คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม มั่งมีดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 940 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายโรงงานเกินกำลังผลิตที่ได้รับอนุญาตและการชำระเงินทดแทนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี
โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และมีกำลังการผลิตได้ไม่เกินนโยบายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตั้งลูกหีบในโรงงานโจทก์ และโจทก์มีโครงการจะติดตั้งลูกหีบ ซึ่งหากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้วจะเป็นจำนวนที่จำเลยถือว่าโจทก์เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรี หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานของโจทก์ให้เป็นไปตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้เดิม ซึ่งโจทก์ยอมรับโดยตรงว่าเครื่องจักรโรงงาน โจทก์มีกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตไว้ นอกจากนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษ จำเลยที่ 2 ก็ได้ระบุไว้ในหนังสือนั้นว่า โจทก์ติดตั้งลูกหีบไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งเรื่องกำลังการผลิตดังกล่าวและไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 14 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.โรงงานพ.ศ.2512 ในเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่โจทก์การที่โจทก์ตั้งโรงงานน้ำตาลทรายโดยเพิ่มขยายกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตดังนั้น การที่คณะกรรมการทำการปรับเกี่ยวกับการลงโทษโรงงานน้ำตาล และการที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษก็ให้ชำระให้แก่รัฐโดยนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์แก่รายได้ของแผ่นดินอันเป็นส่วนรวม จึงมิใช่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนตน กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยสุจริต ส่วนการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้แจ้งความเชื่อว่า โจทก์กระทำผิดกฎหมาย ฉะนั้นการใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกตินิยมหรือตามกฎหมายย่อมไม่เป็นการข่มขู่ นอกจากนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลทรายนั้นไม่ได้ออกตามพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 33 แต่ออกตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจะมีมาตรการให้ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ ซึ่งใช้แก่โรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนทุกแห่งไม่มีข้อยกเว้น แต่เนื่องจากคำนึงถึงความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และในระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อทางรัฐจะได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้โจทก์ต่อมาคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้สั่งระงับการกำหนดวันเปิดหีบอ้อยแก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งเป็นไปตามมติส่วนใหญ่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมิใช่การชี้แนะของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ แต่เป็นเรื่องต้องปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐบาลเคยปิดโรงงานน้ำตาลทรายที่จังหวัดอื่น แต่ไม่สามารถปิดได้เนื่องจากชาวไร่อ้อยประท้วง นอกจากนั้นนโยบายของรัฐในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายก็เพื่อมิให้ประชาชนและเศรษฐกิจของชาติเสียหายเป็นส่วนรวม แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ต้องการทำลายการลงทุนของเอกชนด้วย จึงได้กำหนดนโยบายที่มีเงื่อนไขในการอนุญาตเพื่อป้องกันและปราบปรามมิให้โรงงานขยายกำลังผลิตหากฝ่าฝืนก็ต้องให้จ่ายเงินทดแทนแก่รัฐ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 มาตรา 146 วรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือว่าได้กระทำในนามแห่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขตามมาตรา 3 การพิจารณาอนุญาตให้ตั้งประกอบกิจการและขยายโรงงานน้ำตาลทรายจึงต้องพิจารณาถึง พ.ร.บ.น้ำตาลทราย พ.ศ.2511พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 และ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2512ประกอบกัน ซึ่งถือเป็นงานบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขได้ ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดขึ้นไว้ใช้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของรัฐ โดยได้มีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมายให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐดังกล่าวก็ต้องแก้ไขปรับปรุงโรงงานของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ แต่ถ้าจะขอตั้งโรงงานตามกำลังการผลิตที่ได้ติดตั้งไว้เกินสิทธิเดิมต้องจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐในอัตราดังกล่าวเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศชาติอันเป็นมาตรการที่ใช้บังคับสำหรับผู้ฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 โจทก์ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์เคยยืนยันรับรองว่ายินดีจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของทางราชการทุกประการดังกล่าวข้างต้น และโจทก์ก็ได้เลือกปฏิบัติในทางยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลทรายที่มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้โดยโจทก์เลือกไม่ยอมปรับปรุงแก้ไขหรือหรือดำเนินการในทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิม เงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนโยบายที่ได้กำหนดไว้โดยชอบนั้น เมื่อโจทก์เลือกปฏิบัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นความสมัครใจของโจทก์ในการทำสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ สัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และมีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินรายได้ของสถานศึกษาและค่าเช่าที่ดิน จำเลยต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า เงินที่หักหรือลดเป็นค่าการตลาดร้อยละ 5 จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ และเงินค่าเช่าหรือค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า จะมีผลทางกฎหมายว่าเงินดังกล่าวเป็นของโจทก์ หรือเป็นเงินค่าใช้จ่ายปกติที่ต้องเสียซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารกับผู้ขายที่สามารถจัดเข้าไว้เป็นเงินกองกลางได้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์ม ของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์ม ของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้ เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วยเมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินได้จากการขายผลิตผลและการเช่าที่ดิน เงินได้เหล่านี้เป็นของเจ้าของและจำเลยมีหน้าที่คืน
ฎีกาโจทก์ที่ว่า เงินที่หักหรือลดเป็นค่าการตลาดร้อยละ 5 จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ และเงินค่าเช่าหรือค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ เป็นฎีกาในปัญหาจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า จะมีผลทางกฎหมายว่าเงินดังกล่าวเป็นของโจทก์ หรือเป็นเงินค่าใช้จ่ายปกติที่ต้องเสียซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารกับผู้ขายที่สามารถจัดเข้าไว้เป็นเงินกองกลางได้เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วย เมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือ & ขั้นตอนการดำเนินการตาม พ.ร.บ.เวนคืน
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำวินิจฉัยให้เพิ่มเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ขอค่าทดแทนเพิ่มในอุทธรณ์ของโจทก์ ค่าทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้จึงเป็นค่าทดแทนที่ต้องถือว่าโจทก์พอใจแล้วไม่มีเหตุที่โจทก์จะโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องศาลเรียกค่าทดแทนเพิ่ม การกำหนดเงินค่าทดแทนจะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตามหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด เมื่อโจทก์และจำเลยไม่อาจแสดงให้ศาลเห็นได้ ว่าที่ดินโจทก์ที่จะต้องเวนคืนมีราคาตามธรรมดาที่ซื้อขายกัน ในท้องตลาดเป็นราคาเท่าใด ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้ตาม ความเหมาะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกัน กับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ไม่ได้กำหนด เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์คงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับ ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนต่ำเกินไป ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิอุทธรณ์, คำวินิจฉัยรัฐมนตรี, และการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนเพิ่มเติม
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ดิน ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนเพิ่มสำหรับที่ดินพิพาทจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้ตารางวาละ 35,000 บาท เป็นตารางวาละ 63,000 บาท เมื่อรัฐมนตรีฯ ได้มีคำวินิจฉัยให้เพิ่มเงินค่าทดแทนให้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอเพิ่มแล้ว เงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีฯกำหนดให้โจทก์จึงเป็นเงินค่าทดแทนที่ต้องถือว่าโจทก์พอใจแล้ว ไม่มีเหตุที่โจทก์จะโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีฯต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องศาลเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทอีก
เงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนต่ำไป จึงไม่อาจถือได้ว่าอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีฯ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ศาลมีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องของค่าทดแทน และกำหนดเพิ่มได้หากไม่เป็นธรรม
จำเลยฎีกาเพียงว่า ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของจำเลยเป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรมตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่เป็นธรรมจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนและดอกเบี้ยเพียงใดนั้นไม่ถูกต้อง จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าหากการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวไม่ถูกต้องจะทำให้ผลของคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปเป็นคุณแก่จำเลยอย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คดีนี้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ถูกต้องเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลชอบที่จะตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และจำเลยซึ่งเป็นองค์กรทางฝ่ายปกครองได้ แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าราคาที่ดินของโจทก์มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องก็หาได้หมายความว่าศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง หากพิจารณาได้ความว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรม ศาลก็ชอบที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้แก่โจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 และ 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: ผลกระทบของประกาศ คสช. ฉบับที่ 44 ต่อระยะเวลาการใช้สิทธิ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวการที่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง กรณีของโจทก์ขณะอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 เป็นกรณียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับและยังไม่ปรากฏว่าได้มีการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นให้แก่ โจทก์ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ก็ตาม แต่เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังกล่าวไม่มีบทบังคับว่าการเวนคืนที่ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น จะต้องมีการพิจารณาแก้ไขราคาอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ทุกกรณี และมาตรา 10 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีที่มีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้และให้ถือว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ได้สั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ และไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 ให้แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่จึงเป็นกรณีที่ไม่มีราคาเบื้องต้นที่แก้ไขใหม่ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อีก ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ข้อ 1 ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา 21(2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 ทั้งมาตรา และข้อ 5 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยนั้น หมายความว่า ในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น การเวนคืนยังไม่เสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการตามมาตรา 9 รัฐมนตรี หรือศาลก็ให้ผู้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่แก้ไขใหม่นี้เท่านั้น หาทำให้เงินค่าทดแทนตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกลายเป็นการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นไม่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ไม่มีผลทำให้กำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของประกาศ คสช. ฉบับที่ 44 ต่อการเวนคืนที่ยังไม่เสร็จเด็ดขาด และสิทธิอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา25 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว การที่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
กรณีของโจทก์ขณะอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 เป็นกรณียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ และยังไม่ปรากฏว่าได้มีการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นให้แก่โจทก์ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ก็ตาม แต่เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ดังกล่าวไม่มีบทบังคับว่าการเวนคืนที่ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น จะต้องมีการพิจารณาแก้ไขราคาอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ทุกกรณี และมาตรา 10 ทวิแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ให้เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีที่มีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้และให้ถือว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ได้สั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ และไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 ให้แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่จึงเป็นกรณีที่ไม่มีราคาเบื้องต้นที่แก้ไขใหม่ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อีก
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ข้อ 1 ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิม ซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา 21 (2) หรือ (3) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 ทั้งมาตรา และข้อ 5 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยนั้น หมายความว่า ในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น การเวนคืนยังไม่เสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการตามมาตรา 9รัฐมนตรี หรือศาล ก็ให้ผู้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่แก้ไขใหม่นี้เท่านั้น หาทำให้เงินค่าทดแทนตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลายเป็นการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นไม่ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ไม่มีผลทำให้กำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ เหนือกว่าสัญญาซื้อขายที่ไม่แจ้งสิทธิซื้อก่อน
ที่ดินพิพาทเป็นนา จำเลยที่ 2 ที่ 3 เช่าที่ดินพิพาททำนาสิทธิหน้าที่ของผู้เช่านาและผู้ให้เช่านาจึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ กล่าวคือ ตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้ และมาตรา 54 วรรคหนึ่งถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะคุ้มครองผู้เช่านา โดยเฉพาะ โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่านาซื้อนาที่จะขายได้ก่อนบุคคลอื่น คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้เช่าที่ดินพิพาททำนาได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เช่าที่ดินพิพาททราบเพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใช้สิทธิซื้อก่อนตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ย่อมมีสิทธิแสดงความจำนงขอซื้อที่ดิน พิพาทจากจำเลยที่ 1 ได้ก่อนโจทก์โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ ประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 และเมื่อ คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล มีมติให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่ โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมติของ คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 หากจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืน มติจำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้ จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามมติ ของคณะกรรมการดังกล่าวได้ และเมื่อมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนโอนก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการ แสดงเจตนา เช่นนี้จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ใช้สิทธิตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม บทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ดำเนินการบังคับคดีโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตน ตลอดจน จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยทั้งสี่ รู้อยู่ก่อนแล้วว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายก็ตาม ก็เป็นการกระทำไปตามสิทธิที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และถึงหาก ว่าที่ดินพิพาทจะได้โอนไปยังโจทก์แล้วโดยมิได้แจ้ง การขายให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทราบก่อนก็ตาม จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ยังคงมีสิทธิซื้อคืนจากโจทก์ได้ตามขั้นตอนและวิธีการ ที่กำหนดไว้ในมาตรา 54 สิทธิของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงดีกว่า สิทธิของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่ถือว่ากระทำให้โจทก์ เสียเปรียบแต่อย่างใด ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกัน กระทำการฉ้อฉลโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่านาในการซื้อที่ดินก่อนตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการบังคับคดีตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นนา จำเลยที่ 2 ที่ 3 เช่าที่ดินพิพาททำนาสิทธิหน้าที่ของผู้เช่านาและผู้ให้เช่านาจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ กล่าวคือ ตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวัน และถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้ และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะคุ้มครองผู้เช่านาโดยเฉพาะ โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่านาซื้อนาที่จะขายได้ก่อนบุคคลอื่นคดีนี้จำเลยที่ 1 ให้เช่าที่ดินพิพาททำนาได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เช่าที่ดินพิพาททราบเพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 ที่ 3ใช้สิทธิซื้อก่อนตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ย่อมมีสิทธิแสดงความจำนงขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ได้ก่อนโจทก์โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 และเมื่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมีมติให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 หากจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนมติจำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามมติของคณะกรรมการดังกล่าวได้ และเมื่อมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยที่ 1ไม่ไปจดทะเบียนโอนก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนา เช่นนี้จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ใช้สิทธิตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ดำเนินการบังคับคดีโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตน ตลอดจนจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยทั้งสี่รู้อยู่ก่อนแล้วว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายก็ตาม ก็เป็นการกระทำไปตามสิทธิที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และถึงหากว่าที่ดินพิพาทจะได้โอนไปยังโจทก์แล้วโดยมิได้แจ้งการขายให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทราบก่อนก็ตาม จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ยังคงมีสิทธิซื้อคืนจากโจทก์ได้ตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 54 สิทธิของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงดีกว่าสิทธิของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่ถือว่ากระทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่อย่างใด ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำการฉ้อฉลโจทก์ด้วย
of 94