พบผลลัพธ์ทั้งหมด 940 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์ และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
โจทก์และบริวารเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 อย่างปรปักษ์นานเกินกว่า 10 ปี แม้ที่ดินของโจทก์ด้านหนึ่งจะติดกับทางสาธารณะอยู่แล้วก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่โจทก์จะได้สิทธิในทางภาระจำยอมผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
ศาลล่างพิพากษากำหนดแนวของทางภาระจำยอมผิดพลาดโดยกำหนดแนวของทางอยู่นอกเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเลยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินข้างเคียง ทั้งที่ได้วินิจฉัยในคำพิพากษาแล้วว่าทางอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และมีความกว้าง 2 ศอก กรณีถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยมีผลทำให้คำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
ศาลล่างพิพากษากำหนดแนวของทางภาระจำยอมผิดพลาดโดยกำหนดแนวของทางอยู่นอกเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเลยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินข้างเคียง ทั้งที่ได้วินิจฉัยในคำพิพากษาแล้วว่าทางอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และมีความกว้าง 2 ศอก กรณีถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยมีผลทำให้คำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทางภารจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีทางสาธารณะ ศาลแก้ไขแนวทางผิดพลาด
โจทก์และบริวารเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1อย่างปรปักษ์ นานเกินกว่า 10 ปี แม้ที่ดินของโจทก์ด้านหนึ่งจะติดกับทางสาธารณะอยู่แล้วก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่โจทก์จะได้สิทธิในทางภารจำยอมผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบด้วยมาตรา 1382 ศาลล่างพิพากษากำหนดแนวของทางภารจำยอมผิดพลาดโดยกำหนดแนวของทางอยู่นอกเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเลยล้ำเข้าไปเขตที่ดินข้างเคียง ทั้งที่ได้วินิจฉัยในคำพิพากษาแล้วว่าทางอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และมีความกว้าง 2 ศอก กรณีถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยมีผลทำให้คำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์ต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน การสันนิษฐานจากความเป็นเจ้าของบัตร เอทีเอ็ม. ไม่เพียงพอ
โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยนำบัตร เอ.ที.เอ็ม.ไปกดถอนเงินจากบัญชีของ น. จะอาศัยเพียงว่าการที่จำเลยเป็นเจ้าของบัตรจึงสันนิษฐานว่าจำเลยนำบัตรไปกดถอนเงินไม่ได้ เพราะผู้ที่ได้บัตรนั้นไปและรู้เลขรหัสก็สามารถนำบัตรไปกดถอนเงินได้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเจ้าของบัตร พยานโจทก์ยังมีข้อน่าสงสัยไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ แม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ห้ามฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงไม่ถูกต้อง และการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 75,76(1)(4)แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้ เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21(มาตรา 22 เดิม) เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้ เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา 40,41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ. 2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยานศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 14ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75, 76 (1) (4) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้
เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 (มาตรา 22 เดิม)เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา40, 41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ.2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 17 ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด
เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 (มาตรา 22 เดิม)เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา40, 41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ.2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 17 ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นกับการฟ้องร้องคดีอาคาร: การแยกบทบาทนายกเทศมนตรีและเทศบาล
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้...เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า (1) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล...ดังนั้น นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนเทศบาลเมืองนนทบุรีจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น และที่นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารก็สั่งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) หรือไม่ อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) หรือไม่ อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาคาร: คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (นายกเทศมนตรี) มิใช่คำสั่งของเทศบาล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 คำสั่งอนุญาตหรือไม่ อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า (1)นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล ดังนั้น นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนเทศบาลเมืองนนทบุรี จำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น และที่นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารก็สั่งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) หรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินเกาะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงที่กำหนด ผู้ครอบครองไม่แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิ
ที่ดินทั้ง 2 แปลง ที่โจทก์ขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดินที่ตั้งอยู่บนเกาะ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" อย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดงหรือโจทก์ต้องเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่ง ป.ที่ดิน โดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว แต่โจทก์หาได้มีหลักฐานดังกล่าว หรือหาได้เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 2 แปลง สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อน พ.ร.บ.ให้ใช้ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 ประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรณีที่มิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 อันอาจทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินได้เป็นการเฉพาะรายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าที่ดินประเภทใด จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่นั้น จะต้องอยู่ในบังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ด้วย เมื่อปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลง เป็นที่เกาะและมิได้เป็นประเภทที่ดินซึ่งสามารถจะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 แปลง ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินเกาะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง หากไม่มีหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด จะขอออกไม่ได้
ที่ดินทั้ง 2 แปลง ที่โจทก์ขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดินที่ตั้งอยู่บนเกาะ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 43(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีใบจอง ใบเหยียบย่ำหนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า"ได้ทำประโยชน์แล้ว" อย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดงหรือโจทก์ต้องเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว แต่โจทก์หาได้มีหลักฐานดังกล่าว หรือหาได้เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามกฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 2 แปลง สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลที่ดิน พ.ศ. 2497 ประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรณีที่มิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 อันอาจทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินได้เป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าที่ดินประเภทใด จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่นั้น จะต้องอยู่ในบังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 43(พ.ศ. 2537) ด้วย เมื่อปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงเป็นที่เกาะและมิได้เป็นประเภทที่ดินซึ่งสามารถจะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 แปลง ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง, ปลอมแปลงเอกสาร, และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านเท็จ
ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิของผู้ให้เช่าจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)
จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก
การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัด-ชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือนเดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม ป.อ.มาตรา 157
จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก
การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัด-ชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือนเดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม ป.อ.มาตรา 157