คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม มั่งมีดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 940 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเวนคืน-การแก้ไขราคา-ดอกเบี้ย กรณีประกาศ คสช.แก้ไขกฎหมายเวนคืน
การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534ได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิขึ้นโดยให้อำนาจในกรณีที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 เห็นว่าเมื่อคณะกรรมการได้ประกาศราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่จะเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนแล้วถ้าปรากฏว่าราคาของที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ และราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าหน้าที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 หรือราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการได้กำหนดและประกาศไปแล้วตามมาตรา 9 ก่อให้เกิด ความไม่เป็นธรรมแก่บุคคลตามมาตรา 18 รัฐมนตรีโดยอนุมัติ ของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือ คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไข ราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดิน เสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้น ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9แล้วแต่กรณี ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดย อนุมัติของคณะรัฐมนตรีได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ถูกเวนคืนใหม่ เงินค่าทดแทนที่ดินของผู้ถูกเวนคืนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดใหม่นี้จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 หากผู้ถูกเวนคืน โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งการที่ผู้ถูกเวนคืนได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ยังวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืนไม่เสร็จ ผู้ถูกเวนคืนย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายเช็ค-ใบเสร็จผูกพันนายจ้าง: ความรับผิดร่วมกันกรณีพนักงานยักยอกเงิน
จำเลยที่ 1 จัดพิมพ์ตราไปรษณียากรที่ระลึกเพื่อการสะสมออกจำหน่ายโดยมีจำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1มีหน้าที่จำหน่ายและรับสั่งจองจากผู้ซื้อ โจทก์ติดต่อสั่งจองซื้อจากจำเลยที่ 2 และมอบเช็คเงินสดให้จำเลยที่ 2แม้โจทก์สั่งจ่ายเช็คเงินสดให้แก่ผู้ถือแทนที่จะสั่งจ่ายเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จะผิดระเบียบ แต่ถ้าผู้รับสั่งจองคือจำเลยที่ 2 นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ก็จะจัดส่งตราไปรษณียากรที่ระลึกให้โจทก์ ปัญหาจึงเกิดจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงิน จึงปฎิเสธการกระทำของจำเลยที่ 2หากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินก็จะไม่ปฎิเสธโดยอ้างว่าเป็นใบเสร็จรับเงินปลอมหรือจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนืออำนาจเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบระเบียบแล้วจงใจฝ่าฝืน โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการสั่งซื้อ เหตุเกิดจากจำเลยที่ 1มิได้ควบคุมดูแลการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเช็คที่รับไว้ไปเรียกเก็บเงินและนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ถือเอาการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการผิดระเบียบหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 รับสั่งจองซื้อและรับเช็คเงินสดจากโจทก์จึงเป็นการปฎิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 โดยชอบมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2รับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนโบราณสถาน แม้ผู้ขอประทานบัตรไม่ทราบ ก็ชอบด้วยกฎหมาย
การที่กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ได้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทให้แก่ผู้ขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2479 และปี 2480 และไม่ทราบว่าบริเวณเทือกเขาสมอคอนอันเป็นที่ตั้งของประทานบัตรของโจทก์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบร่วมกันไปตรวจหาข้อเท็จจริง และแม้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 กรมศิลปากรที่ 3 และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ 4 เคยไปตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนออกประทานบัตรแล้วแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาททราบข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทของโจทก์ซึ่งรับโอนประทานบัตรมาจากผู้ขอประทานบัตรโดยอ้างว่าประทานบัตรของโจทก์อยู่ในบริเวณที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผู้ขอประทานบัตรเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ พื้นที่คำขอประทานบัตรไม่ตรงต่อความจริงโดยรายงานว่าบริเวณที่ทำเหมืองหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณวัตถุเป็นเหตุให้มีการออกประทานบัตรโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและชอบด้วยข้อเท็จจริงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิแห่ง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 สั่งเพิกถอนประทานบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนประทานบัตรของจำเลยที่ 1และแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าบริเวณพื้นที่ที่ได้รับประทานบัตรนั้นอยู่ในบริเวณซึ่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณวัตถุ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่ได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510มาตรา 9 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่เนื่องจากข้อเท็จจริงสำคัญเปลี่ยนแปลง และผู้ขอประทานบัตรรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ตรงตามความเป็นจริง
การที่กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ได้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทให้แก่ผู้ขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง กับโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2479และปี 2480 และไม่ทราบว่าบริเวณเทือกเขาสมอคอนอันเป็นที่ตั้งของประทานบัตรของโจทก์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงได้มีคำสั่ง ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบร่วมกันไปตรวจหาข้อเท็จจริง และแม้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 กรมศิลปากร ที่ 3 และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ 4 เคยไปตรวจสอบ ข้อเท็จจริงก่อนออกประทานบัตรแล้วแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้ออกประทานบัตรเหมืองแร่ พิพาททราบข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทของโจทก์ ซึ่งรับโอนประทานบัตรมาจากผู้ขอประทานบัตรโดยอ้างว่า ประทานบัตรของโจทก์อยู่ในบริเวณที่มีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผู้ขอประทานบัตร เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ พื้นที่ คำขอประทานบัตรไม่ตรงต่อความจริงโดยรายงานว่าบริเวณที่ ทำเหมืองหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณวัตถุเป็นเหตุให้มีการออกประทานบัตรโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญจึงเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและชอบด้วยข้อเท็จจริงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 สั่งเพิกถอน ประทานบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายที่กล่าวอ้างแล้ว แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนประทานบัตร ของจำเลยที่ 1 และแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าบริเวณพื้นที่ ที่ได้รับประทานบัตรนั้นอยู่ในบริเวณซึ่งมีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณวัตถุ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่ได้ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 9 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาซื้อขายที่ดิน: การลดเบี้ยปรับให้เหมาะสมกับความเสียหายจริงและพิจารณาจากราคาที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันตกลงทำหนังสือสัญญา จะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์และตกลง รับเป็นผู้จัดหาที่ดิน หรือจะกระทำโดยวิธีการใดก็ตามให้โจทก์ ได้ซื้อและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในที่ดินของบุคคลอื่นอีกด้วย โดยจำเลยทั้งสองจะขายที่ดิน และจัดหาที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินจำนวน 38 แปลง ตามฟ้องจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงส่วนนั้นตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองคงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าโจทก์เป็นฝ่ายประพฤติผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียวโดยอ้างเหตุต่าง ๆ มาในคำให้การ และว่าเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิปรับเอาแก่จำเลยทั้งสองคดีตามคำฟ้องและคำให้การในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทจึงคงมีประเด็นแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินอีก 47 แปลงที่เหลือหรือไม่เท่านั้น และคดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเดียวกันหรือแยกออกเป็นสองสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และการบอกเลิกสัญญา ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาทั้งหมดอันเป็นผล ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่เป็นประเด็นข้อพิพาท และขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองยอมรับแล้วไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจัดหาที่ดินตามฟ้อง และโจทก์ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามสัญญาและเรียกเบี้ยปรับในส่วนที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินจำนวน 47 แปลง จากบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อครบถ้วนตามสัญญาโดยโจทก์ได้เลิกสัญญาในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะ บังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามที่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ และมอบเอกสารสิทธิ เกี่ยวกับที่ดินไว้แก่โจทก์แล้วได้ แต่โจทก์ต้องชำระเงิน ค่าที่ดินส่วนที่ขาดแก่จำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่จำเลยทั้งสองตกลงจัดหาที่ดินของบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อรวม 47 