พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหาย มิใช่ตราสารทางภาษี
บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายซึ่งจำเลยทั้งสองลงชื่อเป็นพยานและผู้ค้ำประกันระบุว่ามีคู่กรณี 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกคือโจทก์ทั้งสอง ฝ่ายหลังคือนาย ท.คู่กรณีตกลงกันให้ฝ่ายหลังชดใช้ค่าเสียหายคืนให้ฝ่ายแรกตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากฝ่ายหลังผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจะเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน ในตอนท้ายของบันทึกได้ระบุว่าคู่กรณีตกลงกันเป็นที่เข้าใจดีแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่นาย ท.ในข้อหาฉ้อโกงทรัพย์อีกต่อไป พร้อมกับลงชื่อโจทก์ทั้งสอง นาย ท. จำเลยทั้งสองและพนักงานสอบสวนดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้ค้ำประกันอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเมื่อนาย ท.ผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามข้อตกลง และถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญในอันที่โจทก์ทั้งสองจะนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องจำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่ตราสารตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญาหลังถูกลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
จำเลยประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลโดยทำใบมอบอำนาจปลอมยื่นต่อศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1),33ซึ่งสั่งลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดเป็นโจทก์ฟ้องแม้จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งแล้วพนักงานอัยการได้ทำคำแก้อุทธรณ์ก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานปลอมเอกสารใบมอบอำนาจและใช้เอกสารปลอม จึงเป็นคนละเรื่องกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาล ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมไม่ระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิไม่ใช่เอกสารสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาลไม่ใช่การฟ้องซ้ำ คดีปลอมแปลงเอกสารเป็นคนละประเด็น
จำเลยกระทำการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 31 (1), 33 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจพิเศษในการสั่งลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้อง แม้จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วพนักงานอัยการได้ทำคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์
ความผิดของจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำคุกจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
ความผิดของจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำคุกจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำคดีปลอมแปลงเอกสาร แม้เคยถูกลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลแล้ว สิทธิฟ้องไม่ระงับ และประเด็นเอกสารธรรมดาไม่ใช่เอกสารสิทธิ
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาลซึ่งกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจพิเศษในการสั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้องแม้พนักงานอัยการจะได้ทำคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยก็ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์ส่วนความผิดคดีนี้เป็นเรื่องปลอมและใช้เอกสารปลอมโดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาลซึ่งถึงที่สุดแล้วสิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดาซึ่งบุคคลหนึ่งมอบหมายให้บุคคลหนึ่งมีอำนาจจัดทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้นไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิจึงไม่ใช่เอกสารสิทธิตามความแห่งกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องแย้ง – ประเด็นต่างกัน – ไม่อาจรวมพิจารณา
มูลหนี้ตามฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกหนี้เงินตามสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 กู้ไปแล้วชำระคืนให้โจทก์ไม่ครบและขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และได้ชำระเงินที่กู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว แต่ปฏิเสธที่จะชำระในส่วนที่ค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าถูกโจทก์และบริษัท ด.หลอกลวงให้หลงเชื่อว่า บริษัทดังกล่าวเสนอขายที่ดินสวนเกษตรจะปลูกต้นมะขามหวาน โดยแบ่งเป็นแปลงละ 2 ไร่ พร้อมกับจัดให้มีสาธารณูปโภค จำเลยที่ 1 จึงได้ตกลงทำสัญญาจองและจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทดังกล่าว ต่อมาบริษัทดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติตามโครงการที่เสนอขายอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินกู้ในส่วนที่ยังชำระไม่ครบคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างบริษัท ด. กับจำเลยที่ 1 โดยอ้างเหตุว่า บริษัทดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามโครงการจัดขายที่ดินสวนเกษตรจึงเป็นข้อเท็จจริงและหลักฐานที่จะนำสืบคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างไปจากฟ้องเดิมของโจทก์ที่ขอบังคับตามสัญญากู้เงินและจำนอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัท ด. และว.จึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณารวมกันได้
มูลหนี้ตามฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกหนี้เงินตามสัญญากู้เงินที่จำเลยที่1กู้ไปแล้วชำระคืนให้โจทก์ไม่ครบและขอให้ศาลบังคับจำเลยที่1ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่1ให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และได้ชำระเงินที่กู้ให้โจทก์บางส่วนแล้วแต่ปฏิเสธที่จะชำระในส่วนที่ค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าถูกโจทก์และบริษัทด.หลอกลวงให้หลงเชื่อว่าบริษัทดังกล่าวเสนอขายที่ดินสวนเกษตรจะปลูกต้นมะขามหวานโดยแบ่งเป็นแปลงละ2ไร่พร้อมกับจัดให้มีสาธารณูปโภคจำเลยที่1จึงได้ตกลงทำสัญญาจองและจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทดังกล่าวต่อมาบริษัทดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติตามโครงการที่เสนอขายอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาคดีจึงมีประเด็นเพียงว่าจำเลยที่1ต้องชำระเงินกู้ในส่วนที่ยังชำระไม่ครบคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่การที่จำเลยที่1ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างบริษัทด. กับจำเลยที่1โดยอ้างเหตุว่าบริษัทดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามโครงการจัดขายที่ดินสวนเกษตรจึงเป็นข้อเท็จจริงและหลักฐานที่จะนำสืบคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างไปจากฟ้องเดิมของโจทก์ที่ขอบังคับตามสัญญากู้เงินและจำนองฟ้องแย้งของจำเลยที่1ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทด.และว.จึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต - การนับกรรมความผิดจากการอนุมัติเบิกเกินบัญชี
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตโดยจำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยจำเลยไม่มีอำนาจ แม้จะได้ความว่า หลังจากจำเลยลาออกจากโจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ยอมรับการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัท ส.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวชำระหนี้ที่ก่อไว้เท่านั้น หาเป็นการสละหรือยอมให้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นระงับไปไม่ เมื่อจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตต่อโจทก์อันเป็นความผิดแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายหรือไม่
จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกัน แต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียว ดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่ง เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่ง จำเลยอนุมัติทั้งหมด 144 วัน จึงเป็นความผิด 144 กรรม มิใช่เป็นความผิด 338 กรรม ตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ
จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกัน แต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียว ดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่ง เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่ง จำเลยอนุมัติทั้งหมด 144 วัน จึงเป็นความผิด 144 กรรม มิใช่เป็นความผิด 338 กรรม ตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบิกเงินเกินบัญชี การแบ่งกรรมและความรับผิดชอบ
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตโดยจำเลยอนุมัติให้บริษัทส. เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยจำเลยไม่มีอำนาจแม้จะได้ความว่าหลังจากจำเลยลาออกจากโจทก์แล้วต่อมาโจทก์ได้ยอมรับการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัทส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ก็ตามก็เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวชำระหนี้ที่ก่อนไว้เท่านั้นหาเป็นการสละหรือยอมให้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นระงับไม่เมื่อจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตต่อโจทก์อันเป็นความผิดแล้วโจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่คำนึงถึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายหรือไม่ จำเลยอนุมัติให้บริษัทส. เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกันแต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียวดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่งเมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่งดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัทส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่งจำเลยอนุมัติทั้งหมด144วันจึงเป็นความผิด144กรรมมิใช่เป็นความผิด338กรรมตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.จังหวัด: บิดาที่ชอบ/ไม่ชอบด้วยกฎหมาย & การแจ้งเท็จเพื่อลงสมัคร
คำว่า"บิดา"ตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดฯ มาตรา16ทวิและ19หมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะบทบัญญัติดังกล่าวที่กำหนด คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหาได้มุ่งถึงสถานะของผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงฝ่ายเดียวเป็นสาระสำคัญไม่แต่คำนึงถึงเชื้อชาติตามความเป็นจริง จำเลยแจ้งความอันเป็นเท็จโดยกรอกข้อความในใบสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดว่าบิดาจำเลยเป็นคนสัญชาติไทยและจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปี4โดยรู้อยู่ว่าไม่เป็นความจริงจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดฯมาตรา64
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.จังหวัด: บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย & วุฒิการศึกษา – การแจ้งเท็จมีผลทางอาญา
คำว่า "บิดา" ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดพ.ศ. 2482 มาตรา 19 และมาตรา 16 ทวิ หมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนสัญชาติจีนและจำเลยไม่จบชั้นมัธยมปีที่ 4 ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด แต่กลับแจ้งความอันเป็นเท็จ โดยกรอกข้อความในใบสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดว่า บิดาจำเลยเป็นคนสัญชาติไทยและจำเลยจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 4จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482มาตรา 64