พบผลลัพธ์ทั้งหมด 940 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1923/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามประกาศ คสช. ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม
เงินค่าทดแทนที่ดินที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยชำระเพิ่มให้แก่โจทก์ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เป็นราคาเบื้องต้นของที่ดินโจทก์ที่ได้แก้ไขราคาใหม่ และราคาของที่ดินโจทก์ที่แก้ไขแล้วนี้เป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง เงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินที่จำเลยชำระค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษโดยเฉพาะ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องนำไปชำระค่าดอกเบี้ยและเสียค่าฤชาธรรมเนียมก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 329 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้ และข้อจำกัดความรับผิดที่ไม่ผูกพันเจ้าของสินค้า
จำเลยรับฝากสินค้าที่พิพาทโดยมีบำเหน็จ แม้จำเลยได้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าเต็มความสามารถโดยจัดเก็บสินค้าอันตรายตามระบบซึ่งสำนักที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดใช้ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วโลก นอกจากนี้จำเลยยังได้วางข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัยกวดขันการสูบบุหรี่ จัดให้มียามรักษาความปลอดภัยตลอด24 ชั่วโมง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงอัตโนมัติประจำทุกอาคารซึ่งเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่จำเลยมิได้นำสืบว่าในการจัดเก็บสินค้ารายพิพาทนี้ได้จัดเก็บตามระบบอย่างไรได้แยกสินค้าให้ถูกต้องตรงตามระบบการจัดเก็บหรือไม่และได้ตรวจสอบสิ่งที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารเคมีโดยปลอดภัยแล้วหรือไม่ กลับปรากฏว่าในวันเกิดเหตุ ได้มีการเปิดคลังสินค้าอันตรายเพื่อทำงาน แม้ขณะเกิดเพลิงไหม้จะมีแต่เฉพาะพนักงานของจำเลยอยู่ปฏิบัติหน้าที่เมื่อจำเลยมิได้นำสืบเลยว่า จำเลยได้ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่สินค้า อันตรายด้วยการควบคุมดูแลคลังสินค้าอันตรายในขณะที่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นดีแล้วหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้นไม่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ไม่ว่าในกรณีใด กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เหตุเพลิงไหม้นั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย มิใช่ความประมาทของจำเลยเมื่อจำเลยรับฝากสินค้าอันตรายไว้ในทางธุรกิจของจำเลยจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในทางธุรกิจของตนที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดย อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 มาตรา 29(1) และมาตรา 9(4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้น ฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากสินค้าอันตรายต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้ และข้อจำกัดความรับผิดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยรับฝากสินค้าที่พิพาทโดยมีบำเหน็จ แม้จำเลยได้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าเต็มความสามารถโดยจัดเก็บสินค้าอันตรายตามระบบซึ่งสำนักที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดใช้ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วโลก นอกจากนี้จำเลยยังได้วางข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัย กวดขันการสูบบุหรี่ จัดให้มียามรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงอัตโนมัติประจำทุกอาคารซึ่งเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่จำเลยมิได้นำสืบว่าในการจัดเก็บสินค้ารายพิพาทนี้ได้จัดเก็บตามระบบอย่างไร ได้แยกสินค้าให้ถูกต้องตรงตามระบบการจัดเก็บหรือไม่ และได้ตรวจสอบสิ่งที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารเคมีโดยปลอดภัยแล้วหรือไม่ กลับปรากฏว่าในวันเกิดเหตุได้มีการเปิดคลังสินค้าอันตรายเพื่อทำงาน แม้ขณะเกิดเพลิงไหม้จะมีแต่เฉพาะพนักงานของจำเลยอยู่ปฏิบัติหน้าที่ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบเลยว่า จำเลยได้ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่สินค้าอันตรายด้วยการควบคุมดูแลคลังสินค้าอันตรายในขณะที่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นดีแล้วหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้นไม่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ไม่ว่าในกรณีใดกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เหตุเพลิงไหม้นั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย มิใช่ความประมาทของจำเลย เมื่อจำเลยรับฝากสินค้าอันตรายไว้ในทางธุรกิจของจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในทางธุรกิจของตนที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีเครื่องหมายการค้าปลอม: ศาลอุทธรณ์ยืนยันริบ แม้แก้บทมาตรา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 และ ป.อ.มาตรา 32, 33 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกในส่วนที่ศาลชั้นต้นบังคับจำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 30 และริบของกลางตาม ป.อ.มาตรา 32 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องโดยมิได้พิพากษาให้ยกการริบของกลาง และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 และ ป.อ.มาตรา 33 อยู่ เนื่องจากเสื้อและกางเกงที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้จำหน่ายอันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และป้ายยี่ห้อกับริบบิ้นของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำขอให้เรื่องการริบของกลาง ของกลางคดีนี้จึงยังเป็นของกลางที่ศาลสั่งริบอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีเครื่องหมายการค้า แม้ศาลอุทธรณ์แก้ไขบทลงโทษ แต่ยังคงคำสั่งริบของกลางไว้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 115และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกในส่วนที่ศาลชั้นต้นบังคับจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 และริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องโดยมิได้พิพากษาให้ยกการริบของกลาง และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 115 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 