คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม มั่งมีดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 940 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718-723/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: กำหนดเวลาฟ้องหลังรัฐมนตรีไม่วินิจฉัยอุทธรณ์หรือมีคำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25วรรคสองและมาตรา26วรรคหนึ่งในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่่ได้รับคำอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันทีพ้นกำหนดหกสืบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังนั้นกรณีคดีนี้เมื่อจำเลยที่2ซึ่งเป็นรัฐมนตรีฯมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์โจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือราคาลดลง และดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทน
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25วรรคหนึ่ง(เดิม)บัญญัติให้สิทธิผู้ที่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนและขั้นตอนในการดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นหลังจากที่คณะกรรมการได้กำหนดราคาแล้วจะมีหนังสือเชิญให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ทำสัญญาและให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนในภายหลังส่วนผู้ที่ไม่ยอมทำสัญญาการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจะนำเงินไปวางที่ธนาคารออมสินวันที่นัดให้มารับเงินนั้นจำเลยจะต้องมีหนังสือแจ้งไปให้เจ้าของทราบอีกทีหนึ่งในทางปฏิบัติหากเจ้าของที่ถูกเวนคืนไม่ตกลงทำสัญญาด้วยจำเลยจะไม่มีหนังสือให้มารับเงินที่จำเลยจะให้ไปรับเงินที่ธนาคารออมสิน ฝ่ายจำเลยถือว่าหนังสือขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนเป็นหนังสือเชิญให้มาทำสัญญาซื้อขายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา10มิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา25วรรคหนึ่งกรณีของโจทก์ทั้งสองนั้นหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา25วรรคหนึ่งคือหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนฉบับวันที่30สิงหาคม2533โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือการวางเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่1กันยายน2533และได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่29ตุลาคม2533จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลา60วันนับแต่วันได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา25วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามมาตรา26วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ที่1ไม่สามารถประกอบกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างและรับเหมาก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ที่2ซึ่งถูกเวนคืนโจทก์ที่1ต้องเสียทำเลทางการค้าเสียเวลาในการหาสถานที่ประกอบกิจการค้าแห่งใหม่ไม่สะดวกต่อการติดต่อกับลูกค้าทำให้เสียลูกค้าและขาดรายได้อันถือได้ว่าโจทก์ที่1ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจกท์ที่1ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคห้า ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองและวรรคสามเป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่นั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21เท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์ที่2มีราคาลดลงเพราะการเวนคืนแล้วก็ต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วยแต่ที่ดินโฉนดเลขที่21685ของโจทก์ที่2มิได้มีส่วนใดถูกเวนคืนเลยจึงไม่เข้ากรณีที่จะได้เงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงเพราะเหตุการเวนคืนตามมาตรา21วรรคสามส่วนที่ดินโฉนดเลขที่21686ของโจทก์ที่2เนื้อที่107ตารางวาถูกเวนคืนเพียง19ตารางวาเหลือ88ตารางวานั้นเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ติดกับถนนแจ้งวัฒนะคงติดกับถนนซอยกว้างเกิน4เมตรเมื่อถูกเวนคืน19ตารางวาแล้วที่ดินที่เหลือ88ตารางวาก็ยังคงติดกับถนนซอยกว้างเกิน4เมตรเหมือนเดิมและเนื้อที่ดินลดลงเพียงเล็กน้อยยังคงใช้ประโยชน์ได้แตกต่างจากเดิมไม่มากและหลังจากสร้างทางสายบางโคล่-แจ้งวัฒนะเสร็จแล้วทำให้ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่2แปลงนั้นอยู่ใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วนด้วยย่อมไม่ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่2ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าวนั้นราคาลดลง เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคสามซึ่งอัตราสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามประกาศของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องคือวันที่23ธันวาคม2534ตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดค่าทดแทน การชดเชยความเสียหาย และดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 25 วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติให้สิทธิผู้ที่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน และขั้นตอนในการดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้น หลังจากที่คณะกรรมการได้กำหนดราคาแล้วจะมีหนังสือเชิญให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ทำสัญญาและให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนในภายหลัง ส่วนผู้ที่ไม่ยอมทำสัญญา การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจะนำเงินไปวางที่ธนาคารออมสินวันที่นัดให้มารับเงินนั้น จำเลยจะต้องมีหนังสือแจ้งไปให้เจ้าของทราบอีกทีหนึ่ง ในทางปฏิบัติหากเจ้าของที่ถูกเวนคืนไม่ตกลงทำสัญญาด้วย จำเลยจะไม่มีหนังสือให้มารับเงินที่จำเลย จะให้ไปรับเงินที่ธนาคารออมสิน ฝ่ายจำเลยถือว่า หนังสือขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทน เป็นหนังสือเชิญให้มาทำสัญญาซื้อขายตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา 10มิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง กรณีของโจทก์ทั้งสองนั้น หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนฉบับวันที่ 30 สิงหาคม 2533 โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือการวางเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 และได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่29 ตุลาคม 2533 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลา 60 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถประกอบกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างและรับเหมาก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ที่ 2 ซึ่งถูกเวนคืน โจทก์ที่ 1 ต้องเสียทำเลทางการค้า เสียเวลาในการหาสถานที่ประกอบกิจการค้าแห่งใหม่ ไม่สะดวกต่อการติดต่อกับลูกค้า ทำให้เสียลูกค้า และขาดรายได้อันถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคห้า
