขับรถไฟด้วยอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าช.มีความประมาทเลินเล่อด้วยส่วนหนึ่งแต่การที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้ช. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่เห็นย่อมจะไม่ได้เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังมากกว่าในส่วนประมาทเลินเล่อของช. จึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: การประมาทเลินเล่อของทั้งคนขับรถบรรทุกและพนักงานขับรถไฟ
การที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่า เมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 57 (8) จึงบัญญัติว่า ห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า 15 เมตรแต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่น เมื่อจำเลยที่ 2 นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ 2 เมตร หรือ 1 เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ผิด กรณีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา 425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223 วรรคหนึ่ง, 438 วรรคหนึ่ง และ 442 ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่น พนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไป ส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ 20 เมตร เมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ 10 เมตร เห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน ช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้น ซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้ว ปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ 50 เมตร ในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ 3 ปี ก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำ และพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา 18 นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น การที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้า แสดงว่าการที่จำเลยที่ 2 นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้ พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อย จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่า เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับ เป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่า ในส่วนของความประมาทเลินเล่อศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน และอำนาจศาลในการกำหนดค่าธรรมเนียมผู้เชี่ยวชาญ
สำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องไม่มีต้นฉบับ ไม่ใช่ต้นฉบับสูญหายดังที่โจทก์อ้าง และสำเนาสัญญาค้ำประกันที่อ้างส่งศาลก็มิใช่ต้นฉบับที่เป็นคู่ฉบับลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันของเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและสัญญาค้ำประกันที่ส่งศาลโจทก์จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในคดีนี้หาได้ไม่ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีปฏิเสธว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ปลอม จำเลยที่ 2 จึงต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เมื่อจำเลยที่ 2 เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ไปเท่าใด ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ เพราะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 129 (2) แม้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมิได้กำหนดไว้ในตาราง 1 ถึง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคสอง
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารอื่นกับสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้อง และสัญญาค้ำประกันไปให้ผู้เชี่ยวชาญ กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ดังจำเลยที่ 2แถลงไว้ ดังนี้ถือว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 99 แล้วและการกำหนดความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับคู่ความนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคแรก ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจักมีคำขอหรือไม่ ก็ให้ศาลสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 167 วรรคแรก คดีนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ถ้าหากเห็นเป็นการสมควร ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารนั้นชอบแล้ว
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีปฏิเสธว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ปลอม จำเลยที่ 2 จึงต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เมื่อจำเลยที่ 2 เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ไปเท่าใด ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ เพราะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 129 (2) แม้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมิได้กำหนดไว้ในตาราง 1 ถึง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคสอง
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารอื่นกับสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้อง และสัญญาค้ำประกันไปให้ผู้เชี่ยวชาญ กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ดังจำเลยที่ 2แถลงไว้ ดังนี้ถือว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 99 แล้วและการกำหนดความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับคู่ความนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคแรก ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจักมีคำขอหรือไม่ ก็ให้ศาลสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 167 วรรคแรก คดีนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ถ้าหากเห็นเป็นการสมควร ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตรวจพิสูจน์เอกสาร: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจแบ่งความรับผิดค่าธรรมเนียม แม้ไม่ได้กำหนดในตารางค่าฤชาธรรมเนียม
กรณีที่ต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เมื่อจำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญไปเท่าใด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ เพราะเป็นค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1219(2)แม้จะมิได้กำหนดไว้ในตาราง 1 ถึง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตามมาตรา 161 วรรคสอง จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่า เป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ดังจำเลยแถลงไว้ ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 แล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ก็มี อำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ถ้าหากเห็นเป็นการสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรกและมาตรา 167 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์ให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่มีหลักฐานพิสูจน์การทำสัญญา จำเลยไม่ต้องรับผิด
สำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องไม่มีต้นฉบับไม่ใช่ต้นฉบับสูญหายดังที่โจทก์อ้างและสำเนาสัญญาค้ำประกันที่อ้างส่งศาลก็มิใช่ต้นฉบับที่เป็นคู่ฉบับลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันของเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่2ดังนี้เมื่อจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและสัญญาค้ำประกันที่ส่งศาลโจทก์จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในคดีนี้หาได้ไม่ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยที่2ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้ โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์จำเลยที่2ต่อสู้คดีปฏิเสธว่าจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์กล่าวอ้างลายมือชื่อของจำเลยที่2ในสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือชื่อจำเลยที่2ปลอมจำเลยที่2จึงต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเลยที่2เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ไปเท่าใดศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้เพราะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา129(2)แม้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมิได้กำหนดไว้ในตาราง1ถึง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ตามแต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคสอง ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่2ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารอื่นกับสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้องและสัญญาค้ำประกันไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักบานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ดังจำเลยที่2แถลงไว้ดังนี้ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา99แล้วและการกำหนดความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับคู่ความนั้นศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคแรกไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจักมีคำขอหรือไม่ก็ให้ศาลสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา167วรรคแรกคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้จำเลยที่2จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ถ้าหากเห็นเป็นการสมควรที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารนั้นชอบแล้ว