พบผลลัพธ์ทั้งหมด 940 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง, ปลอมแปลงเอกสาร, และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านเท็จ
ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิของผู้ให้เช่าจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)
จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก
การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัด-ชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือนเดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม ป.อ.มาตรา 157
จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก
การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัด-ชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือนเดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม ป.อ.มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบขนย้ายน้ำตาลทรายขาวฝ่าฝืนระเบียบ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การพิสูจน์หลักฐานการขาดบัญชี
แม้การที่น้ำตาลทรายขาดบัญชีไปอาจเกิดจากตรวจนับชั่งน้ำหนัก หรือ การชำรุดของกระสอบก็ตาม แต่ขั้นตอนการ บรรจุเก็บรักษามีพนักงานของโจทก์และของบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทยจำกัด ตรวจนับและทำบัญชีบันทึกไว้ และการขนย้ายต้องได้รับอนุญาตจากบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด โดยมีพนักงานของโจทก์และของบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ควบคุมตรวจนับตลอดเวลา จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีการคลาดเคลื่อนทางบัญชีมากดังที่โจทก์อ้าง การขาดบัญชีกรณีที่อ้างว่าเอาน้ำตาลทรายขาวธรรมดาไปส่งแก่ลูกค้าแทนน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ที่มีไม่เพียงพอหรืออ้างว่านำไปบริจาคแก่วัด โรงเรียน หน่วยราชการ และแจกแก่พนักงานโจทก์ในเทศกาล ต่าง ๆ ทำให้ไม่ตรงกับบัญชีก็เป็นกรณีขนย้ายที่ต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจึงรับฟังไม่ได้ และการขนย้ายน้ำตาลทรายโดยมิได้รับอนุญาตก็ทำให้น้ำตาลทรายขาดบัญชีอยู่ในตัวโจทก์จะโต้เถียงว่าเป็นคนละกรณีกันหาได้ไม่ การที่ขาดบัญชีไปจึงน่าเชื่อว่ามีการลักลอบขนย้ายน้ำตาลทรายขาวอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ออกโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 แล้วเป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับต่อโจทก์ และเบี้ยปรับตามระเบียบดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา เป็นการกำหนดความรับผิดทางแพ่งสำหรับผู้ฝ่าฝืนระเบียบไม่เป็นการเกินขอบเขตที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527มาตรา 70,71 ให้อำนาจไว้ การที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าเบี้ยปรับกรณีขนย้ายน้ำตาลทรายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความรับผิดทางแพ่งต้องมีสัญญาผูกพันกันจึงจะบังคับได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงด้วยจึงบังคับโจทก์ไม่ได้นั้นเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่เลี้ยงดูและละเลยดูแลผู้ให้ การถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531(3)
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยประพฤติเนรคุณกล่าวคือ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2536 เป็นต้นมา จำเลยไม่ยอมให้อาหารเลี้ยงดูโจทก์อย่างที่เคยปฏิบัติ โดยจำเลยนำอาหารไปวางไว้ห่างจากที่โจทก์นั่งอยู่แล้วก็หนีไป ไม่รออยู่ดูแลว่าโจทก์จะได้รับประทานหรือไม่ บางครั้งกว่าโจทก์จะคลำไปถูกอาหารที่จำเลยนำมาวางไว้ก็ปรากฏว่าสุนัขกินอาหารหมดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับประทานอาหาร บางวันโจทก์ต้องเรียกชาวบ้านข้างเคียงขออาหารมารับประทานเพื่อยังชีพ นอกจากนี้จำเลยไม่สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ ปล่อยให้โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานต่าง ๆ ในเวลาเจ็บป่วยการเข้าห้องส้วมห้องน้ำและการหลับนอน ดังนี้ เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวหาจำเลยว่าไม่ได้เอาใจใส่ในการให้อาหารโจทก์รับประทานและมิได้สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ มิใช่กรณีตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ.มาตรา 531 (3) ที่บัญญัติว่า ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เข้าเหตุที่จะเรียกถอนคืนการให้ตามมาตรา 531 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากเหตุเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 531(3) ต้องเป็นการปฏิเสธการเลี้ยงดู ไม่ใช่การละเลยการดูแล
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยประพฤติเนรคุณกล่าวคือ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2536 เป็นต้นมา จำเลยไม่ยอมให้อาหารเลี้ยงดูโจทก์อย่างที่เคยปฏิบัติ โดยจำเลยนำอาหารไปวาง ไว้ห่างจากที่โจทก์นั่งอยู่แล้วก็หนีไป ไม่รออยู่ดูแลว่าโจทก์จะ ได้รับประทานหรือไม่ บางครั้งกว่าโจทก์จะคลำไปถูกอาหาร ที่จำเลยนำมาวางไว้ก็ปรากฏว่าสุนัขกินอาหารหมดแล้วโจทก์จึงไม่ได้รับประทานอาหาร บางวันโจทก์ต้องเรียกชาวบ้านข้างเคียงขออาหารมารับประทานเพื่อยังชีพ นอกจากนี้จำเลยไม่สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ ปล่อยให้โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานต่าง ๆในเวลาเจ็บป่วยการเข้าห้องส้วมห้องน้ำและการหลับนอน ดังนี้เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวหาจำเลยว่าไม่ได้เอาใจใส่ในการให้อาหารโจทก์รับประทานและมิได้สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์มิใช่กรณีตามบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(3) ที่บัญญัติว่า ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เข้าเหตุที่จะเรียกถอนคืนการให้ตามมาตรา 531(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาลาศึกษา: เบี้ยปรับ, การคืนเงิน, และดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา 3 ปี และจำเลยที่ 1ได้สำเร็จการศึกษาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1ไม่ไปรายงานตัวในวันที่ 1 มิถุนายน 2534 ตามที่ระบุในหนังสือส่งตัวเพราะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งปกติผู้บริหารของโรงพยาบาลตำรวจก็ไม่ไปปฏิบัติราชการหากจำเลยที่ 1 ไปโรงพยาบาลตำรวจในวันนั้นก็คงจะไม่สามารถรายงานตัวได้เพราะไม่มีผู้บริการของโรงพยาบาลคือผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจไปปฏิบัติราชการ ทั้งไม่เคยปรากฏว่ามีข้าราชการผู้ใดไปรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการซึ่งโจทก์ย่อมรู้ดีอยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปรายงานตัวในวันที่3 มิถุนายน 2534 อันเป็นวันเริ่มเปิดทำการและเป็นโอกาสแรกที่จำเลยที่ 1 สามารถไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปรายงานตัวตามหนังสือส่งตัวแล้วโจทก์จะนับวันที่ 1 และวันที่ 2 มิถุนายน 2534 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 รอไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ลาไปศึกษาไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการโดยได้ยื่นใบลาออกตามแบบหนังสือขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2535 แต่เป็นความล่าช้าของโจทก์เองที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม2535 และเพิ่งให้จำเลยที่ 1 ทราบในวันที่ 2 กันยายน 2535อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นใบลาออกนานถึง3 เดือนเศษ การที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 เพราะโจทก์ยังมิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการได้จำเลยที่ 1 จึงยังมีหน้าที่ต้องไปปฏิบัติราชการอยู่ หากจำเลยที่ 1ไม่ไปปฏิบัติราชการตามปกติก็จะเป็นการทิ้งราชการและเป็นการขาดราชการเกิน 15 วัน อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะละเว้นไม่ปฏิบัติราชการไม่ได้จึงต้องคิดวันรับราชการของจำเลยที่ 1 จนถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบด้วยกับกระทรวงการคลังที่ให้เพิ่มเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าในการชดใช้เงินทุนหรือเงินเดือนของข้าราชการที่ผิดสัญญาลาไปศึกษาในประเทศนั้น เป็นเพียงหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่เห็นสมควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศทำสัญญารับราชการชดใช้ทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินเดือนและในกรณีที่ผิดสัญญาเนื่องจากรับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ให้มีการชดใช้คืนเงินทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าตามหนังสือเวียนดังกล่าวจึงมีความหมายว่า ในการที่หน่วยราชการทำสัญญากับข้าราชการซึ่งได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศจะต้องกำหนดให้มีการชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของทุนหรือเงินเดือนที่ได้รับในกรณีที่รับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องวางระเบียบข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว หากโจทก์ไม่ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องระบุในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าไว้ด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตาม หนังสือเวียนดังกล่าว จะถือว่าหนังสือเวียนดังกล่าวนั้น เป็นระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์ไม่ได้การที่ในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศไม่มีข้อความกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าจึงเป็นข้อบกพร่องของโจทก์ในการทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าได้ การที่จำเลยที่ 1 ได้นำเงินจำนวน 196,788 บาท ซึ่งมากกว่า จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดไปชำระให้แก่โจทก์ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 นั้น โจทก์ได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อใด แต่โจทก์ก็ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้พร้อมเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าเป็นเงิน393,879.50 บาท ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2536 โดยหนังสือทวงถามลงวันที่ 26 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1นำเงินไปชำระให้โจทก์ดังกล่าวข้างต้น 9 เดือนเศษ จึงน่าเชื่อว่าขณะที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 1 ได้รับเงินคืนจากโจทก์แล้ว และก่อนฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ของโจทก์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ได้ชำระหนี้หรือเสนอคำขอชำระหนี้แก่โจทก์อีก จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่16 มิถุนายน 2536 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาลาไปศึกษา การชดใช้เบี้ยปรับ การปฏิบัติหน้าที่ และดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา 3 ปี และจำเลยที่ 1 ได้สำเร็จการศึกษาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ไปรายงานตัวในวันที่ 1 มิถุนายน 2534 ตามที่ระบุในหนังสือส่งตัวเพราะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งปกติผู้บริหารของโรงพยาบาลตำรวจก็ไม่ไปปฏิบัติราชการหากจำเลยที่ 1 ไปโรงพยาบาลตำรวจในวันนั้นก็คงจะไม่สามารถรายงานตัวได้เพราะไม่มีผู้บริหารของโรงพยาบาลคือผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจไปปฏิบัติราชการ ทั้งไม่เคยปรากฏว่ามีข้าราชการผู้ใดไปรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการซึ่งโจทก์ย่อมรู้ดีอยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปรายงานตัวในวันที่3 มิถุนายน 2534 อันเป็นวันเริ่มเปิดทำการและเป็นโอกาสแรกที่จำเลยที่ 1สามารถไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1ได้ไปรายงานตัวตามหนังสือส่งตัวแล้ว โจทก์จะนับวันที่ 1 และวันที่ 2 มิถุนายน2534 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 รอไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ลาไปศึกษาไม่ได้
