พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ใช่การอำพรางการกู้ยืม และผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดหากความเสียหายเกิดจากสภาพรถ
เดิมจำเลยมีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยก็ได้ยินยอมตกลงตามประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาท ระหว่างโจทก์กับจำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมาหลายงวดย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน ขณะที่จำเลยขับรถพิพาทไป ได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคัน สัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วยแต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้นแต่โจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นความผิดของจำเลยอย่างไรหรือไม่ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ดี ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ เสี่ยง ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ใช่การอำพรางการกู้ยืม และจำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อรถเสียหายจากเหตุภายนอก
เดิมจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมาหลายงวด ย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินแต่อย่างใด เมื่อรถพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายไปทั้งคันสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ประกอบด้วย มาตรา 572 และแม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สินรวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงเฉพาะการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปแล้วไฟลุกไหม้โดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดของฝ่ายจำเลย จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับจากเหตุสุดวิสัย แม้มีข้อตกลงรับผิดชอบความเสียหายจากอัคคีภัย
เดิมจำเลยมีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมาหลายงวดย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ขณะที่จำเลยขับรถพิพาทไป ได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคัน สัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้นแต่โจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นความผิดของจำเลยอย่างไรหรือไม่ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
ขณะที่จำเลยขับรถพิพาทไป ได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคัน สัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้นแต่โจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นความผิดของจำเลยอย่างไรหรือไม่ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ การปรับบทมาตรา 264 ไม่จำเป็นเมื่อมีความผิดตามมาตรา 265
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ซึ่งเป็นบททั่วไปในคำพิพากษาอีก จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม การปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 ในคำพิพากษาต้องระบุบทมาตราประกอบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ: ไม่ต้องปรับบทตามมาตราทั่วไป
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตามป.อ.มาตรา 264 ซึ่งเป็นบททั่วไปในคำพิพากษาอีก
จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม การปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 ในคำพิพากษาต้องระบุบทมาตราประกอบด้วย
จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม การปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 ในคำพิพากษาต้องระบุบทมาตราประกอบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานหนังสือ สามารถนำสืบพยานบุคคลได้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง จึงนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระดอกเบี้ยแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ อนุญาตให้ใช้พยานบุคคลยืนยันได้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง จึงนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระดอกเบี้ยแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากพิจารณาใหม่แล้วมีโอกาสชนะคดี มิใช่เพียงกล่าวอ้างพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์ไม่เป็นความจริง
ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลแล้วหรือไม่นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา246 คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สืบไม่เป็นความจริง หากจำเลยมีโอกาสยื่นคำให้การและนำสืบพยานหลักฐานต่อสู้คดีแล้วเชื่อมั่นว่า ศาลจะยกฟ้องโจทก์อย่างแน่นอนโดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานที่จะแสดงให้เห็นชัดเจนว่า หากมีการพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ชนะคดีได้อย่างไร ถือว่ามิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินจากการแบ่งสินสมรส: ศาลพิพากษาตามประเด็นผู้ร้องอ้างสิทธิในทรัพย์สิน
คดีร้องขัดทรัพย์ศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยจึงมีอยู่ตามคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งอ้างว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ร้องโดยได้มาจากการแบ่งปันสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เมื่อหย่ากัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นของผู้ร้องหรือไม่จึงชอบแล้ว เมื่อคดีมีประเด็นพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ทรัพย์สินที่ยึดเป็นของผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น ปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่า แม้โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องด้วย แต่ผู้ร้องก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2เพราะเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 มิได้ทำเฉพาะตัว หากแต่เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวเกี่ยวกับสินสมรสและเป็นหนี้เกิดจากการงานที่จำเลยที่ 2 กับผู้ร้องทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามี ภริยากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 โจทก์จึงมีสิทธินำยึดทรัพย์รายนี้มาชำระหนี้ได้นั้นจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำร้อง อีกทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์นอกกรอบ, การคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา, และการพิจารณาข้อตกลงดอกเบี้ยใหม่หลังผิดนัด
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้