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหา-ริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้ว ตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้ หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์ที่ 2 มีราคาลดลงเพราะการเวนคืนแล้ว ก็ต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย แต่ที่ดินโฉนดเลขที่ 21685ของโจทก์ที่ 2 มิได้มีส่วนใดถูกเวนคืนเลย จึงไม่เข้ากรณีที่จะได้เงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงเพราะเหตุการเวนคืนตามมาตรา 21 วรรคสาม ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 21686 ของโจทก์ที่ 2 เนื้อที่107 ตารางวา ถูกเวนคืนเพียง 19 ตารางวา เหลือ 88 ตารางวา นั้นเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ติดกับถนนแจ้งวัฒนะ คงติดกับถนนซอยกว้างเกิน 4 เมตรเมื่อถูกเวนคืน 19 ตารางวา แล้ว ที่ดินที่เหลือ 88 ตารางวา ก็ยังคงติดกับถนนซอยกว้างเกิน 4 เมตรเหมือนเดิม และเนื้อที่ดินลดลงเพียงเล็กน้อยยังคงใช้ประโยชน์ได้แตกต่างจากเดิมไม่มาก และหลังจากสร้างทางสายบางโคล่ - แจ้งวัฒนะเสร็จแล้ว ทำให้ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่ 2 แปลงนั้นอยู่ใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วนด้วย ย่อมไม่ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่ 2ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าวนั้นราคาลดลง
เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ซึ่งอัตราสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามประกาศของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องคือวันที่ 23 ธันวาคม 2534 ตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีถูกต้องครบถ้วนและเรียงลำดับเลขที่ตามหลักเกณฑ์
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่ม มีมูลค่าฐานภาษีจากยอดขายในเดือนกรกฎาคมสิงหาคม กันยายน และธันวาคม 2536 เกินกว่าเดือนละ 100,000 บาท จำเลยจึงเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งเดือนใดถึง 100,000 บาท ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25ธันวาคม 2534 ข้อ 1 วรรคสอง ที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท ตามประกาศดังกล่าวข้อ 2 และสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท ในหนึ่งวันทำการตามประกาศดังกล่าวข้อ 3 จำเลยจึงมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 วรรคหนึ่ง หากไม่กระทำ ย่อมมีความผิดและได้รับโทษตามมาตรา 90/2 (3) การที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ 1 ฉบับ โดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า "ขายปลีกรายย่อย ครั้งละไม่เกิน500 บาท รวมทั้งวัน" มีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 3,557 บาท แสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่ง ๆ มารวมยอดเงิน แล้วออกใบกำกับภาษีเพียง 1 ฉบับต่อวัน จึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง และไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้น จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.รัษฎากรมาตรา 86 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 90/2 (3) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2534
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่22) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ข้อ 6 (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลัง โดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้น ๆ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไป จะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87 และ 90(15) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 22)ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างที่อธิบดีกรมสรรพากรกำลังพิจารณาหนังสือของจำเลย ต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามวิธีการของมาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรก็ดี จำเลยไม่ได้ทราบถึงผลการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยนั้น จึงต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 14, 15, 16, 17, 18,20, 22 และ 27 ทวิ ก็ดี เจ้าหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ได้ทำการขูดลบแก้ไขเอกสารก็ดี ล้วนเป็นข้อที่ไม่เป็นประเด็นโดยตรงกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดอาญาเป็นคดีนี้ และไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง แม้ยอดขายต่อครั้งไม่เกิน 500 บาท การออกใบกำกับภาษีรวมวันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าฐานภาษีจากยอดขายในเดือนกรกฎาคมสิงหาคมกันยายนและธันวาคม2536เกินกว่าเดือนละ100,000บาทจำเลยจึงเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งเดือนใดถึง100,000บาทถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534ข้อ1วรรคสองที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทตามประกาศดังกล่าวข้อ2และสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทในหนึ่งวันทำการตามประกาศดังกล่าวข้อ3จำเลยจึงมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้งและต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกิดขึ้นพร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งหากไม่กระทำย่อมมีความผิดและได้รับโทษตามมาตรา90/2(3)การที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ1ฉบับโดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า"ขายปลีกรายย่อยครั้งละไม่เกิน500บาทรวมทั้งวัน"มีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น3,557บาทแสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่งๆมารวมยอดเงินแล้วออกใบกำกับภาษีเพียง1ฉบับต่อวันจึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งและไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้นจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา90/2(3)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534ข้อ6(3)ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลังโดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้นๆซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไปจะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกันดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา87และ90(15)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534 ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างที่อธิบดีกรมสรรพากรกำลังพิจารณาหนังสือของจำเลยต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามวิธีการของมาตรา34แห่งประมวลรัษฎากรก็ดีจำเลยไมได้ทราบถึงผลการพิจารณาประเด็นต่างๆที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยนั้นจึงต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามประมวลรัษฎากรมาตรา14,15,16,17,18,20,22และ27ทวิก็ดีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ได้ทำการขูดลบแก้ไขเอกสารก็ดีล้วนเป็นข้อที่ไม่เป็นประเด็นโดยตรงกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดอาญาเป็นคดีนี้และไม่เป็นสาระแก่คดีศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภาษีอากร และการเรียงลำดับเลขที่เอกสาร
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งถึง100,000บาทถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534ข้อ1วรรคสองที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทและสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทในหนึ่งวันทำการดังนั้นการที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ1ฉบับโดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า"ขายปลีกรายย่อยครั้งละไม่เกิน500บาทรวมทั้งวัน"ซึ่งมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น3,557บาทนั้นแสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่งๆมารวมยอดเงินแล้วออกใบกำกับภาษีเพียง1ฉบับต่อวันจึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งและไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้นจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา90/2(3)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534 ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534ข้อ6กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลังโดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้นๆซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไปจะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกันดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา87และ90(15)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดกใหม่ในการเรียกคืนทรัพย์มรดกจากผู้ที่เคยเป็นผู้จัดการมรดกเดิม
แม้ทรัพย์มรดกของ จ.เคยมี ห.เป็นผู้จัดการมรดกและได้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของ จ.ไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมก็ตาม แต่ ห.ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว ต่อมาเมื่อศาลได้ตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในอันที่จะต้องจัดการทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอาโฉนดที่ดินมรดกจากจำเลยได้เพื่อจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย จำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีข้ออ้างที่จะยึดถือเอาโฉนดที่ดินมรดกไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดกในการเรียกคืนโฉนดที่ดินจากบุคคลที่ไม่ใช่ผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
แม้ทรัพย์มรดกของจ. เคยมีห. เป็นผู้จัดการมรดกและได้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของจ. ไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมก็ตามแต่ห. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้วต่อมาเมื่อศาลได้ตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในอันที่จะต้องจัดการทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามกฎหมายโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอาโฉนดที่ดินมรดกจากจำเลยได้เพื่อจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมายจำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีข้ออ้างที่จะยึดถือเอาโฉนดที่ดินมรดกไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10131/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอราคาเช่าสิทธิและการทำสัญญา: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในประกาศ
จำเลยได้ประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจเสนอราคาค่าเช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถไฟรวม ๑๓ ขบวน โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อจำเลยตกลงรับให้ผู้ยื่นซองเสนอราคารายใดเป็นผู้ได้รับสิทธิการเช่า ผู้ได้รับสิทธิการเช่าจะต้องทำสัญญาเช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มตามแบบของจำเลยที่แผนกควบคุมสัญญาและการเช่าสิทธิ กองโดยสารฝ่ายการเดินรถไฟของจำเลยภายในกำหนด ๑๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยและจำเลยจะกำหนดให้ผู้ได้รับสิทธิการเช่าเริ่มดำเนินการตามสัญญาเช่า ทั้งนี้ไม่เกิน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หากผู้ได้รับสิทธิการเช่าไม่มาจัดทำสัญญาเช่าภายในกำหนด จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำซองหรือเรียกเงินที่มีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันที่วางไว้ทั้งหมด ต่อมาจำเลยตกลงรับให้โจทก์ผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ได้รับสิทธิการเช่า จำเลยได้ส่งหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อให้โจทก์ไปทำสัญญาเช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถภายในกำหนด ๑๐ วัน นับแต่ได้รับหนังสือโดยชอบแล้ว การส่งหนังสือแจ้งโจทก์ดังกล่าวแม้โจทก์ไม่ยอมรับก็ถือว่ามีผลเป็นการแสดงเจตนาไปถึงโจทก์แจ้งให้ไปทำสัญญากับจำเลยโดยชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่ง แล้วเมื่อโจทก์ได้ทราบถึงเจตนาของจำเลยแล้วเช่นนี้ แต่โจทก์ไม่ไปทำสัญญากับจำเลยภายในกำหนด จึงผิดเงื่อนไขตามประกาศของจำเลย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญากรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9934/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องแจ้งให้ผู้ค้างภาษีทราบที่ภูมิลำเนา หากไม่สามารถส่งได้จึงแจ้งโดยวิธีอื่นได้ การแจ้งเฉพาะทางหนังสือพิมพ์จึงไม่ชอบ
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่เป็นที่แน่นอน กรรมสรรพากรจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งประกาศแจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ให้โจทก์ทราบ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวซึ่งถ้าไม่สามารถส่งได้ จึงจะส่งโดยวิธีอื่นหรือประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ได้ การที่จำเลยแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์โดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยไม่เข้าข้อยกเว้นที่ให้ทำได้ จึงไม่ชอบการขายทอดตลาดที่จำเลยดำเนินการไปจึงไม่ชอบด้วยระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2525 และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2532
of 94