พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องเรื่องตัวแทนเชิดและการพิพากษาคดีนอกเหนือจากประเด็นที่ได้ยกขึ้นในฟ้อง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างใด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามยินยอมแสดงออกยอมรับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการกิจการเข้าหุ้นส่วนกันนั้น ก็มีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จำเลยทั้งสามเข้าหุ้นส่วนกันนั้นเท่านั้น มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2และที่ 3 อีกด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2และที่ 3 หรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามมิได้ตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับชำระราคาที่ดินและตึกแถวพิพาทนั้นจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว จะพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตน ขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้า: กำหนดเวลาจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญ หากไม่ทำตามสัญญาเป็นอันสิ้นสุด
หนังสือสัญญานายหน้ามีข้อความว่า "จึงมอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายในกำหนด7 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้ " ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" มีความหมายว่าเมื่อโจทก์ติดต่อหาผู้ซื้อได้แล้ว โจทก์ต้องจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนับแต่วันทำสัญญาด้วย กำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้าไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ผ่อนเวลาออกไปอีกแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ภายในกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันทำสัญญา ถือว่าสัญญาสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาในสัญญานายหน้าเป็นสาระสำคัญ สัญญาเป็นอันสิ้นสุดหากไม่จดทะเบียนภายในกำหนด
หนังสือสัญญานายหน้ามีข้อความว่า..."จึงมอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้..." ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว สัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" มีความหมายว่า เมื่อโจทก์ติดต่อหาผู้ซื้อได้แล้ว โจทก์ต้องจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนับแต่วันทำสัญญาด้วย กำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้าไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ผ่อนเวลาออกไปอีกแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ภายในกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันทำสัญญา ถือว่าสัญญาสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดผู้จัดการสาขาเบียดบังเงินฝากของลูกค้า: ความผิดหลายกรรม
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต เบียดบังยักยอกเงินของลูกค้าที่จำเลยรับฝากไว้แทนโจทก์ร่วม เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมโดยโจทก์ร่วมต้องใช้เงินให้แก่ลูกค้าไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ส่งสำเนาใบรับฝากเงิน เนื่องจากต้นฉบับหาไม่พบ ประกอบกับจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าสำเนาใบรับฝากเงินไม่ถูกต้องอย่างไร จึงรับฟังได้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับฝากเงินรวม 2 ครั้ง แล้วไม่นำเงินไปมอบให้พนักงานรักษาเงินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่รับฝากเงินและไม่ส่งมอบเงินแต่ละครั้งเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ส่งสำเนาใบรับฝากเงิน เนื่องจากต้นฉบับหาไม่พบ ประกอบกับจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าสำเนาใบรับฝากเงินไม่ถูกต้องอย่างไร จึงรับฟังได้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับฝากเงินรวม 2 ครั้ง แล้วไม่นำเงินไปมอบให้พนักงานรักษาเงินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่รับฝากเงินและไม่ส่งมอบเงินแต่ละครั้งเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของนายธนาคาร และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตเบียดบังยักยอกเงินของลูกค้าที่จำเลยรับฝากไว้แทนโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมโดยโจทก์ร่วมต้องใช้เงินให้แก่ลูกค้าไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย โจทก์ส่งสำเนาใบรับฝากเงิน เนื่องจากต้นฉบับหาไม่พบประกอบกับจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าสำเนาใบรับฝากเงินไม่ถูกต้องอย่างไร จึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 238 วรรคหนึ่ง จำเลยรับฝากเงินรวม 2 ครั้ง แล้วไม่นำเงินไปมอบให้พนักงานรักษาเงินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่รับฝากเงินและไม่ส่งมอบเงินแต่ละครั้งเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมที่ถูกข่มขู่ แต่ไม่บอกล้างภายในหนึ่งปี ย่อมมีผลผูกพัน และผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามไปด้วย
