คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วิธุรัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องและการชำระหนี้โดยสุจริต: การปฏิบัติตามคำสั่งอายัดเป็นสำคัญ
บทมาตราที่เรียงต่อกันมาเท่านั้น มิได้หมายความจำกัดว่า จะต้องทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแล้วจึงจะอายัดสิทธิเรียกร้องได้
การที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยรับไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตมิได้ ผู้ร้องต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินจากบุคคลภายนอก & ความรับผิดของผู้จ่ายเงิน
คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 282 เรียงตามลำดับ และไม่ต้องมีการยึดทรัพย์ก่อนที่จะอายัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 เมื่อผู้ร้องได้รับหนังสือแจ้งการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วไม่ปฏิบัติตาม กลับจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยไปทำให้โจทก์เสียหายจะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตไม่ได้ผู้ร้องจึงต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดเงินจากบุคคลภายนอก เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแม้ยังมิได้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดถึงผู้ร้องให้ส่งเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่าหนังสืออายัดดังกล่าวมิใช่คำสั่งศาล การอายัดต้องกระทำโดยคำสั่งศาลเท่านั้นและการอายัดจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วคดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกหนังสืออายัดไปยังผู้ร้องหรือไม่ และการอายัดจะต้องมีการยึดทรัพย์สินของจำเลยก่อนหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสืออายัดไม่มีข้อห้ามผู้ร้องไม่ให้ชำระเงินแก่จำเลย ทั้งไม่ได้กำหนดเวลาให้ผู้ร้องส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ใช่คำสั่งอายัดตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม อันเป็นประเด็นที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินการตามคำสั่งยึดอายัดของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจกระทำได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวเรียงตามลำดับ ส่วนมาตรา 310ที่บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้ ฯลฯ" นั้นเป็นการบัญญัติวิธีการยึดทรัพย์ก่อนวิธีการอายัดทรัพย์ อันเป็นบทมาตราที่เรียงต่อกันมาเท่านั้น มิได้หมายความจำกัดว่า จะต้องทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแล้วจึงจะอายัดสิทธิเรียกร้องได้ การที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยรับไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตมิได้ ผู้ร้องต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนด 10 ปีในการบังคับคดี: การนับระยะเวลาเริ่มจากวันมีคำพิพากษา หรือ วันที่เริ่มผ่อนชำระหนี้
ตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินวิธีการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นั้น ประการแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ประการที่สอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงหรือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว ประการที่สาม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าเจ้าหนี้มีความประสงค์ขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและถ้ามีลูกหนี้หลายคนให้ระบุว่าต้องการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้คนใด เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ก็ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว กำหนดเวลา 10 ปีนี้ย่อมต้องนับตั้งแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไปมิใช่นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่จำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยตามที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยไว้และเมื่อหนี้ตามคำพิพากษาเป็นกรณีที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนชำระเป็นงวดตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆ โดยเริ่มชำระงวดแรกในวันที่30 เมษายน 2524 หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้เลย กำหนดเวลา 10 ปีนี้ จึงต้องนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2524 อันเป็นวันแรกที่โจทก์อาจขอให้บังคับแก่จำเลยได้เป็นต้นไป การที่โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามการบังคับคดีตามคำพิพากษาครบถ้วนประสงค์จะบังคับคดีต่อไปอีก โจทก์ชอบจะแถลงภายในกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันดังกล่าวขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลย การที่โจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวเมื่อพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย ไม่อาจนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษาตามยอม หากเกินกำหนด เจ้าหนี้หมดสิทธิบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินวิธีการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี คือต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีก่อน ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา บทบัญญัตินี้ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงแต่ขอหมายบังคับคดีภายใน10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะดำเนินวิธีบังคับอย่างไรต่อไปเมื่อพ้นกำหนดเวลา 10 ปีแล้วก็ได้เพราะจะเป็นผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องถูกบังคับคดีโดยไม่มีกำหนดเวลา และกำหนดเวลา 10 ปีตามมาตรานี้ ตามปกติย่อมต้องนับตั้งแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่จำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย แต่โดยที่หนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่มีคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติซึ่งโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีนี้นั้น จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระเป็นงวดตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆโดยกำหนดเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 30 เมษายน 2524 หากผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีเช่นนี้ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเลย กำหนดเวลา 10 ปี ที่โจทก์จะต้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2524อันเป็นวันแรกที่โจทก์อาจขอให้บังคับคดีแก่จำเลยได้เป็นต้นไปโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้ทำการยึดทรัพย์ของจำเลย เมื่อวันที่ 14กันยายน 2534 จึงล่วงเลยเวลาที่บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันที่เริ่มบังคับคดีได้จริงตามคำพิพากษาตามยอม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินวิธีการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกำหนด10 ปี คือต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีก่อน ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้เจ้าพนักงาน-บังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงาน-บังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา บทบัญญัตินี้ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงแต่ขอหมายบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะดำเนินวิธีบบังคับอย่างไรต่อไปเมื่อพ้นกำหนดเวลา 10 ปีแล้วก็ได้ เพราะจะเป็นผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องถูกบังคับคดีโดยไม่มีกำหนดเวลา และกำหนดเวลา 10 ปีตามมาตรานี้ ตามปกติย่อมต้องนับตั้งแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่จำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย แต่โดยที่หนี้ตามคำพิพากษา-ศาลชั้นต้นที่มีคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติซึ่งโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีนี้นั้น จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมนความ และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระเป็นงวดตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆ โดยกำหนดเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 30 เมษายน 2524 หากผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีเช่นนี้ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเลย กำหนดเวลา10 ปี ที่โจทก์จะต้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม2524 อันเป็นวันแรกที่โจทก์อาจขอให้บังคัคบคดีแก่จำเลยได้เป็นต้นไป โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้ทำการยึดทรัพย์ของจำเลย เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2534จึงล่วงเลยเวลาที่บังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกและการพิจารณาเจตนาของผู้กระทำ หากไม่มีเจตนาทำร้ายผู้ถูกกระทำ การเข้าไปในบ้านเพื่อเจรจาผลประโยชน์ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อน เคยไปหาผู้เสียหายที่บ้านเพื่อขอแบ่งผลประโยชน์จากวินรถจักรยานยนต์รับจ้างในวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองไปหาผู้เสียหายที่บ้านเพื่อทวงเสื้อวินแต่จำเลยที่ 1 กับผู้เสียหายโต้เถียงกันจนเกิดการยิงกันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจะเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายมาก่อนกรณีจะถือว่าจำเลยที่ 2 เข้าไปในบ้านของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควรหาได้ไม่จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาเช่าซื้อ: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อโต้แย้งเรื่องเจตนาที่ไม่สมัครใจ เพราะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต้องการกู้ยืมเงินโจทก์ไปซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 3 โจทก์มิได้มีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์ที่เช่าซื้ออย่างแท้จริง เป็นการใส่ชื่อไว้แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้เปลี่ยนเจตนาเดิมมาผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ แต่เป็นการจำยอมทำสัญญาไปนั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า ความประสงค์เดิมของจำเลยที่ 1 ต้องการกู้ยืมเงินโจทก์โจทก์ต้องการให้จำเลยที่ 1 โอนรถยนต์มาเป็นของโจทก์ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเปลี่ยนเจตนาเดิมมายินยอมผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่นิติกรรมอำพรางเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของ ผู้ค้ำประกัน เมื่อมีการหักชำระหนี้จากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000 บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ผิดนัดแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิด ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน196,186.28 บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการใช้สิทธิเรียกร้องจากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1ได้ผิดนัดแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้นดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน 196,186.28บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์
of 79