แปลงแต่ไม่สามารถจัดหาได้ครบและโจทก์ได้เลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการใช้สิทธิเลิกสัญญาของโจทก์ในส่วนนี้หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสี่ และแม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินฉบับพิพาทได้ตกลงให้ชำระเบี้ยปรับเป็นรายแปลง แปลงละ 600,000 บาท โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเบี้ยปรับ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ก็ตามแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวน พอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่าง อันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน" เมื่อเบี้ยปรับตามสัญญาโจทก์คิดคำนวณผลกำไรที่จะได้จาก การประกอบกิจการเลี้ยงโคหรือถ้าขายที่ดินก็จะได้กำไร จากการขายที่ดิน ความเสียหายจากการที่ต้องเสียเงินเช่าที่ดิน ทำคอกกักโค ค่าลงทุนทำรั้ว ไถดิน ปลูกหญ้า สร้างโรงพยาบาลสัตว์ในที่ดินที่เช่า และต้องเสียค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งค่าเสียหายจากการที่โจทก์ได้สั่งซื้อโคจากต่างประเทศ แต่ได้ระงับการนำโคเข้าประเทศเนื่องจากไม่มีสถานที่เลี้ยง ทำให้ผู้ขายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์นั้น ล้วนเป็นการ ที่โจทก์คาดคะเนและเป็นค่าเสียหายที่ห่างไกลจาก การผิดสัญญาของจำเลยทั้งสอง ส่วนที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ย ให้แก่ธนาคารจากต้นเงินที่โจทก์นำมาชำระค่าที่ดิน ให้แก่จำเลยทั้งสองก็มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้น จากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา ดังนี้เมื่อค่าเสียหาย ที่โจทก์นำสืบนั้นยังไม่แน่นอนและในการกำหนดเบี้ยปรับ ที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระตามสัญญานั้น มิได้มีเกณฑ์แน่นอน หรือน่าเชื่อถือ แต่เป็นการคาดคะเน ศาลจึงไม่กำหนดให้ จำเลยทั้งสองชำระเบี้ยปรับตามสัญญา แต่การที่จำเลยทั้งสอง มิได้จัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์ย่อมเสียหาย และเมื่อศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับ จึงให้นำเงินค่าปรับ ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวมาหักออกจาก เงินที่โจทก์ต้องชำระเป็นค่าที่ดินของจำเลยทั้งสองที่ขาดอีก พร้อมกับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินนั้นนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดินและจัดหาที่ดิน ศาลลดเบี้ยปรับเกินส่วนและหักกลบกับค่าที่ดินค้างชำระ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันตกลงทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์และตกลงรับเป็นผู้จัดหาที่ดิน หรือจะกระทำโดยวิธีการใดก็ตามให้โจทก์ได้ซื้อและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินของบุคคลอี่นอีกด้วย โดยจำเลยทั้งสองจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท จำเลย-ทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินจำนวน 38 แปลง ตามฟ้องจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงส่วนนั้นตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองคงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าโจทก์เป็นฝ่ายประพฤติผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว โดยอ้างเหตุต่าง ๆ มาในคำให้การ และว่าเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิปรับเอาแก่จำเลยทั้งสอง คดีตามคำฟ้องและคำให้การในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทจึงคงมีประเด็นแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินอีก 47 แปลง ที่เหลือหรือไม่เท่านั้น และคดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเดียวกันหรือแยกออกเป็นสองสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาทั้งหมดอันเป็นผลให้โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่เป็นประเด็นข้อพิพาท และขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองยอมรับแล้ว ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจัดหาที่ดินตามฟ้อง และโจทก์ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน30 แปลง ตามสัญญา และเรียกเบี้ยปรับในส่วนที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินจำนวน47 แปลง จากบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อครบถ้วนตามสัญญาโดยโจทก์ได้เลิกสัญญาในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามที่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ และมอบเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินไว้แก่โจทก์แล้วได้ แต่โจทก์ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่ขาดแก่จำเลยทั้งสอง
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่จำเลยทั้งสองตกลงจัดหาที่ดินของบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อรวม 47 แปลง แต่ไม่สามารถจัดหาได้ครบและโจทก์ได้เลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการใช้สิทธิเลิกสัญญาของโจทก์ในส่วนนี้หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสี่ และแม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินฉบับพิพาทได้ตกลงให้ชำระเบี้ยปรับเป็นรายแปลง แปลงละ 600,000 บาท โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ก็ตามแต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน..." เมื่อเบี้ยปรับตามสัญญาโจทก์คิดคำนวณผลกำไรที่จะได้จากการประกอบกิจการเลี้ยงโคหรือถ้าขายที่ดินก็จะได้กำไรจากการขายที่ดิน ความเสียหายจากการที่ต้องเสียเงินเช่าที่ดินทำคอกกักโค ค่าลงทุนทำรั้ว ไถดิน ปลูกหญ้า สร้างโรงพยาบาลสัตว์ในที่ดินที่เช่า และต้องเสียค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งค่าเสียหายจากการที่โจทก์ได้สั่งซื้อโคจากต่างประเทศ แต่ได้ระงับการนำโคเข้าประเทศเนื่องจากไม่มีสถานที่เลี้ยง ทำให้ผู้ขายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์นั้น ล้วนเป็นการที่โจทก์คาดคะเนและเป็นค่าเสียหายที่ห่างไกลจากการผิดสัญญาของจำเลยทั้งสอง ส่วนที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารจากต้นเงินที่โจทก์นำมาชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองก็มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา ดังนี้เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์นำสืบนั้นยังไม่แน่นอนและในการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระตามสัญญานั้น มิได้มีเกณฑ์แน่นอนหรือน่าเชื่อถือ แต่เป็นการคาดคะเน ศาลจึงไม่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระเบี้ยปรับตามสัญญา แต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์ย่อมเสียหาย และเมื่อศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับ จึงให้นำเงินค่าปรับที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวมาหักออกจากเงินที่โจทก์ต้องชำระเป็นค่าที่ดินของจำเลยทั้งสองที่ขาดอีก พร้อมกับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินนั้นนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบูรณะสะพานเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ แม้ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ไม่ถือเป็นการละเมิด
สะพาน น.เป็นสะพานที่ก่อสร้างและเปิดใช้การมานานประมาณ50 ปีแล้ว มีความชำรุดเสื่อมโทรมมากจนอาจจะเกิดอันตรายต่อบุคคลผู้ใช้ยานพาหนะและแก่ประชาชนทั่วไปผู้ใช้สัญจรไปมา การที่กรุงเทพมหานครจำเลยดำเนินการบูรณะและซ่อมแซมสะพานดังกล่าวตามหลักวิชาการ เพื่อให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ใช้ยานพาหนะและแก่ประชาชนทั่วไปให้ได้รับความปลอดภัย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการบำรุงรักษาสะพานซึ่งเป็นทางสัญจรทางบกอันเป็นอำนาจและหน้าที่ของจำเลย ตามที่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 89 (6) บัญญัติไว้ แม้การก่อสร้างนั้นจะทำให้บันไดทางขึ้นลงสะพานต้องเปลี่ยนจากแนวเดิมเป็นแนวใหม่ทอดยาวไปตามถนนเกือบสุดแนวตึกแถวหรือร้านค้าของโจทก์ และทำให้สะพานกับเสาสะพานปิดบังหน้าร้านค้าของโจทก์ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายบ้างก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่มีกฎหมายรับรองให้กระทำได้ จำเลยมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยผิดกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบูรณะสะพานของกรุงเทพมหานครไม่เป็นละเมิด แม้จะกระทบต่อทรัพย์สินของประชาชน หากเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่และกฎหมาย
สะพาน น.เป็นสะพานที่ก่อสร้างและเปิดใช้การมานานประมาณ 50 ปีแล้ว มีความชำรุดเสื่อมโทรมมากจนอาจจะเกิด อันตรายต่อบุคคลผู้ใช้ยานพาหนะและแก่ประชาชนทั่วไปผู้ใช้สัญจรไปมา การที่กรุงเทพมหานครจำเลยดำเนินการบูรณะ และซ่อมแซมสะพานดังกล่าวตามหลักวิชาการ เพื่อให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ใช้ยานพาหนะและแก่ประชาชนทั่วไปให้ได้รับความปลอดภัย ถือได้ว่าการกระทำ ของจำเลยเป็นการบำรุงรักษาสะพานซึ่งเป็นทางสัญจรทางบกอันเป็นอำนาจและหน้าที่ของจำเลย ตามที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 89(6)บัญญัติไว้ แม้การก่อสร้างนั้นจะทำให้บันไดทางขึ้นลงสะพานต้องเปลี่ยนจากแนวเดิมเป็นแนวใหม่ทอดยาวไปตามถนนเกือบ สุดแนวตึกแถวหรือร้านค้าของโจทก์ และทำให้สะพานกับเสาสะพาน ปิดบังหน้าร้านค้าของโจทก์ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายบ้าง ก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่มีกฎหมาย รับรองให้กระทำได้ จำเลยมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ กระทำต่อโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยผิดกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท & การวินิจฉัยผิดสัญญา: ศาลฎีกาเน้นการพิสูจน์ฝ่ายผิดสัญญา & สิทธิของผู้เช่าที่ดิน
คชก.ตำบล ค. วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3ยังไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมาก ซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่ โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้ วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะ ฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิเช่าทำนา, การผิดสัญญา, และผลกระทบต่อการบังคับคดี
คชก.ตำบล ค.วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3 ยังไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 มาตรา 58
แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมากซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3 อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีก
of 94