อยู่เนื่องจากเสื้อและกางเกงที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้จำหน่ายอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และป้ายยี่ห้อกับริบบิ้นของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำขอให้เรื่องการริบของกลางของกลางคดีนี้จึงยังเป็นของกลางที่ศาลสั่งริบอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่อาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 1786/2541) ตามคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและตามทางไต่สวนของผู้ร้องกับการเปิดหีบบัตรเลือกตั้งและนับบัตรเลือกตั้งใหม่ของหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยในเขตเลือกตั้งที่ 1 ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดบัตรเลือกตั้งที่กาบัตรลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ ณ หน่วยเลือกตั้งที่ 4 ของหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ตำบลท้ายบ้านใหม่ จำนวน 199 บัตรและ 300 บัตรตามลำดับ และผลการตรวจนับบัตรเลือกตั้งปรากฏว่าได้จำนวนบัตรเลือกตั้งมากกว่าผู้เลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจริงอันส่อแสดงว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการตรวจคะแนนหรือเจ้าหน้าที่คะแนนอาจเป็นผู้กาบัตรเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามจนเป็นเหตุให้จำนวนบัตรเลือกตั้งมีมากกว่าจำนวนผู้เลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบและศาลฎีกาอาจมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 79(1)อันเป็นผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่งตามมาตรา 80 วรรคสอง แต่ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา 315 วรรคสองบัญญัติให้ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่า (1) ครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือ(2) เมื่อมีการยุบสภา หรือ (3) เมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลงเนื่องจากรัฐสภาไม่อาจดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบรัฐธรรมนูญสำคัญ 3 ฉบับให้เสร็จสิ้นลงได้ภายในกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 323 และ จนกระทั่งปัจจุบันอายุของสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบกำหนดไม่มีการยุบสภา และยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่รัฐสภาจะพิจารณา และให้ความเห็นชอบร่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าวได้อยู่ ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามจึงยังมีอยู่ต่อไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันมาตรา 315 วรรคสอง ก็บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่เท่านั้น จึงไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลงได้แม้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการในเขตการเลือกตั้งที่ 1 อาจเป็นไปโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาก็ไม่อาจ มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามคำขอของผู้ร้องทั้งสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตรา 79 ได้ ศาลฎีกาจึงต้องยกคำร้องของผู้ร้องเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจัดรายการโทรทัศน์ไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์ แต่เป็นสัญญาให้บริการ ผู้รับเหมามีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนตามสัญญา
แม้โจทก์และจำเลยร่วมจะเรียกชื่อสัญญาพิพาทว่าเป็นสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้า แต่รายละเอียดของสัญญาแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินใดให้แก่จำเลยร่วมเพื่อให้จำเลยร่วมได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินใดเลยการจัดรายการและโฆษณาสินค้าของจำเลยร่วมตามที่ตกลงกับโจทก์ ตามสัญญาแม้จำเลยร่วมจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินแก่โจทก์เพื่อ การนั้น แต่ฝ่ายโจทก์ยังเป็นผู้ดำเนินการหรือบริการให้ ทั้งสิ้น สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาเช่าทรัพย์หากแต่เป็นสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงและแพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยร่วมเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์เรียกเอาค่าตอบแทนการจัดรายการและโฆษณาสินค้าตามที่ตกลงไว้กับจำเลยร่วมจึงไม่ใช่เป็นการเรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์อันจะอยู่ภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ไม่ใช่สัญญาเช่า แต่เป็นสัญญาให้บริการ
แม้โจทก์และจำเลยร่วมจะเรียกชื่อสัญญาพิพาทว่าเป็นสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้า แต่รายละเอียดของสัญญาแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินใดให้แก่จำเลยร่วมเพื่อให้จำเลยร่วมได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินใดเลย การจัดรายการและโฆษณาสินค้าของจำเลยร่วมตามที่ตกลงกับโจทก์ตามสัญญาแม้จำเลยร่วมจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินแก่โจทก์เพื่อการนั้น แต่ฝ่ายโจทก์ยังเป็นผู้ดำเนินการหรือบริการให้ทั้งสิ้น สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาเช่าทรัพย์หากแต่เป็นสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงและแพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยร่วมเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์เรียกเอาค่าตอบแทนการจัดรายการและโฆษณาสินค้าตามที่ตกลงไว้กับจำเลยร่วม จึงไม่ใช่เป็นการเรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์อันจะอยู่ภายในกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษเพื่อขยายโรงงานน้ำตาลตามมติคณะรัฐมนตรี มิใช่การขัดต่อกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษแก่รัฐตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น หากโรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทนพิเศษดังกล่าวก็ต้องปรับปรุงแก้ไขโรงงานของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ มติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นมาตรการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายอันจะนำมาซึ่งประโยชน์ของประชาชนและเศรษฐกิจของชาติ เป็นนโยบายที่กำหนดไว้โดยชอบ มิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับ ไม่ตกเป็นโมฆะเมื่อโจทก์มีเครื่องจักรในโรงงานซึ่งมีกำลังการผลิตเกินกว่าอัตราที่ได้รับอนุญาต และสมัครใจยินยอมทำสัญญาจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแทนการปรับปรุงแก้ไขกำลังการผลิตให้เป็นไปในทางที่ได้รับอนุญาตแต่เดิมโจทก์จึงต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามสัญญาที่ทำไว้ตามเงื่อนไขของมติคณะรัฐมนตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษเพื่อขยายโรงงานน้ำตาล การทำสัญญาไม่ขัดกฎหมายและมีผลผูกพัน
โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และมีกำลังการผลิตได้ไม่เกินนโยบายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตั้งลูกหีบในโรงงานโจทก์ และโจทก์มีโครงการจะติดตั้งลูกหีบ ซึ่งหากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้วจะเป็นจำนวนที่จำเลยถือว่าโจทก์เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรี หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานของโจทก์ให้เป็นไปตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้เดิม ซึ่งโจทก์ยอมรับโดยตรงว่าเครื่องจักรโรงงาน โจทก์มีกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตไว้ นอกจากนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้ง ให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษ จำเลยที่ 2 ก็ได้ระบุไว้ในหนังสือ นั้นว่า โจทก์ติดตั้งลูกหีบไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ทำให้มีกำลัง การผลิตเพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งเรื่องกำลัง การผลิตดังกล่าวและไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 14 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ในเมื่อจำเลยที่ 2ไม่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่โจทก์การที่โจทก์ตั้งโรงงานน้ำตาลทรายโดยเพิ่มขยายกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ดังนั้น การที่คณะกรรมการทำการปรับเกี่ยวกับการลงโทษโรงงานน้ำตาล และการที่จำเลยที่ 2มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษก็ให้ชำระให้แก่รัฐโดย นำส่งกระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์แก่รายได้ของแผ่นดินอันเป็นส่วนรวม จึงมิใช่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนตน กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยสุจริต ส่วนการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้แจ้งความเชื่อว่าโจทก์กระทำผิดกฎหมาย ฉะนั้นการใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกตินิยม หรือตามกฎหมายย่อมไม่เป็นการข่มขู่ นอกจากนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลทรายนั้นไม่ได้ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 33 แต่ออกตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจะมีมาตรการให้ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ ซึ่งใช้แก่โรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนทุกแห่งไม่มีข้อยกเว้น แต่เนื่องจากคำนึงถึงความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และในระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือ ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อทางรัฐ จะได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้โจทก์ต่อมา คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้สั่งระงับการกำหนดวันเปิด หีบอ้อยแก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งเป็นไปตามมติส่วนใหญ่ของ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมิใช่การชี้แนะของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ แต่เป็นเรื่องต้อง ปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐบาลเคยปิดโรงงานน้ำตาลทรายที่จังหวัดอื่น แต่ไม่สามารถปิดได้เนื่องจากชาวไร่อ้อยประท้วง นอกจากนั้น นโยบายของรัฐในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ก็เพื่อมิให้ประชาชนและเศรษฐกิจของชาติเสียหายเป็นส่วนรวม แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ต้องการทำลายการลงทุนของเอกชน ด้วย จึงได้กำหนดนโยบายที่มีเงื่อนไขในการอนุญาตเพื่อป้องกันและปราบปรามมิให้โรงงานขยายกำลังผลิตหากฝ่าฝืนก็ต้องให้จ่ายเงินทดแทนแก่รัฐ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521มาตรา 146 วรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินซึ่งถือว่าได้กระทำในนามแห่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขตามมาตรา 3 การพิจารณาอนุญาตให้ตั้งประกอบ กิจการและขยายโรงงานน้ำตาลทรายจึงต้องพิจารณาถึงพระราชบัญญัติน้ำตาลทราย พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ. 2527 และพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ประกอบกันซึ่งถือเป็นงานบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขได้ ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดขึ้นไว้ใช้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของรัฐโดยได้มีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมายให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามกำลังการผลิต ที่เพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทน พิเศษให้แก่รัฐดังกล่าวก็ต้องแก้ไขปรับปรุงโรงงาน ของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ แต่ถ้าจะขอตั้งโรงงาน ตามกำลังการผลิตที่ได้ติดตั้งไว้เกินสิทธิเดิมต้องจ่ายเงินทดแทน พิเศษให้แก่รัฐในอัตราดังกล่าวเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการ ที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศชาติ อันเป็นมาตรการที่ใช้บังคับสำหรับผู้ฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าว ซึ่ง เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดต่อ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 โจทก์ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์เคยยืนยันรับรองว่ายินดีจะปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของทางราชการทุกประการดังกล่าวข้างต้น และโจทก์ก็ได้เลือกปฏิบัติในทางยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษ ให้แก่รัฐเพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้รับอนุญาตให้ตั้ง โรงงานและประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลทรายที่มีกำลังการผลิต เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้โดยโจทก์เลือกไม่ยอมปรับปรุง แก้ไขหรือดำเนินการในทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิม เงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนโยบายที่ได้กำหนด ไว้โดยชอบนั้น เมื่อโจทก์เลือกปฏิบัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นความสมัครใจของโจทก์ในการทำสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ สัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและมีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