คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม มั่งมีดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 940 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชีถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค แม้แปลงหนี้เป็นสัญญากู้ยืม
จำเลยออกเช็คนำไปแลกเงินสดจากโจทก์ แม้การออกเช็คของจำเลยดังกล่าวจะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 ก็ตาม แต่การที่จำเลยออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากโจทก์และเช็คดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่จำเลยสั่งจ่ายนั้น ย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 898, 900ในกรณีนี้หากจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าว เช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้
คดีนี้โจทก์และจำเลยได้แปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็ค มาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืม และจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม จึงต้องถือว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามความใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 แล้ว จำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวได้
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า "บัญชีปิดแล้ว" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศ ทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลย เช่นนี้ จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดิน โจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว
ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ 3 ระบุว่า โจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญา ถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญา หาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จ และโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน และเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้ แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว แต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญา เช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองซื้อที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่เรียกเก็บจากโจทก์ แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไป เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้
โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2534 ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้ และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2534 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2534 เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัย ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและดอกเบี้ย
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลยเช่นนี้จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินโจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ3ระบุว่าโจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน30วันนับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญาถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้นเป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน30วันนับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญาหาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่ ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จและโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน6เดือนนับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้วดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันและเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้วแต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญาเช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่เรียกเก็บจากโจทก์แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตามแต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไปเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่23พฤษภาคม2534ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่28สิงหาคม2534บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่28สิงหาคม2534โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่28สิงหาคม2534เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อยที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาไม่โอนที่ดิน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและดอกเบี้ย
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศ ทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลย เช่นนี้จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดิน โจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ 3 ระบุว่า โจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญา ถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญา หาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่ ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จ และโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน และเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้ แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว แต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญา เช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่เรียกเก็บจากโจทก์ แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไป เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2534 ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้ และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่28 สิงหาคม 2534 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2534 เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัย ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อหลงผิดเล็กน้อย ที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน, การกำหนดค่าทดแทนที่ดิน, และดอกเบี้ยกรณีเวนคืนล่าช้า
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้ ถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
การดำเนินการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด... พ.ศ.2530 อยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่องปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ข้อ 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 อีกหลายฉบับ ต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 โดย พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2534และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่ 2 ไว้ในมาตรา 19 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย รวมตลอดถึงการเวนคืนที่ดินและการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืน อันอยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนโต้แย้งว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าในวันที่ใช้บังคับพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ. 2530 มีราคาตารางวาเท่าใด ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามเหตุผลที่ควรจะเป็น โดยพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21
ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาที่สูงเกินไปกว่าราคาที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา26 วรรคสาม มาตรา 10 วรรคสอง และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2532 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าคือวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดนั้น ต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราและไม่เกินจำนวนเงินตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตาม พรบ.เวนคืน และอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่2โจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ส่วนจำเลยที่2ไม่อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของจำเลยที่2ดังนั้นจำเลยที่2จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้ถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การดำเนินการเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ.2530อยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่2ตามประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่216เรื่องปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมข้อ19ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่216อีกหลายฉบับต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่216โดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ.2534และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่2ไว้ในมาตรา19จำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการปฎิบัติงานของทางการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่1ให้เป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายรวมตลอดถึงการเวนคืนที่ดินและการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืนอันอยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่2เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนโต้แย้งว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าในวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2530มีราคาตารางวาเท่าใดศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามเหตุผลที่ควรจะเป็นโดยพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากหลักเกณฑ์ทั้ง5ประการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21 ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาที่สูงเกินไปกว่าราคาที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามมาตรา10วรรคสองและมาตรา11วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่30ตุลาคม2532นับแต่วันดังกล่าวไปอีก120วันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่1จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าคือวันที่27กุมภาพันธ์2533อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา26วรรคสามโจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดนั้นต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราและไม่เกินจำนวนเงินตามคำของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนเวนคืนที่ดินและดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.เวนคืน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการคำนวณ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้ ถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การดำเนินการเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 อยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่องปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม ข้อ 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 216 อีกหลายฉบับ ต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 216 โดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่ 2 ไว้ในมาตรา 19 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการปฎิบัติงานของทางการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1ให้เป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย รวมตลอดถึงการเวนคืนที่ดินและการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืน อันอยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนโต้แย้งว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าในวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2530 มีราคาตารางวาเท่าใด ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามเหตุผลที่ควรจะเป็น โดยพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาที่สูงเกินไปกว่าราคาที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม มาตรา 10วรรคสอง และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน เมื่อวันที่30 ตุลาคม 2532 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าคือวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดนั้น ต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราและไม่เกินจำนวนเงินตามคำของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารจ่ายเช็คปลอมทำให้เสียหาย ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้
ธนาคารจำเลยที่1จ่ายเงินตามเช็คจำนวน16ฉบับเป็นการจ่ายเงินฝากของโจทก์ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1และจำเลยที่1ก็ได้นำจำนวนเงินตามเช็คพิพาทไปหักทอนบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่1ถูกต้องแล้วและเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสัญญาบัญชีกระแสรายวันและแจ้งจำเลยที่1และจำเลยที่3สมุห์บัญชีธนาคารจำเลยที่1ให้เพิกถอนรายการเช็คพิพาทที่นำมาลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ถูกต้องออกเสียแต่จำเลยที่1และที่3ก็มิได้ปฏิบัติตามและยังคงถือว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยที่1ตามรายการที่ลงในบัญชีกระแสรายวันดังนี้การกระทำของจำเลยที่1และที่3ดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ผลการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจซึ่งส.ผู้เชี่ยวชาญของศาลเป็นผู้ตรวจพิสูจน์โดยเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทกับลายมือชื่อตัวอย่างของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่1และลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คแล้วส.มีความเห็นว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันแม้ส. จะมิได้มาเบิกความประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ก็รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา130 ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์และเป็นลายมือชื่อปลอมการที่จำเลยที่1ประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของจำเลยที่1ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำและโดยที่จำเลยที่3เป็นสมุห์บัญชีลูกจ้างของจำเลยที่1มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของข้อความในเช็คและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คที่นำมาขอเบิกเงินจากธนาคารของจำเลยที่1จ ำเลยที่3ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของลูกค้าผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งจำเลยที่3จะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆไปเพราะเป็นงานในหน้าที่ของจำเลยที่3ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่1และจำเลยที่3จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คดังกาวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่1กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่1ยิ่งกว่านั้นลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทก็มีลักษณะแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่1ค่อนข้างชัดเจนซึ่งหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือชื่อปลอมการกระทำของจำเลยที่2และที่3จึงเป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังในฐานะที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทอันเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่1ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420และมาตรา425 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและแจ้งให้จำเลยที่1และที่3เพิกถอนรายการที่ไม่ถูกต้องขอให้จำเลยที่1และที่3เพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังกล่าวหรือมิฉะนั้นให้จำเลยที่1และที่3ร่วมกันหรือแทนกันนำเงินจำนวน625,365บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งคิดเอาจากบัญชีของโจทก์ส่งคืนบัญชีโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมายและให้จำเลยที่1หักทอนบัญชีเพื่อจะทราบว่ามียอดหนี้ค้างชำระกันในขณะนี้เป็นจำนวนเท่าใดแต่จำเลยที่1และที่3ไม่ยอมที่จะเพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังที่โจทก์เรียกร้องและโจทก์ได้เลือกฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยที่1คิดเอาจากโจทก์โดยกล่าวหาว่าจำเลยที่1และที่3กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับยอดเงินตามรายการในบัญชีเดินสะพัดที่จำเลยที่1เรียกร้องเอาจากโจทก์และฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงินเอาจากจำเลยที่1และที่3ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเลือกได้เมื่อจำเลยที่1และที่3จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์และจำเลยที่1และที่3ไม่ยอมเพิกถอนรายการในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่1และที่3ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เลือกจำเลยที่1และที่3จึงต้องร่วมกันชำระเงินจำนวน625,365บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่1และที่3คิดเอาจากบัญชีของโจทก์คืนอันถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่1และที่3ให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438ซึ่งจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยที่1และที่3คิดเอาจากโจทก์เป็นจำนวน16,170.94บาทโจทก์ก็ชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเป็นค่าเสียหายด้วยสำหรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จก็เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราที่จำเลยที่1เรียกเก็บจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยที่1และที่3ได้โดยเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่1และที่3คิดดอกเบี้ยเอาจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารจ่ายเช็คปลอมทำให้เสียหาย ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากธนาคารและดอกเบี้ย
ธนาคารจำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คจำนวน 16 ฉบับ เป็นการจ่ายเงินฝากของโจทก์ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ก็ได้นำจำนวนเงินตามเช็คพิพาทไปหักทอนบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1ถูกต้องแล้ว และเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสัญญาบัญชีกระแสรายวันและแจ้งจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3สมุห์บัญชีธนาคารจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนรายการเช็คพิพาทที่นำมาลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ถูกต้องออกเสีย แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ก็มิได้ปฏิบัติตามและยังคงถือว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามรายการที่ลงในบัญชีกระแสรายวัน ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ผลการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจซึ่ง ส.ผู้เชี่ยวชาญของศาลเป็นผู้ตรวจพิสูจน์โดยเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทกับลายมือชื่อตัวอย่างของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 และลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คแล้วส.มีความเห็นว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันแม้ ส. จะมิได้มาเบิกความประกอบ รายงานการตรวจพิสูจน์ก็รับฟังได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์และเป็นลายมือชื่อปลอม การที่จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การรับฝากเงินและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ และโดยที่จำเลยที่ 3 เป็นสมุห์บัญชีลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของข้อความในเช็คและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คที่นำมาขอเบิกเงินจากธนาคารของจำเลยที่ 1 จ ำเลยที่ 3 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของลูกค้าผู้สั่งจ่ายหรือไม่ ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งจำเลยที่ 3 จะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 3ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คดังกาวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 ยิ่งกว่านั้นลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทก็มีลักษณะแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือชื่อปลอม การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3จึงเป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังในฐานะที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท อันเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 425 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและแจ้งให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เพิกถอนรายการที่ไม่ถูกต้อง ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังกล่าวหรือมิฉะนั้นให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันนำเงินจำนวน625,365 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งคิดเอาจากบัญชีของโจทก์ส่งคืนบัญชีโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมาย และให้จำเลยที่ 1หักทอนบัญชีเพื่อจะทราบว่ามียอดหนี้ค้างชำระกันในขณะนี้เป็นจำนวนเท่าใด แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ยอมที่จะเพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาท และงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังที่โจทก์เรียกร้องและโจทก์ได้เลือกฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยที่ 1 คิดเอาจากโจทก์โดยกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับยอดเงินตามรายการในบัญชีเดินสะพัดที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเอาจากโจทก์และฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงินเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเลือกได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ยอมเพิกถอนรายการในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เลือก จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องร่วมกันชำระเงินจำนวน 625,365 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่ 1และที่ 3 คิดเอาจากบัญชีของโจทก์คืน อันถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ซึ่งจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดเอาจากโจทก์เป็นจำนวน 16,170.94 บาทโจทก์ก็ชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเป็นค่าเสียหายด้วย สำหรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ก็เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บจากโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ โดยเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดดอกเบี้ยเอาจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอมทำให้ลูกค้าเสียหาย ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ธนาคารจำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คจำนวน 16 ฉบับ เป็นการจ่ายเงินฝากของโจทก์ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ได้นำจำนวนเงินตามเช็คพิพาทไปหักทอนบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถูกต้องแล้ว และเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสัญญาบัญชีกระแสรายวันและแจ้งจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 สมุห์บัญชีธนาคารจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนรายการเช็คพิพาทที่นำมาลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ถูกต้องออกเสีย แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็มิได้ปฏิบัติตามและยังคงถือว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามรายการที่ลงในบัญชีกระแสรายวัน ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ผลการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจซึ่ง ส.ผู้เชี่ยวชาญของศาลเป็นผู้ตรวจพิสูจน์โดยเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทกับลายมือชื่อตัวอย่างของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 และลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คแล้ว ส.มีความเห็นว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน แม้ ส.จะมิได้มาเบิกความประกอบ รายงานการตรวจพิสูจน์ก็รับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 130
ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์และเป็นลายมือชื่อปลอม การที่จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การรับฝากเงินและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ และโดยที่จำเลยที่ 3 เป็นสมุห์บัญชีลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของข้อความในเช็คและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คที่นำมาขอเบิกเงินจากธนาคารของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของลูกค้าผู้สั่งจ่ายหรือไม่ ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งจำเลยที่ 3 จะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเพราะเป็นงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ การที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 ยิ่งกว่านั้นลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทก็มีลักษณะแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือชื่อปลอม การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังในฐานะที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท อันเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง และจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 และมาตรา 425
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและแจ้งให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เพิกถอนรายการที่ไม่ถูกต้อง ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังกล่าว หรือมิฉะนั้นให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันนำเงินจำนวน 625,365 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งคิดเอาจากบัญชีของโจทก์ส่งคืนบัญชีโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมาย และให้จำเลยที่ 1 หักทอนบัญชีเพื่อจะทราบว่ามียอดหนี้ค้างชำระกันในขณะนี้เป็นจำนวนเท่าใด แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ไม่ยอมที่จะเพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาท และงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังที่โจทก์เรียกร้องและโจทก์ได้เลือกฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยที่ 1 คิดเอาจากโจทก์โดยกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับยอดเงินตามรายการในบัญชีเดินสะพัดที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเอาจากโจทก์และฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงินเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเลือกได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ยอมเพิกถอนรายการในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เลือก จำเลยที่ 1 และที่ 3จึงต้องร่วมกันชำระเงินจำนวน 625,365 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดเอาจากบัญชีของโจทก์คืน อันถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 ซึ่งจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดเอาจากโจทก์เป็นจำนวน 16,170.94 บาทโจทก์ก็ชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเป็นค่าเสียหายด้วย สำหรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ก็เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บจากโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ โดยเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดดอกเบี้ยเอาจากโจทก์
of 94