คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม มั่งมีดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 940 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกโฉนดที่ดิน: สิทธิในที่ดิน น.ส.3 และอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดิน
อายุความ 1 ปี เกี่ยวกับการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่งใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้ต้องเสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดแต่คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด หากแต่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการรังวัดทำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ดำเนินการให้โจทก์โดยปราศจากข้ออ้างตามกฎหมายโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้เพราะสิทธิฟ้องร้องของโจทก์ย่อมมีอยู่ตลอดไปตราบเท่าที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ดำเนินการรังวัดทำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินของรัฐรัฐย่อมไม่มีอำนาจนำไปจัดตั้งเป็นนิคมตาม พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6หรือให้กรมส่งเสริมสหกรณ์จำเลยที่ 5 มีอำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจกรรมและการจัดทำสิ่งก่อสร้างอันเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมของนิคมตามมาตรา 14 ได้การที่เจ้าพนักงานที่ดินจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่สามารถดำเนินการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เพราะจะต้อง กันแนวเขตชานคลองสหกรณ์หรือคลองลัดแสมดำจากกึ่งกลางคลอง เป็นรัศมี 40 เมตร ตามข้อคัดค้านของจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน บทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60 วรรคหนึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจพนักงานเจ้าหน้าที่หรือจำเลยที่ 1ที่จะทำการสอบสวนเปรียบเทียบหรือไม่ก็ได้มิได้บังคับว่าจำเลยที่ 1 จะต้องทำการสอบสวนเปรียบเทียบทุกกรณีบทบัญญัติดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่มีกฎหมายให้ฝ่ายบริหารวินิจฉัย ข้อพิพาทก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการสอบสวน เปรียบเทียบแล้วโจทก์ไม่ยินยอมให้สอบสวนเปรียบเทียบทั้งการที่ไม่มีการเปรียบเทียบก็เป็นการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล โดยตรงได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ที่ดินพิพาทของโจทก์อยู่ในเขต หวงห้ามตาม พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2481แม้โจทก์จะมี น.ส.3 แต่โจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนการสงวนหวงห้ามและไม่ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตของนิคมสหกรณ์บ้านไร่ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในบังคับของมาตรา 14และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511นั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้ แม้จำเลยที่ 5ให้การต่อสู้ไว้ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 5จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การรังวัดออกโฉนด, อายุความ, เขตหวงห้าม และอำนาจของนิคมสหกรณ์
อายุความ 1 ปี เกี่ยวกับการละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448วรรคหนึ่ง ใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้ต้องเสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดแต่คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด หากแต่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการรังวัดทำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ดำเนินการให้โจทก์โดยปราศจากข้ออ้างตามกฎหมายโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะสิทธิฟ้องร้องของโจทก์ย่อมมีอยู่ตลอดไปตราบเท่าที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ดำเนินการรังวัดทำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินของรัฐ รัฐย่อมไม่มีอำนาจนำไปจัดตั้งเป็นนิคมตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 6หรือให้กรมส่งเสริมสหกรณ์จำเลยที่ 5 มีอำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจกรรมและการจัดทำสิ่งก่อสร้างอันเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมของนิคมตามมาตรา 14 ได้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่สามารถดำเนินการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เพราะจะต้องกันแนวเขตชานคลองสหกรณ์หรือคลองลัดแสมดำจากกึ่งกลางคลองเป็นรัศมี 40 เมตรตามข้อคัดค้านของจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน
บทบัญญัติใน ป.ที่ดิน มาตรา 60 วรรคหนึ่ง เป็นการให้ดุลพินิจพนักงานเจ้าหน้าที่หรือจำเลยที่ 1 ที่จะทำการสอบสวนเปรียบเทียบหรือไม่ก็ได้มิได้บังคับว่าจำเลยที่ 1 จะต้องทำการสอบสวนเปรียบเทียบทุกกรณี บทบัญญัติดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่มีกฎหมายให้ฝ่ายบริหารวินิจฉัยข้อพิพาทก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วโจทก์ไม่ยินยอมให้สอบสวนเปรียบเทียบ ทั้งการที่ไม่มีการเปรียบเทียบก็เป็นการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลโดยตรงได้
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ที่ดินพิพาทของโจทก์อยู่ในเขตหวงห้ามตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน อำเภอเมืองสมุทรปราการจังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ.2481แม้โจทก์จะมี น.ส.3 แต่โจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนการสงวนหวงห้ามและไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตของนิคมสหกรณ์บ้านไร่ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในบังคับของมาตรา 14 และมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511นั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้ แม้จำเลยที่ 5 ให้การต่อสู้ไว้ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่ไม่ชัดเจน ขาดหลักฐานสนับสนุน และอาศัยข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ ศาลยกคำร้อง
การพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น มาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้นคำร้องคัดค้าน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองด้วย ตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ข้อ 20 บัญญัติไว้ว่า เมื่อการนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้วให้คณะกรรมการ ตรวจคะแนนเก็บบัตรเลือกตั้งที่ใช้นับคะแนนแล้วรายการแสดงผล ของการนับคะแนนหนึ่งฉบับประกาศผลของการนับคะแนนหนึ่งฉบับ และแบบกรอกคะแนนที่ใช้กรอกคะแนนแล้วบรรจุในหีบบัตรเลือกตั้ง แล้วปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้ และให้เอากระดาษปิดทับช่องใส่บัตรเลือกตั้ง โดยมีลายมือชื่อ คณะกรรมการตรวจคะแนนกำกับไว้บนกระดาษนั้นด้วย และข้อ 21 บัญญัติว่า ให้ประธานกรรมการตรวจคะแนนอ่านประกาศผลของการ นับคะแนนแก่ประชาชนซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น แล้วปิดประกาศนั้นไว้ ณ ที่เลือกตั้งหนึ่งฉบับ แสดงให้เห็นว่า ณ ที่เลือกตั้งทั้ง 93 หน่วย แต่ละหน่วยย่อมจะต้องปิดประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ส. 5) ณ ที่เลือกตั้งว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดสังกัด พรรคใดได้คะแนนเท่าใดปรากฏชัดแจ้ง ณ ที่เลือกตั้งนั้นแล้ว แต่ตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองกลับร้อง คัดค้านการเลือกตั้งโดยอาศัยคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 และ ผู้ร้องที่ 2 ตามเอกสารซึ่งเป็น แบบรายงานการนับคะแนนไม่ เป็นทางการเป็นมูลเหตุในการคัดค้านการเลือกตั้ง ย่อมเป็นที่ เห็นได้ว่าผลรวมคะแนนตามแบบรายงานการนับคะแนนไม่เป็นทางการดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าผลของการรวมคะแนนนั้นอาจมี ข้อผิดพลาดได้ ส่วนการที่ต้องรายงานไม่เป็นทางการก่อนก็ เพียงการอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสาร รวดเร็วเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้ร้องทั้งสองร้องคัดค้าน การเลือกตั้งโดยอาศัยแบบรายงานการนับคะแนนไม่เป็นทางการ จึงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานทางราชการได้มาเป็นมูลเหตุของการ คัดค้านโดยไม่ปรากฏว่ารายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ส.4) และประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ส.5) อันเป็นคะแนนที่เป็น ทางการและปิดประกาศ ณ ที่เลือกตั้งว่าคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องที่ 2 มีอยู่อย่างไร ถูกต้องตรงกับจำนวนคะแนน ตามเอกสารหรือไม่ ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองอ้างอิงคะแนนที่ ไม่แน่นอนและไม่ชัดแจ้งมาเป็นมูลเหตุแห่งการคัดค้านการ เลือกตั้ง และที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวมาในคำร้องคัดค้าน การเลือกตั้งว่าผู้คัดค้านที่ 1 และนายอำเภอจตุรพักตรพิมาน กับพวกร่วมกันไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และขัดขวางมิให้การเป็นไป ตามกฎหมายด้วยการทำลายครั่งทับรูกุญแจเปิดหีบบัตรเลือกตั้ง 14 หีบ เพื่อแก้ไขและเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงรายงานแสดงผลของ การนับคะแนนที่บรรจุในหีบบัตรเลือกตั้งจำนวน 14 หีบ ดังกล่าว นั้น ผู้ร้องทั้งสองก็ควรที่จะได้กล่าวโดยละเอียดว่าเดิม ผลของการนับคะแนน (ส.ส.5) ที่บรรจุในหีบบัตรเลือกตั้ง แต่ละหีบคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องที่ 2 มีจำนวน เท่าใด เมื่อมีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นผลให้จำนวน คะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องที่ 2 เพิ่มขึ้นคนละ เท่าใดอันเป็นสาระสำคัญที่จะทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 เข้าใจ ข้อหาได้ดี แต่ก็มิได้กล่าวไว้ คำร้องของผู้ร้องทั้งสอง จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติคณะกรรมการและคำสั่งเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
การประกอบการขนส่งทางบกมีบทกฎหมายแยกแยะประเภทของการขนส่ง การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การอนุมัติเงื่อนไขในการประกอบการขนส่งที่ต้องระบุในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไว้ตามลำดับความสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเป็นการประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร หรือการขนส่งระหว่างจังหวัดหรือเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ เป็นอำนาจของนายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตตามมาตรา 30ส่วนการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในแต่ละจังหวัดรวมทั้งการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กนั้นเป็นอำนาจของนายทะเบียนประจำจังหวัดนั้น ๆ ตามมาตรา 30 โดยให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33เว้นแต่การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางเท่านั้นที่นอกจากจะให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 31 แล้ว ยังต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสอง อีกด้วย เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช พิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์และของผู้ยื่นคำขอรายอื่นที่ยื่นไว้ภายในกำหนดทุกรายแล้วเห็นว่า โจทก์เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและตามหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่กรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ จึงเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แล้วนำเรื่องการขออนุญาตพร้อมความเห็นที่ควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่ออนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 33 คณะกรรมการดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 ประกอบด้วยมาตรา 33 เฉพาะที่เกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กย่อมมีอำนาจเพียงเฉพาะอนุมัติเงื่อนไขที่เกี่ยวกับจำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง ฯลฯ ไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33 เท่านั้นหามีอำนาจที่จะลงมติออกใบอนุญาตหรือไม่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือลงมติยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 5ได้พิจารณาและลงความเห็นว่าสมควรออกใบอนุญาตให้แก่โจทก์ผู้ยื่นคำขอจนเสร็จไปแล้ว หรือลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าสมควรที่จะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรายใดอันเป็นการขัดต่อบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจไว้หาได้ไม่ เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมติให้ยกเลิกมติที่ประชุมที่ได้ลงผิดไปเกี่ยวกับการยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ โดยให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ยังคงมีผลในการพิจารณาต่อไปจึงเท่ากับว่าคำขออนุญาตของโจทก์และความเห็นของจำเลยที่ 5ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์นั้น ยังคงมีผลอยู่ตามเดิม จึงชอบที่จำเลยทั้งห้าในฐานะคณะกรรมการดังกล่าวจำต้องปฏิบัติตามต่อไปด้วย พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 33หรือหากเห็นว่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่จะใช้ในการกำหนดเงื่อนไขไม่พอเพียงก็ชอบที่จะเลื่อนการพิจารณากำหนดเงื่อนไขออกไปเพื่อให้จำเลยที่ 5 หามาเพิ่มเติมได้และเมื่อมีการอนุมัติเงื่อนไขแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ซึ่งหากได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องขวนขวายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ถ้าโจทก์ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้องจำเลยที่ 5 โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ได้ตามมาตรา 46 การที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่าคำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์มีรถซ้ำซ้อนคันกัน ไม่แน่ว่าโจทก์จะรวมรถได้จริงทั้ง ๆ ที่ในประกาศรับคำขอก็มิได้กำหนดจำนวนที่จะมีใช้ในการประกอบการขนส่งว่าจะต้องใช้รถทั้งหมดกี่คันและคำขอทุกรายก็มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับรถซ้อนคันกันเช่นเดียวกันแล้วด่วนยกขึ้นเป็นสาเหตุลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปทบทวนความเห็นที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เสียใหม่ โดยที่ยังไม่มีการกำหนดจำนวนรถเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตให้โจทก์จำต้องปฏิบัติตาม จึงนอกจากจะไม่เป็นสาระสำคัญในชั้นพิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งเพราะอาจจะกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตดังกล่าวแล้วยังเป็นการก้าวล่วงเข้าไปชี้นำการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดโดยตรงตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 30และมาตรา 33 อันเป็นการกระทำที่เกินขอบอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดที่บัญญัติให้อำนาจไว้ในมาตรา 20 และมาตรา 33 อีกด้วย มติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่กำหนดเงื่อนไขในการที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แต่มีมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตรายใด จึงเป็นมติที่ไม่ชอบ การที่จำเลยที่ 5 กลับความเห็นเดิมแล้วมีความเห็นใหม่กลายเป็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์เพราะผลของการประชุมของคณะกรรมการที่พยายามจะให้จำเลยที่ 5 ยกเลิกหรือทบทวนความเห็นเกี่ยวกับคำขอของโจทก์เป็นความเห็นและคำสั่งที่ปราศจากหลักเกณฑ์และเหตุผล ไม่มีกฎหมายให้อำนาจจำเลยที่ 5 ทำให้ถึงเพียงนั้น เป็นการไม่ให้ความคุ้มครองและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ควรเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดีกว่าบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือที่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งภายในเวลาที่ทางราชการประกาศกำหนด และแม้จะยังไม่ได้ชื่อว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยสมบูรณ์ แต่โจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่าผู้อื่นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ลงมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจารณาทบทวนความเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขอรายใด และย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5 ที่ให้ยกเลิกคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์โดยไม่ชอบนั้นเสียได้ และมีผลทำให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์พร้อมด้วยความเห็นของจำเลยที่ 5 ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ยังมีผลอยู่ตามเดิม เป็นอำนาจหน้าที่ของขนส่งจังหวัดในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดจะพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 33 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการออกใบอนุญาตขนส่งทางบก: บทบาทนายทะเบียนกลาง/ประจำจังหวัด และขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
การประกอบการขนส่งทางบกมีบทกฎหมายแยกแยะประเภทของการขนส่ง การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การอนุมัติเงื่อนไขในการประกอบการขนส่งที่ต้องระบุในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไว้ตามลำดับความสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเป็นการประกอบการขนส่งในกรุงเทพ-มหานคร หรือการขนส่งระหว่างจังหวัด หรือเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ เป็นอำนาจของนายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตตามมาตรา 30 ส่วนการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในแต่ละจังหวัดรวมทั้งการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กนั้น เป็นอำนาจของนายทะเบียนประจำจังหวัดนั้น ๆ ตามมาตรา 30 โดยให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33 เว้นแต่การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางเท่านั้นที่นอกจากจะให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 31 แล้ว ยังต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสอง อีกด้วย
เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดนครศรีธรรรมราชพิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์และของผู้ยื่นคำขอรายอื่นที่ยื่นไว้ภายในกำหนดทุกรายแล้วเห็นว่า โจทก์เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและตามหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่กรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด จึงเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แล้วนำเรื่องการขออนุญาตพร้อมความเห็นที่ควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่ออนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33คณะกรรมการดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 ประกอบด้วยมาตรา 33 เฉพาะที่เกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กย่อมมีอำนาจเพียงเฉพาะอนุมัติเงื่อนไขที่เกี่ยวกับจำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถ เครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง ฯลฯไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33 เท่านั้น หามีอำนาจที่จะลงมติออกใบอนุญาตหรือไม่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือลงมติยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้พิจารณาและลงความเห็นว่าสมควรออกใบอนุญาตให้แก่โจทก์ผู้ยื่นคำขอจนเสร็จไปแล้ว หรือลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าสมควรที่จะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรายใดอันเป็นการขัดต่อบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจไว้หาได้ไม่
เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมติให้ยกเลิกมติที่ประชุมที่ได้ลงผิดไปเกี่ยวกับการยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ โดยให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ยังคงมีผลในการพิจารณาต่อไป จึงเท่ากับว่าคำขออนุญาตของโจทก์และความเห็นของจำเลยที่ 5 ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์นั้น ยังคงมีผลอยู่ตามเดิม จึงชอบที่จำเลยทั้งห้าในฐานะคณะกรรมการดังกล่าวจำต้องปฏิบัติตามต่อไปตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33 หรือหากเห็นว่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่จะใช้ในการกำหนดเงื่อนไขไม่พอเพียงก็ชอบที่จะเลื่อนการพิจารณากำหนดเงื่อนไขออกไปเพื่อให้จำเลยที่ 5 หามาเพิ่มเติมได้และเมื่อมีการอนุมัติเงื่อนไขแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ซึ่งหากได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องขวนขวายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ถ้าโจทก์ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยที่ 5 โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ได้ตามมาตรา 46
การที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่าคำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์มีรถซ้ำซ้อนคันกัน ไม่แน่ว่าโจทก์จะรวมรถได้จริง ทั้ง ๆ ที่ในประกาศรับคำขอก็มิได้กำหนดจำนวนรถที่จะใช้ในการประกอบการขนส่งว่าจะต้องใช้รถทั้งหมดกี่คันและคำขอทุกรายก็มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับรถซ้อนคันกันเช่นเดียวกัน แล้วด่วนยกขึ้นเป็นสาเหตุลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปทบทวนความเห็นที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เสียใหม่ โดยที่ยังไม่มีการกำหนดจำนวนรถเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตให้โจทก์จำต้องปฏิบัติตาม จึงนอกจากจะไม่เป็นสาระสำคัญในชั้นพิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งเพราะอาจจะกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการก้าวล่วงเข้าไปชี้นำการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดโดยตรงตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 30และมาตรา 33 อันเป็นการกระทำที่เกินขอบอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดที่บัญญัติให้อำนาจไว้ในมาตรา 20 และมาตรา 33อีกด้วย มติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่กำหนดเงื่อนไขในการที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แต่มีมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตรายใด จึงเป็นมติที่ไม่ชอบ
การที่จำเลยที่ 5 กลับความเห็นเดิมแล้วมีความเห็นใหม่กลายเป็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์เพราะผลของการประชุมของคณะกรรมการที่พยายามจะให้จำเลยที่ 5 ยกเลิกหรือทบทวนความเห็นเกี่ยวกับคำขอของโจทก์เป็นความเห็นและคำสั่งที่ปราศจากหลักเกณฑ์และเหตุผล ไม่มีกฎหมายให้อำนาจจำเลยที่ 5 ทำได้ถึงเพียงนั้น เป็นการไม่ให้ความคุ้มครองและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ควรเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดีกว่าบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือที่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งภายในเวลาที่ทางราชการประกาศกำหนด และแม้จะยังไม่ได้ชื่อว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยสมบูรณ์ แต่โจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่าผู้อื่นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ลงมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจารณาทบทวนความเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขอรายใด และย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5 ที่ให้ยกเลิกคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์โดยไม่ชอบนั้นเสียได้ และมีผลทำให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์พร้อมด้วยความเห็นของจำเลยที่ 5 ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ยังมีผลอยู่ตามเดิม เป็นอำนาจหน้าที่ของขนส่งจังหวัดในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดจะพิจารณาดำเนินการตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาให้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร 16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาต ทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้ว ดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต
เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน เป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42
จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า ให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่า กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลฎีกายืนคำพิพากษาให้รื้อถอน
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาให้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทแล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่ จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาตทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้วดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่าง อันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า10 เมตร ทุกด้านเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้านซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินแล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่าให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่ากรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยริบของกลาง เหตุโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ ส่วนประเด็นละเมิดลิขสิทธิ์ศาลแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวัสดุโทรทัศน์ได้ร่วมกันมีวิดีโอเทปภาพยนตร์เรื่องมังกรหยกจำนวน 12 ม้วน ซึ่งจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมกับวิดีโอเทปเรื่องอื่น ๆ อีกจำนวน 472 ม้วน ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจเทปและวัสดุโทรทัศน์ไว้ในสถานที่ประกอบกิจการของตน ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 35 และขอให้ริบเฉพาะวิดีโอเทปเรื่องอื่น ๆ ดังกล่าวจำนวนเพียง472 ม้วน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ให้ริบวิดีโอเทปของกลางทั้งหมดจำนวน484 ม้วน จำเลยอุทธรณ์ว่า ของกลางที่โจทก์อ้างว่ามิได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากเจ้าพนักงานนั้น เป็นเพียงมิได้เสนอให้เจ้าพนักงานตรวจเสียก่อนตามขั้นตอนเท่านั้นหากวิดีโอเทปดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของเจ้าพนักงาน ก็อาจได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานก็ได้ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็น ไม่สมควรริบ และต้องคืนของกลางแก่จำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าวีดีโอเทปของกลางทั้งหมดจำนวน 484 ม้วน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงาน และจำเลยเป็นเพียงผู้ดูแลหรือลูกจ้างของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิดีโอเทปจำนวน 484 ม้วน ไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) ศาลจึงไม่ริบจึงเป็นการวินิจฉัยนอกหรือเกินไปกว่าที่กล่าวไว้ในอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ชอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 นอกจากนี้เมื่อปรากฏว่าในชั้นพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบว่า เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยให้การปฏิเสธ และจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความต่อสู้ว่าด.เป็นเจ้าของวิดีโอเทปของกลางทั้งหมด จำเลยไม่ใช่เจ้าของวิดีโอเทปดังกล่าวและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิดีโอเทปของกลาง เช่นนี้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่จำเลย และกรณีเช่นว่านี้ศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และข้ออุทธรณ์ของจำเลยย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อให้ริบของกลางตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 และ ป.วิ.อ.มาตรา195 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยนำเอาวิดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจำนวน 12 ม้วน ออกโฆษณา ขายเสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าเพื่อการค้า และขอให้พิพากษาให้วิดีโอเทปของกลางดังกล่าวตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยโจทก์ไม่ได้ขอริบนั้น เมื่อไม่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวิดีโอเทปของกลางดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม และศาลชั้นต้นไม่พิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นกลับไปพิพากษาให้ริบวิดีโอเทปของกลาง เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ และเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นไม่ริบวิดีโอเทปของกลางนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนต้องคำนึงถึงราคาตลาด สภาพที่ดิน และวัตถุประสงค์การเวนคืน
การพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน นอกจากจะคำนึงถึงราคาประเมินของกรมที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วยังจะต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)(4) และ (5) ประกอบ การพิจารณาด้วย สำหรับราคาที่ดินซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด คดีนี้ โจทก์นำสืบว่าที่ดินของโจทก์ขณะถูกเวนคืนมีการซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละ 5,000 บาท ก็มีแต่คำเบิกความของโจทก์ลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุน จึงไม่น่าเชื่อว่าในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ใช้บังคับ ที่ดินของโจทก์จะมีราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละ 5,000 บาทและเมื่อพิจารณาถึงสภาพและที่ตั้งของที่ดินโฉนดแล้ว ก็ได้ความว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่มา มีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และอยู่ห่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 ประมาณ3 ถึง 4 กิโลเมตร จะออกสู่ทางสาธารณะได้ต้องผ่านที่ดินของผ.บิดาโจทก์ไปออกถนนกรมชลประทานเลียบประตูน้ำพระอุดมไปทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 แต่ภายหลังการเวนคืนและสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 แล้ว แม้ที่ดินส่วนที่เหลือจะยังถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบอยู่ แต่ก็อยู่ห่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 เพียง 100 เมตร เห็นได้ว่าโดยสภาพแล้วที่ดิน ของโจทก์ส่วนที่เหลือย่อมมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอนซึ่งโจทก์เองก็ยอมรับว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือหลังจากเวนคืนแล้ว มีผู้มาขอซื้อในราคา 15,000,000 บาท แสดงว่าโจทก์ได้ประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าเสียประโยชน์ ส่วนที่โจทก์ขอให้กำหนดค่าทดแทนตารางวาละ 1,000 บาท เท่ากับของ ส. นั้นก็ได้ความว่าที่ดินโจทก์ห่างที่ดิน ส. ประมาณ 1 กิโลเมตรต่างก็เป็นที่นา แต่ที่ดิน ส.อยู่ติดถนนเกษตรอุดม มีไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าถึง ที่ดินส่วนที่ติดถนนเกษตรอุดม จำเลยที่ 2จ่ายค่าทดแทนให้ตารางวาละ 3,000 บาท ที่ดินส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปจ่ายค่าทดแทนให้ตารางวาละ 1,000 บาท แต่ที่ดินโจทก์ถูกปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไฟฟ้าและน้ำประปาก็เข้าไม่ถึง ดังนั้นสภาพความเจริญและที่ตั้งของที่ดิน ส. จึงดีกว่าที่ดินโจทก์ ไม่อาจกำหนดให้เท่ากันได้ และเนื่องจากเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนครั้งนี้เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 สายถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันตก อันเป็นการอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมิได้มีการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ตารางวาละ 400 บาทก็ได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21(1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารผิดแบบ และการมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 และ42 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และตามมาตรา 4 เจ้าพนักงานท้องถิ่นหมายความว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครเมื่ออาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 และ 42ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้ และเนื่องจากมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน และได้ประกาศคำสั่งในกรุงเทพกิจจานุเบกษาแล้ว ผู้อำนวยการเขตพระนครจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตพระนครมาลงชื่อในสมุดลงเวลาทำการในตอนเช้าแล้วไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการที่สำนักงานเขตพระนคร กรณีจึงถือได้ว่าในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนครและเป็นผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตพระนครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 84 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 นั้น นอกจากจะคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึงแผนผัง บริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนเพียง 4 ชั้น แต่กลับก่อสร้างเป็นอาคารถึง 6 ชั้น จึงเป็นการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31และเมื่อเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้ก่อสร้างเป็นอาคาร 6 ชั้น ตามที่ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 (1)(2) และ (3) ได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ได้
ตามแผนผังบริเวณของอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจะต้องมีที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินด้านหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง2 เมตร และด้านหลังของอาคารก็ไม่มีการก่อสร้างเชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.เพราะเป็นการก่อสร้างแยกต่างหากอาคารเดิมของบริษัท ต. การที่โจทก์ฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อกันปกคลุมที่ว่างด้านหลังโดยไม่หลบเขตเป็นทางเดินด้านหลังอาคารกว้าง 2 เมตร จึงขัดกับมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ทั้งยังขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ด้วย จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมที่ว่างทางเดินหลังอาคารทั้งหมดได้
อาคารที่ก่อสร้างตามใบอนุญาตที่ พ.28/2525 ซึ่งก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6139 และโฉนดที่ดินเลขที่ 6298 โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ซื้อมาจาก บ. ที่ดินดังกล่าวทางทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 156, 157 และทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินแปลงนี้ได้แบ่งแยกออกเป็นที่ดินแปลงย่อยอีก 6 แปลงซึ่งทางทิศเหนือของที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 6137 และ6138 ก็อยู่ติดทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 ถูกแบ่งแยกออกเป็น2 แปลงอีก คือที่ดินแปลงทางทิศใต้โฉนดที่ดินเลขที่ 6298 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่6138 (แปลงคงเหลือ) เป็นที่ดินแปลงทางทิศเหนือเนื้อที่ 0.4 ตารางวา ซึ่งยังติดทางสาธารณะอยู่เช่นเดิม ถัดจากทางสาธารณะขึ้นไปทางทิศเหนือจะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 1184 เลขที่ดิน 21 พร้อมอาคารของโจทก์ ซึ่งทางทิศตะวันออกจะติดกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ก่อสร้างอาคารของโจทก์ให้เชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6298 ปกคลุมที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 และทางสาธารณะด้วย เพื่อให้ไปเชื่อมต่อกับอาคารบนที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 1184 และอาคารของบริษัท ต.ให้เป็นอาคารเดียวกัน ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 69เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์รื้อถอนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางสาธารณะจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 50 กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพ-มหานคร และในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 40 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่29 กันยายน 2515 มีคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยฝ่ายบริหารปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และปลัดกระทรวงมหาดไทยยังมีคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร ดังนั้น จำเลยที่ 3ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวง-มหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานครคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
of 94