จำเลยที่ 1 ได้แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการโดยได้ยื่นใบลาออกตามแบบหนังสือขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม2535 แต่เป็นความล่าช้าของโจทก์เองที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 และเพิ่งให้จำเลยที่ 1 ทราบในวันที่ 2 กันยายน 2535อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นใบลาออกนานถึง 3 เดือนเศษ การที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 เพราะโจทก์ยังมิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการได้ จำเลยที่ 1 จึงยังมีหน้าที่ต้องไปปฏิบัติราชการอยู่ หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปปฏิบัติราชการตามปกติก็จะเป็นการทิ้งราชการและเป็นการขาดราชการเกิน 15 วัน อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะละเว้นไม่ปฏิบัติราชการไม่ได้ จึงต้องคิดวันรับราชการของจำเลยที่ 1 จนถึงวันที่ 2 กันยายน 2535
มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบด้วยกับกระทรวงการคลังที่ให้เพิ่มเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าในการชดใช้เงินทุนหรือเงินเดือนของข้าราชการที่ผิดสัญญาลาไปศึกษาในประเทศนั้น เป็นเพียงหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่เห็นสมควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศทำสัญญารับราชการชดใช้ทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินเดือน และในกรณีที่ผิดสัญญาเนื่องจากรับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ ให้มีการชดใช้คืนเงินทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่า ตามหนังสือเวียนดังกล่าวจึงมีความหมายว่า ในการที่หน่วยราชการทำสัญญากับข้าราชการซึ่งได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศจะต้องกำหนดให้มีการชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของทุนหรือเงินเดือนที่ได้รับในกรณีที่รับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องวางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว หากโจทก์ไม่ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องระบุในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าไว้ด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว จะถือว่าหนังสือเวียนดังกล่าวนั้น เป็นระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์ไม่ได้ การที่ในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศไม่มีข้อความกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าจึงเป็นข้อบกพร่องของโจทก์ในการทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าได้
การที่จำเลยที่ 1 ได้นำเงินจำนวน 196,788 บาท ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดไปชำระให้แก่โจทก์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535นั้น โจทก์ได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อใด แต่โจทก์ก็ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้พร้อมเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าเป็นเงิน 393,879.50 บาทภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2536 โดยหนังสือทวงถามลงวันที่ 26 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 นำเงินไปชำระให้โจทก์ดังกล่าวข้างต้น 9 เดือนเศษจึงน่าเชื่อว่าขณะที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 1ได้รับเงินคืนจากโจทก์แล้ว และก่อนฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ของโจทก์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ได้ชำระหนี้หรือเสนอคำขอชำระหนี้แก่โจทก์อีก จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่16 มิถุนายน 2536 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1จะต้องชำระให้แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ได้แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการโดยได้ยื่นใบลาออกตามแบบหนังสือขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม2535 แต่เป็นความล่าช้าของโจทก์เองที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 และเพิ่งให้จำเลยที่ 1 ทราบในวันที่ 2 กันยายน 2535อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นใบลาออกนานถึง 3 เดือนเศษ การที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 เพราะโจทก์ยังมิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการได้ จำเลยที่ 1 จึงยังมีหน้าที่ต้องไปปฏิบัติราชการอยู่ หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปปฏิบัติราชการตามปกติก็จะเป็นการทิ้งราชการและเป็นการขาดราชการเกิน 15 วัน อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะละเว้นไม่ปฏิบัติราชการไม่ได้ จึงต้องคิดวันรับราชการของจำเลยที่ 1 จนถึงวันที่ 2 กันยายน 2535
มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบด้วยกับกระทรวงการคลังที่ให้เพิ่มเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าในการชดใช้เงินทุนหรือเงินเดือนของข้าราชการที่ผิดสัญญาลาไปศึกษาในประเทศนั้น เป็นเพียงหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่เห็นสมควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศทำสัญญารับราชการชดใช้ทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินเดือน และในกรณีที่ผิดสัญญาเนื่องจากรับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ ให้มีการชดใช้คืนเงินทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่า ตามหนังสือเวียนดังกล่าวจึงมีความหมายว่า ในการที่หน่วยราชการทำสัญญากับข้าราชการซึ่งได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศจะต้องกำหนดให้มีการชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของทุนหรือเงินเดือนที่ได้รับในกรณีที่รับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องวางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว หากโจทก์ไม่ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องระบุในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าไว้ด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว จะถือว่าหนังสือเวียนดังกล่าวนั้น เป็นระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์ไม่ได้ การที่ในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศไม่มีข้อความกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าจึงเป็นข้อบกพร่องของโจทก์ในการทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าได้
การที่จำเลยที่ 1 ได้นำเงินจำนวน 196,788 บาท ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดไปชำระให้แก่โจทก์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535นั้น โจทก์ได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อใด แต่โจทก์ก็ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้พร้อมเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าเป็นเงิน 393,879.50 บาทภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2536 โดยหนังสือทวงถามลงวันที่ 26 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 นำเงินไปชำระให้โจทก์ดังกล่าวข้างต้น 9 เดือนเศษจึงน่าเชื่อว่าขณะที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 1ได้รับเงินคืนจากโจทก์แล้ว และก่อนฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ของโจทก์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ได้ชำระหนี้หรือเสนอคำขอชำระหนี้แก่โจทก์อีก จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่16 มิถุนายน 2536 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1จะต้องชำระให้แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาบังคับคดี: ผลของวันหยุดราชการต่อการออกหมายบังคับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำว่า "ลักษณะนี้" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 ว่าด้วย การนับระยะเวลาคือลักษณะ 5 ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในการออกหมายบังคับคดีด้วย แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 273 วรรคสามจะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำบังคับก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วย ต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดี แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการ ทำให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์และหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าวแม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มิได้ไปดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยในวันที่ออกหมายบังคับคดีแต่ไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาในคำบังคับและการออกหมายบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า "ลักษณะนี้" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 คือลักษณะ 5ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในเรื่องการนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย และแม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 273 วรรคสามจะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วยกรณีต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่ เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดการที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาบังคับคดี: วันหยุดราชการและเจตนาให้ลูกหนี้ชำระหนี้
คำว่า "ลักษณะนี้" ใน ป.พ.พ.มาตรา 193/1 คือลักษณะ 5ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในเรื่องการนับระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.ด้วย และแม้ ป.วิ.พ.มาตรา 273วรรคสาม จะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วย กรณีต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ
ป.วิ.พ.มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดอายุความฟ้องคดีค่าทดแทนเวนคืน: นับจากวันพ้น 60 วันหลังรับอุทธรณ์รัฐมนตรี
กองนิติการ กรมโยธาธิการเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การที่เจ้าหน้าที่กองนิติการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับอุทธรณ์เรื่องเงินทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนฯ ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2535 ถือได้ว่า รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26ไว้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันรับอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคสองสิทธิของโจทก์ในการฟ้องคดีนี้เข้ากรณีที่สอง ดังนั้นสิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ คือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2535โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2537 เกินกว่า 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดที่รัฐมนตรีต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง