คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วิธุรัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์นอกกรอบ, การคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา, และการพิจารณาข้อตกลงดอกเบี้ยใหม่หลังผิดนัด
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามในข้อเท็จจริง-อุทธรณ์, สัญญาแบ่งมรดก, และการคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาท
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา จะนำดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 200,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกามารวมคำนวณด้วยไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก จำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยได้กันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้เพื่อจัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคตแต่อย่างใดการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิกันเงินจำนวนดังกล่าวเพื่อทำบุญและจัดงานศพจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคแรก โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยมีข้อความว่า "วันที่ 14 มีนาคมถึง กิมเช็ง ทราบ เรื่องเงินเหลือจากจ่ายธนาคาร 1 ล้านบาทเอาไว้ทำบุญให้แม่เขา 1 แสนบาทกิมห้องให้ไป 1 แสนห้าหมื่น ส่วนเฮียเอา5หมื่นเหลือนอกนั้นให้อีแป๊วอีณีไปเพราะเฮียต้องเอามารักษาตัว ถ้าเฮียไม่เป็นอะไรก็จะไม่เอาหรอกเวลานี้เอ็งก็มีบ้านอยู่กันแล้ว ไม่เดือดร้อนอะไรแล้วถนอม" เอกสารดังกล่าวมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง เพราะเป็นแต่เพียงหนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยขอเงินส่วนแบ่งมรดกไปรักษาตัวจำนวน 50,000 บาท อันเป็นหนังสือที่โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่มีผลผูกพันให้โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเป็นจำนวนเพียง 50,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อพิพาทไม่ได้รับการยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกานั้น จะนำดอกเบี้ยของต้นเงินนับแต่วันฟ้องถึงวันยื่นฎีกามารวมคำนวณด้วยไม่ได้เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา) จำเลยฎีกาว่า เจ้ามรดกเป็นหนี้ พ. และจำเลยได้ใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่ พ.แล้ว เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยได้ชำระหนี้จำนองดังกล่าวให้แก่ พ. จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยมิได้ให้การว่า จำเลยได้กันเงินจำนวน 100,000 บาทไว้เพื่อจัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคตอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำเลยมีสิทธิกันเงินจำนวน 100,000บาท ไว้จัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่า ได้ให้การต่อสู้คดีและอุทธรณ์ว่าจำเลยนำมรดกไปจำนองธนาคารก่อนที่จะมีการขายที่ดินนั้น ขณะจำนองมิได้มีการชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ธนาคาร นับแต่วันกู้ถึงวันขายที่ดินและชำระหนี้เงินกู้คิดดอกเป็นดอกเบี้ยจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยสามารถนำมาหักหนี้กองมรดกได้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ชอบจะหักเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวออกจากกองมรดกด้วย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยโดยไม่ชอบนั้น ปรากฎว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีตามที่ฎีกาดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้หักเงินดอกเบี้ยดังกล่าวจึงชอบแล้ว โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยข้อความว่า "วันที่ 14 มีนาคมถึงกิมเช็ง ทราบเรื่องเงินเหลือจากจ่ายธนาคาร 1 ล้านบาทเอาทำบุญให้แม่เขา 1 แสนบาท กิมห้องให้ไป 1 แสนห้าหมื่นเฮียเอา4หมื่นเหลือนอกนั้นให้แป๊ว,ณีไปเพราะเฮียต้องเอามารักษาตัว ถ้าเฮียไม่เป็นอะไรก็จะไม่เอา เวลานี้ก็มีบ้านอยู่กันไม่เดือนร้อนอะไรแล้ว ถนอม" เอกสารนี้มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1740 วรรคสอง เป็นแต่หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยขอเงินส่วนแบ่งมรดกไปรักษาตัวจำนวน 50,000 บาท อันเป็นหนังสือที่โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาสำหรับทุนทรัพย์จำนวน250,000 บาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนเพียง 200,000 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเกินมา ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทฎีกา, ข้อจำกัดการฎีกา, การหักเงินจากกองมรดก, สัญญาแบ่งมรดก, ค่าขึ้นศาลเกิน
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกานั้น จะนำดอกเบี้ยของต้นเงินนับแต่วันฟ้องถึงวันยื่นฎีกามารวมคำนวณด้วยไม่ได้ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
จำเลยฎีกาว่า เจ้ามรดกเป็นหนี้ พ. และจำเลยได้ใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่พ.แล้ว เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยได้ชำระหนี้จำนองดังกล่าวให้แก่ พ. จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยมิได้ให้การว่า จำเลยได้กันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้เพื่อจัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำเลยมีสิทธิกันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้จัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงชอบแล้ว
จำเลยฎีกาว่า ได้ให้การต่อสู้คดีและอุทธรณ์ว่าจำเลยนำมรดกไปจำนองธนาคารก่อนที่จะมีการขายที่ดินนั้น ขณะจำนองมิได้มีการชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ธนาคาร นับแต่วันกู้ถึงวันขายที่ดินและชำระหนี้เงินกู้คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยสามารถนำมาหักหนี้กองมรดกได้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ชอบจะหักเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวออกจากกองมรดกด้วย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยโดยไม่ชอบนั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีตามที่ฎีกาดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้หักเงินดอกเบี้ยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยข้อความว่า "วันที่ 14 มีนาคม ถึงกิมเช็งทราบเรื่องเงินเหลือจากจ่ายธนาคาร 1 ล้านบาท เอาทำบุญให้แม่เขา 1 แสนบาทกิมห้องให้ไป 1 แสนห้าหมื่น เฮียเอา 5 หมื่น เหลือนอกนั้นให้แป๊ว, ณีไป เพราะเฮียต้องเอามารักษาตัว ถ้าเฮียไม่เป็นอะไรก็จะไม่เอา เวลานี้ก็มีบ้านอยู่กันไม่เดือดร้อนอะไรแล้ว ถนอม" เอกสารนี้มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง เป็นแต่หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยขอเงินส่วนแบ่งมรดกไปรักษาตัวจำนวน 50,000 บาท อันเป็นหนังสือที่โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาสำหรับทุนทรัพย์จำนวน 250,000 บาทเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนเพียง 200,000 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเกินมา ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าช่วงและการบังคับคดี: สถานะบริวารของผู้เช่าช่วง และข้อจำกัดการยกเหตุทางกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
ปัญหาว่าสถานที่เช่าพิพาทเป็นทางเท้าตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้อง ทั้งไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อคำร้องของผู้ร้องมิได้อ้างว่าสถานที่เช่าเป็นทางเท้าตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำร้องและเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยกปัญหานี้ชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อกฎหมายข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครในชั้นบังคับคดี: ต้องยกในศาลชั้นต้นเท่านั้น
ปัญหาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาที่บังคับให้จำเลยออกจาก ที่พิพาทที่ผู้ร้องอ้างว่าสถานที่เช่าพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เป็นทางเท้าตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่อันจะทำให้สัญญาเช่าเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนข้อบัญญัติดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้อง ทั้งไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อคำร้องของ ผู้ร้องมิได้อ้างว่าสถานที่เช่าเป็นทางเท้าตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำร้องและเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลคดีต้องเกิดขึ้นในเขตศาลเพื่อมีอำนาจฟ้อง
โจทก์อ้างว่าจำเลยรับสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ไว้โดยทุจริตขอให้ส่งมอบสลากกินแบ่งดังกล่าวคืน แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับไว้หรือได้กระทำการโดยทุจริตอย่างใด ๆ ต่อโจทก์ในอำเภอพระนครศรีอยุธยาหรือท้องที่แห่งหนึ่งแห่งใดในเขตศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา มูลคดีอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจึงมิได้เกิดในเขตศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลคดีต้องเกิดในเขตอำนาจศาลเพื่อฟ้องร้องได้
การที่สลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ถูกลักไปในท้องที่อำเภอ-พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ในเขตศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาไว้ด้วย แต่มูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิ อันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องเอาคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลจากจำเลย ซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยรับไว้โดยทุจริต แต่ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือได้กระทำการโดยทุจริต ในอำเภอ-พระนครศรีอยุธยา หรือท้องที่ในเขตอำนาจศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา มูลคดีจึงมิได้เกิดในเขตศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแขวง-พระนครศรีอยุธยาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลคดีสำคัญกว่าสถานที่เกิดเหตุในการฟ้องเรียกคืนสลาก
การที่สลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ถูกลักไปในท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ในเขตศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาไว้ด้วย แต่มูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิ อันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องเอาคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลจากจำเลย ซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยรับไว้โดยทุจริต แต่ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือได้กระทำการโดยทุจริต ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา หรือท้องที่ในเขตอำนาจศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา มูลคดีจึงมิได้เกิดในเขตศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของตัวแทนเรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับสินค้า
จำเลยเป็นตัวแทนเรือ มีหน้าที่ต้องตรวจดูชื่อผู้รับสินค้าพิพาทจากเอกสารต่าง ๆ ให้ละเอียดแล้วจึงแจ้งระบุชื่อผู้รับสินค้าในบัญชีสินค้าให้ถูกต้องตรงกับใบตราส่ง ซึ่งจำเลยในฐานะตัวแทนเรือสามารถตรวจตราก่อนได้ แต่หาได้ปฏิบัติไม่กลับแจ้งระบุชื่อผู้รับสินค้าพิพาทผิดไปจากใบตราส่งโดยไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควรเป็นเหตุให้ พ. ออกสินค้าจากท่าเรือให้โจทก์ช้าไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาค่าเสียหายของโจทก์ว่ามีเพียงใด แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นในคดีและจำเลยอ้างในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่
of 79