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์จะทำหนังสือให้ความยินยอมรับสภาพหนี้ที่ ธ. ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะถูกโจทก์ข่มขู่อันจะเป็นเหตุให้หนังสือให้ความยินยอมตกเป็นโมฆียะกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้บอกล้างหนังสือให้ความยินยอมภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หนังสือให้ความยินยอมย่อมมีผลใช้บังคับ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามที่ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมไว้ และเมื่อหนี้ตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระไว้เป็นการแน่นอน ทั้งการที่กำหนดให้โจทก์ไปดำเนินการเรียกร้องจาก ธ.และธนาคาร อ. ก่อน แล้วจำเลยที่ 1 จะชำระส่วนที่เรียกร้องไม่ได้ก็หาเป็นการที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้แต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมรั้วแนวเขตโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการขัดสิทธิเจ้าของร่วม
ที่ดินโจทก์ติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 รั้วพิพาทเป็นรั้วกั้นแนวเขตระหว่างที่ดินของบุคคลทั้งสอง โดยโจทก์และจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้สร้างขายพร้อมกับทำรั้วกั้นแนวเขตให้เช่นเดียวกับทาวน์เฮาส์หลังอื่น ๆที่อยู่ในแนวเดียวกัน ดังนั้นโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรั้วพิพาทรวมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 การที่ฝ่ายจำเลยต่อเติมรั้วพิพาทเป็นกำแพงหรือผนังของอาคารทำให้รั้วหมดสภาพไปย่อมเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ นอกจากนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 27 ก็ได้กำหนดไว้ว่า รั้วหรือกำแพงกั้นเขตให้ทำได้สูงเหนือระดับถนนสาธารณะไม่เกิน 3 เมตร ฝ่ายจำเลยได้ต่อเติมกำแพงรั้วสูงจากระดับรั้วเดิมมากอันเป็นการผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ารั้วพิพาทนอกจากใช้เพื่อเป็นแนวเขตแล้วยังสามารถใช้เป็นกำแพงหรือผนังอาคารได้ด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รั้วกั้นเขตและสิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ การต่อเติมรั้วผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิ
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารและที่ดินติดต่อกันโดยจำเลยที่ 3 ผู้ขายได้ทำรั้วกั้นแนวเขตไว้ให้โจทก์จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรั้วพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 การที่จำเลยที่ 1 ต่อเติมรั้วพิพาทเป็นกำแพงหรือผนังของอาคารสูงเกิน 3 เมตร ทำให้รั้วหมดสภาพไปย่อมเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 27จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ารั้วพิพาทนอกจากจะใช้เป็นแนวเขตแล้วยังสามารถใช้เป็นกำแพงหรือผนังอาคารได้ด้วยหาได้ไม่ จำเลยจึงต้องรื้อส่วนที่ต่อเติมออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิร่วมรั้วกั้นเขตที่ดิน การต่อเติมทำให้รั้วหมดสภาพละเมิดสิทธิ
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับที่ดินของจำเลย รั้วพิพาทเป็นรั้วกั้นแนวเขตระหว่างที่ดินของบุคคลทั้งสอง โดยโจทก์และจำเลยซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์ ซึ่งผู้ขายสร้างขายพร้อมทำรั้วกั้นแนวเขตให้ โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของรั้วพิพาทรวมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1344 การที่จำเลยต่อเติมรั้วพิพาทเป็นกำแพงหรือผนังของอาคารทำให้รั้วหมดสภาพไป ย่อมเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของนายกเทศมนตรีที่ไม่ฟ้องบังคับทายาทตามสัญญา ทำให้โจทก์ขาดสิทธิเรียกร้อง
บันทึกข้อตกลงที่ร.ยกที่ดินให้เทศบาลเมืองยโสธรโจทก์สร้างตลาดสดโดยมีข้อตกลงว่าร.จะสร้างอาคารพาณิชย์ให้เสร็จครบทุกหลังภายในกำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ และจะยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 2 คูหาโดยจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่สร้างตลาดสดเสร็จแล้วเปิดดำเนินการ แล้วโจทก์จะให้ร.เช่าอาคารพาณิชย์2 คูหา มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าคู่หาละ 200 บาท ต่อเดือนหากร.สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะต้องเสียค่าเช่าตามอัตราดังกล่าวแก่โจทก์มีกำหนด 12 ปี เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องให้บังคับกันได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และร. จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และร.ด้วย จำเลยที่ 1 ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่าร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฎิบัติ ต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจากส.จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1คงปล่อยปละละเลยเรื่องมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรมและจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2 ได้ไปทวงถามทายาทของร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคแรกบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ร.ถึงแก่กรรมแต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความจึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป