พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ให้เช่าในการเข้ายึดคืนห้องเช่าเมื่อสัญญาครบกำหนดและผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญา
หนังสือสัญญาเช่าห้องพักระหว่างบ.ผู้เช่ากับจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าข้อ 3 ระบุว่า "ผู้เช่ายอมชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าภายในวันที่ 30 ของเดือนทุก ๆ เดือน ถ้าไม่ชำระตามกำหนดนี้ ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ายึดเงินประกันของผู้เช่าได้และใส่กุญแจห้องผู้เช่าก็ได้ หรือผู้เช่ายินยอมอนุญาตให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องเช่าได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ" ข้อ 9 ระบุว่า"ถ้าผู้เช่าประพฤติผิดล่วงละเมิดสัญญาแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใด หรือกระทำผิดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใด ยอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเข้ายึดครอบครองสถานที่และสิ่งที่เช่าได้โดยพลันและมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที" และข้อ 10 ระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าก็ดีหรือผู้เช่าผิดสัญญาเช่าก็ดี ผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่า" ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาและจำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าด้วยแล้ว บ.และผู้เสียหายซึ่งอยู่ในห้องพิพาทโดยอาศัยสิทธิ บ. ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในห้องพิพาทต่อไป เมื่อ บ. ไม่ยอมออกไปจากห้องพิพาทจำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิตามหนังสือสัญญาเช่าห้องพัก โดยเข้าไปในห้องพิพาทแล้วใช้คีมหนีบกุญแจลูกบิดประตู บานพับหน้าต่างถอดเอาสะพานไฟฟ้าและเครื่องรับโทรศัพท์ในห้องพิพาทออกไปจึงไม่มีมูลความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและการใช้สิทธิของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา การกระทำไม่มีความผิดทางอาญา
ตามหนังสือสัญญาเช่าห้องพัก ข้อ 3 ระบุว่า "ผู้เช่ายอมชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าภายในวันที่ 30 ของเดือนทุก ๆ เดือน ถ้าไม่ชำระตามกำหนดนี้ ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ายึดเงินประกันของผู้เช่าได้ และใส่กุญแจห้องผู้เช่าก็ได้หรือผู้เช่ายินยอมอนุญาตให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องเช่าได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ" ข้อ 9 ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าประพฤติผิดล่วงละเมิดสัญญาแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใด หรือกระทำผิดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใด ยอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเข้ายึดครอบครองสถานที่และสิ่งที่เช่าได้โดยพลันและมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที" และข้อ 10 ระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าก็ดี หรือผู้เช่าผิดสัญญาเช่าก็ดีผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่า" ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงใช้บังคับได้ บ.ผู้เช่าและจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าต้องปฏิบัติตามสัญญานี้ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาและจำเลยที่ 1ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่ บ.ด้วยแล้ว บ.และผู้เสียหายไม่มีสิทธิอยู่ในห้องพิพาทต่อไป เมื่อ บ.ไม่ยอมออกไปจากห้องพิพาท จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิตามหนังสือสัญญาเช่าห้องพักดังกล่าวได้ การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปในห้องพิพาทแล้วใช้คีมหนีบกุญแจลูกบิดประตูบานพับหน้าต่าง ถอดเอาสะพานไฟฟ้า และเครื่องรับโทรศัพท์ในห้องพิพาทออกไป จึงไม่มีมูลความผิดทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: ไม่เป็นคดีมรดกหรือเจ้าหนี้บังคับตามสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาตั้งแต่ปี 2503 สามีจำเลยไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) สำหรับที่ดินพิพาทในชื่อของสามีจำเลยในปี 2515ขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป และขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท ดังนี้ แม้โจทก์ฟ้องจำเลยหลังจากสามีจำเลยตายเกิน 1 ปี ฟ้องของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะไม่เป็นคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จะนำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดกและการตัดสิทธิทายาทโดยพินัยกรรม
ผู้ร้องทั้งสองเป็นบิดามารดาของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านที่ 1เป็นบุตรของผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร้างกันในเวลาต่อมาโดยตาย กับผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินร่วมกันจากนั้นผู้ตายถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับเงินรางวัลและผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง, ส.,ล., จ. และตั้งให้ผู้ร้องทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วมกันกับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 นั้น แม้จะเป็นบุตรที่ผู้ตายได้รับรองแล้วมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ถูกผู้ตายตัดมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรมประการหนึ่ง กับเมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้วถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกอีกประการหนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะมาร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: เงื่อนไขการริบเฉพาะสิ่งที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเสพและจำหน่ายเฮโรอีนโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ไซลิงค์พร้อมเข็มฉีดยาและเงินที่จำเลยทั้งสองได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 แห่งพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงไม่อาจริบได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5),246 และ 247 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาพิจารณาเฉพาะทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำผิดตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเสพและจำหน่ายเฮโรอีนโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ดังนี้ แม้เจ้าพนักงานจะจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมกับยึดได้เฮโรอีนจำนวน 115 หลอด ธนบัตรไทยชนิดต่าง ๆ จำนวน70,510 บาท และสมุดฝากเงินธนาคาร 2 แห่ง จำนวน 32,570.05 บาทกับไซลิงค์พร้อมเข็มฉีดยา 5 ชุด ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีน กับเป็นอุปกรณ์ในการเสพเฮโรอีนของจำเลยตามลำดับ แต่ไซลิงค์พร้อมเข็มฉีดยาและเงินดังกล่าวก็มิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษฯ แต่อย่างใด ไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาตัดสินว่าการริบต้องสอดคล้องกับบทฟ้องและวัตถุที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเสพและจำหน่ายเฮโรอีนโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ไซลิงค์พร้อมเข็มฉีดยาและเงินที่จำเลยทั้งสองได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงไม่อาจริบได้แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินก่อนประกาศเป็นป่าสงวน: จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อไปได้
จำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองอยู่ก่อนวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ท้องที่ซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่ภายในเขตเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยทั้งสองจึงยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินก่อนถูกกำหนดเป็นป่าสงวนฯ ยังคงมีผล แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
จำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองอยู่ก่อนวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ท้องที่ซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่ภายในเขตเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยทั้งสองจึงยังมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้องเรื่องตัวแทนเชิด และข้อจำกัดการฎีกาฟ้องขับไล่
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างใดและที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามยินยอมแสดงออกยอมรับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการกิจการเข้าหุ้นส่วนกันนั้น ก็มีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จำเลยทั้งสามเข้าหุ้นส่วนกันนั้นเท่านั้นมิได้หมายความว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3อีกด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามมิได้ตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับชำระราคาที่ดินและตึกแถวพิพาทนั้นจากโจทก์ครบถ้วนแล้วจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ และพิพากษาให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง