คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม มั่งมีดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 940 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ดิน และการหักกลบราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้น
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไป คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคาร ค่าถมดินค่าพื้นคอนกรีต และค่าพืชผลต้นไม้ เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้น มีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ดังนั้น การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด สภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วยการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, การหักลบราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยค่าทดแทน
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไป คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคาร ค่าถมดิน ค่าพื้นคอนกรีต และค่าพืชผลต้นไม้เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้น มีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด สภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วย การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 21 วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฎชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดินและอายุความฟ้องคืนการครอบครอง การฟ้องเกิน 1 ปี ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ในคดีก่อนศาลพิพากษาให้ป. และบริวารออกจากที่ดินพิพาทซึ่งในชั้นบังคับคดีโจทก์บังคับให้จำเลยออกจากที่พิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของป. จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่6พฤศจิกายน2536ว่าไม่ใช่บริวารของป. โดยจำเลยเข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทเกินกว่า1ปีแล้วระหว่างพิจารณาชั้นบังคับคดีโจทก์และจำเลยท้ากันว่าหากจำเลยกล้าสาบานต่อหน้าศาลหลักเมืองโจทก์จะยอมรับว่าจำเลยไม่ใช่บริวารของป. หากไม่กล้าสาบานจำเลยจะยอมรับว่าจำเลยเป็นบริวารของป. ปรากฏว่าจำเลยสาบานได้ตามคำท้าจึงต้องถือว่าจำเลยไม่ใช่บริวารของป. โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับคดีแก่จำเลยต้องเพิกถอนการบังคับคดีแก่จำเลยฉะนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของตนเองจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์นับแต่จำเลยครอบครองแม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏเป็นยุติว่าจำเลยแย่งการครองครองที่ดินพิพาทมาก่อนหน้าที่จำเลยยื่นคำร้องนั้นเมื่อใดแต่อย่างน้อยก็เห็นได้ว่าวันที่6พฤษภาคม2536ที่จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งสิทธิของโจทก์นั้นจำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วโจทก์ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยวันที่28กุมภาพันธ์2538จึงเกินกำหนด1ปีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโจทก์จะให้ถือว่าถูกแย่งการครอบครองนับแต่วันที่ศาลเพิกถอนการบังคับคดีจำเลยในคดีก่อนนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ผลผูกพันเมื่อทราบคำสั่ง และการพิจารณาคำสั่งที่ไม่ชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229นั้นมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์อันจะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลยด้วยซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลและการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 นั้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ อันจะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลย ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไป แต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 หลังจากวันที่ 17 กรกฎาคม 2538 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก 7 วัน นับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 กรกฎาคม 2538 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบ และตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่ 21 กรกฎาคม2538 อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้ จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่25 กรกฎาคม 2538 จึงยังไม่พ้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายการวางเงินค่าธรรมเนียมศาล เริ่มเมื่อจำเลยทราบคำสั่ง ไม่ใช่เมื่อศาลมีคำสั่ง
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา229 นั้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ อันจะเป็นที่สุดตามป.วิ.พ.มาตรา 236 และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลย ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
การขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไป แต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538หลังจากวันที่ 17 กรกฎาคม 2538 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก 7 วัน นับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 กรกฎาคม 2538จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบ และตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้ จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่ 21กรกฎาคม 2538 ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่ 28 กรกฎาคม2538 เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่ 25กรกฎาคม 2538 จึงยังไม่พ้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: การแจ้งคำสั่งและการนับระยะเวลาที่ถูกต้อง
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229นั้นมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์อันจะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไปแต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่2เมื่อวันที่18กรกฎาคม2538หลังจากวันที่17กรกฎาคม2538อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก7วันนับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่19กรกฎาคม2538จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบและตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่21กรกฎาคม2538อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้วจำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่21กรกฎาคม2538ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่28กรกฎาคม2538เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่25กรกฎาคม2538จึงยังไม่พ้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายืนยันสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญา และเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ข้อกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารโจทก์และตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยดังกล่าวต่อโจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ชอบ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงไม่ถูกต้อง และที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขออุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าเมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์คำร้องนี้จึงไม่ต้องสั่ง เท่ากับไม่อนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเพราะเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งไม่ถูกต้องศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับคำฟ้องอุทธรณ์ใหม่ และดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องขออุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามขั้นตอนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดที่ดินพิพาท & ผลของคำท้าที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อตกลง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีโดยไม่ชอบ
โจทก์และจำเลยแถลงต่อพิพากษาขอให้สั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดทำแผนที่พิพาทหากทำแผนที่พิพาทแล้วปรากฏว่าหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8049หรืออยู่นอกเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033แล้วโจทก์ยอมแพ้แต่ถ้าอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033แล้วจำเลยยอมแพ้โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานกันต่อไปดังนั้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจแผนที่พิพาทกับระวางที่ดินตามรูปโฉนดเดิมแล้วแถลงว่าไม่สามารถให้ความเห็นได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินแปลงใดแน่เนื่องจากไม่สามารถรังวัดปูโฉนดได้เพราะที่ดินตามโฉนดเดิมไม่มีระวางโยงยึดและหมุดหลักที่แน่นอนดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าปรากฏว่าหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใดตามตกลงท้ากันและศาลจะตรวจดูแผนที่พิพาทเปรียบเทียบกับระวางแผนที่เสียเองก็ไม่ได้ศาลจึงไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เป็นไปตามคำท้าได้คำท้าเป็นอันตกไปศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าชี้ขาดคดีต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลง หากเงื่อนไขไม่เป็นไปตามนั้น คำท้าเป็นอันตกไป ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
โจทก์และจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้สั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดทำแผนที่พิพาทหากพนักงานเจ้าหน้าที่ทำแผนที่พิพาทแล้วปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8049หรือนอกเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033แล้วโจทก์ยอมแพ้แต่ถ้าหากที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033แล้วจำเลยยอมแพ้โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานต่อไปต่อมาเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำแผนที่พิพาทเสร็จแล้วไม่สามารถให้ความเห็นได้ว่าที่พิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินแปลงใดเนื่องจากไม่สามารถรังวัดปูโฉนดได้เพราะที่ดินตามโฉนดเดิมไม่มีระวางโยงยึดและหมุดหลักที่แน่นอนจึงยังถือไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใดศาลจึงยังไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เป็นไปตามคำท้าของโจทก์และจำเลยได้ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นตรวจดูแผนที่พิพาทและระวางแผนที่อีกครั้งหนึ่งแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาโดยนำตำแหน่งของที่พิพาทมาเปรียบเทียบกับระวางแผนที่แล้ววินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033ให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้าจึงเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ตรงตามคำท้าของโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าคำท้าของโจทก์จำเลยย่อมเป็นอันตกไปศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการชี้สองสถานหากจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
of 94