คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วิธุรัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหักล้างสัญญาจำนองและหนังสือมอบอำนาจ: ขอบเขตการนำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
การนำสืบว่า การทำสัญญาจำนองไม่มีการมอบเงินกัน เป็นการนำสืบหักล้างว่าการกู้เงินไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
ส่วนการที่จำเลยนำสืบถึงมูลเหตุที่จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นที่มาแห่งมูลหนี้กู้ยืมและจำนองที่โจทก์ฟ้อง มิใช่การนำสืบเพื่อบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จึงมิใช่กรณีที่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 94 จำเลยนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาและกรรมเดียวในการทำร้ายร่างกาย - การชนท้ายรถเพื่อหวังทำร้าย - การพิจารณาเจตนาฆ่าและไตร่ตรองไว้ก่อน
การที่พวกของจำเลยขับรถยนต์ชนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ ส.ขับโดยมีโจทก์ร่วมนั่งซ้อนท้ายเป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ล้มลงแล้วพวกของจำเลยทั้งสองจึงหยุดรถแล้วลงไปใช้เหล็กท่อนเป็นอาวุธทำร้ายร่างกาย ส. และโจทก์ร่วม เห็นได้ว่าการใช้รถยนต์ชนท้ายรถจักรยานยนต์เพียงต้องการให้หยุดรถเพื่อที่จะได้ทำร้ายร่างกายเท่านั้นเมื่อปรากฏว่า ส. กระเด็นตกจากรถไปนั่งที่พื้นมีอาการจุกเสียด ส่วนโจทก์ร่วมไม่มีอาการบาดเจ็บลุกขึ้นยืนได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาฆ่าเพราะหากมีเจตนาฆ่าก็น่าจะขับรถยนต์ชนอย่างแรง หรือขับรถยนต์กับ ส. และโจทก์ร่วมไปแล้ว โจทก์ฎีกาว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองกับพวกรุมทำร้ายร่างกายส. และโจทก์ร่วมแล้วพวกของจำเลยทั้งสองได้ขับรถยนต์เก๋งทับร่างของโจทก์ร่วมด้วย เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปรุมตี ส. และโจทก์ร่วมพร้อม ๆ กันเมื่อเห็น ส. ขับรถจักรยานยนต์มีโจทก์ร่วมนั่งซ้อนท้ายผ่านมามีการร้องท้าทาย ส.และโจทก์ร่วมให้ตีกันเมื่อส. กับพวกไม่สนใจและไม่ยอมหยุดรถจักรยานยนต์พวกของจำเลยทั้งสองจึงขับรถยนต์เก๋งไปชนท้ายรถจักรยานยนต์ล้มลง จากนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกจึงเข้าไปกลุ้มรุมทำร้ายร่างกาย ส. และโจทก์ร่วม ดังนี้เป็นการกระทำครั้งหนึ่งคราวเดียวและมีเจตนาเดียวกันในการทำร้ายร่างกาย ส. และโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่าและการเลิกสัญญาเช่าเมื่อเกิดข้อพิพาทเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน ผู้เช่ามีสิทธิไม่ชำระค่าเช่าได้หากมีเหตุอันสมควร
จำเลยเช่าอาคารรวมทั้งอุปกรณ์เครื่องครัวใช้ในการประกอบธุรกิจค้าอาหารจากโจทก์ ต่อมาเจ้าของที่ดินได้ฟ้องขับไล่โจทก์ จำเลยและผู้เกี่ยวข้องออกจากที่เช่าโดยอ้างว่า ที่ดินและอาคารที่เช่าเป็นของตน จำเลยจึงได้นำค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลางเพราะไม่สามารถหยั่งรู้สิทธิอันแท้จริงของเจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิรับชำระหนี้ได้ แม้ต่อมาอธิบดีกรมบังคับคดีมีคำสั่งให้คืนเงินค่าเช่าแก่จำเลย โดยมีความเห็นว่า เจ้าพนักงานไม่ควรรับการวางทรัพย์จำเลยได้รับคืนและนำไปวางต่อศาลชั้นต้นในคดีที่เจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ และคดีดังกล่าวเจ้าของที่ดินได้ถอนฟ้อง โดยมีข้อตกลงว่าเจ้าของที่ดินยอมชำระเงินชดเชยสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ผู้เกี่ยวข้องและจำเลยยอมให้ทรัพย์สินทั้งหมดในที่เช่าเป็นของเจ้าของที่ดิน ทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาต่อกันข้อตกลงในการถอนฟ้องของโจทก์และจำเลยในคดีฟ้องขับไล่นั้น หากจะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยในคดีนี้ด้วยหาได้ไม่ เพราะไม่มีข้อตกลงอันใดระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ที่บ่งชี้ให้เห็นว่าเจตนาให้ข้อพิพาทในคดีนี้ระงับหรือเสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเมื่อโจทก์คดีนี้ฟ้องว่าจำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าสัญญาเลิกกันให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจึงต้องพิเคราะห์ว่า จำเลยผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายหรือไม่ เมื่อจำเลยนำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์เพราะถูกเจ้าของที่ดินกล่าวหาว่าอยู่ที่เช่าโดยละเมิดและฟ้องขับไล่และต่อมาได้นำไปวางต่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวเช่นนี้จะถือว่าเป็นการผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าอันจะเป็นเหตุให้สัญญาเช่าเลิกกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการขายทอดตลาด: ผู้สู้ราคาไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องเป็นเพียงผู้สู้ราคาคนหนึ่งในการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีโดยตรงทั้งมิได้เป็นบุคคลผู้ที่ชอบจะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบหรือที่ได้ยื่นคำร้องขอตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288,289 และ 290 อันเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ผู้ร้องจึงมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านการขายทอดตลาด: ผู้สู้ราคาไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีสิทธิร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่บังคับคดี คือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีโดยตรง หรือเป็นผู้ที่ชอบจะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบ หรือได้ยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 288,289 และ 290อันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น ผู้ร้องเป็นเพียงผู้สู้ราคาในการขายทอดตลาด มิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม และเกี่ยวข้องกับคู่ความ มิฉะนั้นศาลไม่รับ
โจทก์ฟ้องว่าซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทของ ป. จำเลยเช่าบ้านพิพาทจากภริยาป. ครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่อีกต่อไปขอให้บังคับจำเลยออกจากบ้านพิพาทและชำระค่าเช่าที่ค้างกับค่าเสียหาย การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า ป.ให้คำมั่นว่าจะขายบ้านและที่ดินพิพาทให้จำเลย ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างโจทก์กับ ป. และให้ ป. จดทะเบียนโอนขายให้จำเลยนั้นฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นและไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ทั้งเป็นการขอให้บังคับบุคคลอื่นที่ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย จึงไม่ชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคน, เจตนา, และขอบเขตความรับผิดชอบ
หัวข้อข่าวที่ว่า แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้านบาท และหัวข้อข่าวดังกล่าวเป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3เคยให้จำเลยที่ 1 ลงโฆษณา ต่อมาโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 ยกเลิกจำเลยที่ 1 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับฝ่ายโจทก์ในทางเสียหายตลอดมาก่อนคดีนี้โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยฟ้องจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว 3 คดี ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าการลงข่าวดังกล่าวเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้เสียหายด้วย จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบภาคปฏิบัติการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการตลาดและมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับนโยบายของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 5 เป็นกรรมการเป็นผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1มีหน้าที่ให้นโยบายในการบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3เป็นผู้คัดเลือกหรือสั่งให้ลงพิมพ์หัวข้อข่าวและเนื้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอำนาจในการให้นโยบายในการบริหารก็เป็นการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทั่ว ๆ ไปไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่า จะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าวและเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3และที่ 5 ได้ร่วมกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: จำเลยต้องมีความเกี่ยวข้องกับการลงข่าวใส่ความโจทก์
คำว่าเบี้ยวมีความหมายพิเศษเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า หมายถึงไม่ซื่อตรงหรือโกงการแปลหัวข้อข่าวที่ว่าแอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์ หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง จึงไม่เป็นการแปลความหมายผิดไปจากเจตนารมณ์หรือความหมายหัวข้อข่าวที่ว่า"แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์ เจ้าของฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน" ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวตามฟ้อง เป็นการใส่ความโจทก์ทั้งสาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ทั้งสามเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำ อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลวินิจฉัยได้เองโดยพิเคราะห์จากข้อความเหล่านั้นว่ามีอย่างไร หัวข้อข่าวที่ว่าแอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามไม่ซื่อตรงหรือโกงซึ่งไม่ตรงกับความจริง เมื่อจำเลยลงข่าวแสดงความเห็นเสียเอง จึงเป็นการใส่ความโจทก์ทั้งสามในประการที่น่าจะทำให้โจทก์ทั้งสามเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท และการลงข่าวเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(4) ข้อความที่ลงในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องนั้น เมื่ออ่านประกอบกันทั้งหมดหมายถึงว่าแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกงคำว่าแอมบาสเดอร์เป็นถ้อยคำที่ละม้ายคล้ายคลึงกับคำว่าแอมบาสเดอร์ซึ่งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการดำเนินธุรกิจโรงแรมอยู่แล้ว ในเนื้อข่าวยังได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการซึ่งโจทก์ที่ 3 ก็เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 และประกอบธุรกิจอยู่ ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ย่อมรู้ได้ว่าแอมบาสเดอร์ตามหัวข้อข่าวหมายถึงแอมบาสเดอร์ อันเป็นชื่อที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ใช้ในธุรกิจโรงแรมนั้นเอง ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสามขาดความเชื่อถือเนื่องจากไม่ซื่อตรงหรือโกงตามที่ลงข่าวเมื่อข้อความที่ลงในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องหมายถึงชื่อของโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสาม บริษัทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลสมมติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเท่านั้น ดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ ต้องกระทำโดยผู้แทน โจทก์ที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าฝ่ายจำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย โจทก์ทั้งสามจึงเป็นผู้เสียหาย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันเขียนและโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ใส่ความโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และมิได้ยอมรับว่าเป็นผู้ให้ข่าวหรือได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลงข่าวใส่ความโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ โดยนำข้อเท็จจริงมาสู่ศาลเพื่อให้ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อย่างไร และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่าจะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าวและเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ตามฟ้องแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3และที่ 5 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทจากข่าวหนังสือพิมพ์: การพิสูจน์ความเสียหาย, ผู้เสียหาย, และขอบเขตความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
หัวข้อข่าวที่ว่า แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้านบาท และหัวข้อข่าวดังกล่าวเป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยให้จำเลยที่ 1 ลงโฆษณา ต่อมาโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 ยกเลิก จำเลยที่ 1 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับฝ่ายโจทก์ในทางเสียหายตลอดมา ก่อนคดีนี้โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยฟ้องจำเลย-ทั้งห้าในความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว 3 คดี ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าการลงข่าวดังกล่าวเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.อ.มาตรา 329 (4)
จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้เสียหายด้วย
จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบภาคปฏิบัติการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการตลาดและมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับนโยบายของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 5 เป็นกรรมการเป็นผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ให้นโยบายในการบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้คัดเลือกหรือสั่งให้ลงพิมพ์หัวข้อข่าวและเนื้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอำนาจในการให้นโยบายในการบริหารก็เป็นการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทั่ว ๆไปไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่า จะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าว และเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ร่วมกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา และ เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 และ 268 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2513 และ 15 มีนาคม 2520โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันกระทำความผิดทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ แต่โจทก์เพิ่งฟ้องจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2533 โจทก์จึงไม่ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดสิบปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) ตามคำขอรังวัดเปลี่ยน น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก. ที่จำเลยยื่นต่อนายอำเภอโดยลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขอและมีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่จำเลยยื่นต่อเจ้าพนักงานมิใช่เอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความลงในเอกสารนั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 ดังนั้นการที่จำเลยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ตามคำขอของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ใช่เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม มาตรา 267 ไปคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
of 79