คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วิธุรัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดี: เหตุจำเป็นและเจตนาของผู้ร้องในการดำเนินคดี
ในวันนัดสืบพยานผู้ร้องซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนทนายผู้ร้องมาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แสดงว่าผู้ร้องยังใส่ใจในคดี เมื่อผู้ร้องขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรกด้วยเหตุที่ผู้ร้องไปทำงานรับจ้างอยู่ที่ต่างจังหวัดกลับมาไม่ได้ตามกำหนด ซึ่งแม้โจทก์จะแถลงคัดค้านคำร้องขอเลื่อนคดีก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้แถลงคัดค้านว่าข้ออ้างของผู้ร้องไม่ความจริง จึงนับได้ว่ามีเหตุจำเป็นแม้ผู้ร้องจะยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลสั่งไม่รับก็ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าผู้ร้องประวิงคดีจึงสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีมีเหตุสมควร แม้ไม่ได้รับอนุญาตให้สืบพยาน ไม่ถือเป็นการประวิงคดี
ในวันนัดสืบพยานผู้ร้องซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ทนายผู้ร้องมาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แสดงว่าผู้ร้องยังใส่ใจในคดี เมื่อผู้ร้องขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรกด้วยเหตุที่ผู้ร้องไปทำงานรับจ้างอยู่ที่ต่างจังหวัดกลับมาไม่ได้ตามกำหนด ซึ่งแม้โจทก์จะแถลงคัดค้านคำร้องขอเลื่อนคดีก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้แถลงคัดค้านว่าข้ออ้างของผู้ร้องไม่ความจริง จึงนับได้ว่ามีเหตุจำเป็น แม้ผู้ร้องจะยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลสั่งไม่รับ ก็ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าผู้ร้องประวิงคดี จึงสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก: ทายาทผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิมากกว่าทายาทโดยธรรมเมื่อมรดกมีผู้รับพินัยกรรมชัดเจน
ทายาทที่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นได้แก่ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมซึ่งมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก แม้ผู้ร้องที่ 2 จะเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่มีสิทธิรับมรดก แต่มรดกที่ผู้ร้องที่ 2 ขอเป็นผู้จัดการนั้นมีพินัยกรรมระบุยกให้แก่ ส. ผู้ร้องที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับมรดกดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้พ้นกำหนด 30 วันจากวันที่ทราบการเสียสัญชาติไทย
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวต่อจำเลยภายในกำหนด30 วัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 อันทำให้โจทก์ต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์มีใบสำคัญประจำตัวต่อไป เพราะหากโจทก์ไม่มีใบสำคัญประจำตัวแล้วโจทก์ย่อมมีความผิดตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนั้น แม้พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทย โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคือหนังสือประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดสิทธิฎีกาในคดีแพ่ง: ทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท
ทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นทรัพย์ที่พิพาทกันมาในศาลชั้นต้นซึ่งคู่ความตกลงกันว่ามีราคา 90,000 บาท ปัญหาเรื่องราคาทรัพย์ที่พิพาทจึงยุติตามที่ตกลงกัน โดยไม่อาจขอให้กำหนดราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันใหม่ให้มีจำนวนเกินกว่า 200,000 บาท เพื่อให้มีสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงได้อีก คดีนี้จึงเป็นคดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษตามกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้บริษัท อ. ไปยื่นคำขออนุญาตแทนเพื่อขอมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง แต่ในขณะที่บริษัท อ.ส่งวัตถุระเบิดตามใบอนุญาตไปให้จำเลยที่ 1ปลัดกระทรวงกลาโหมยังไม่อนุญาตตามคำขอ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันมีวัตถุระเบิด เยลาทีนไดนาไมต์ซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดขณะใช้พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2476 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อใช้พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับความผิดตามฟ้องให้สูงขึ้นกว่าเดิม จึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารและขายของหลอกลวงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาพิเศษเชื่อมโยงกัน ศาลให้รอการลงโทษหากมีเหตุสมควร
ความผิดฐานปลอมเอกสารและความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงนั้นเป็นความผิดคนละอย่างแยกออกจากกันได้ การที่จำเลยเจตนาปลอมเอกสารเพื่อขายของโดยหลอกลวงเป็นเจตนาต่างกัน เพียงแต่มีเจตนาพิเศษหรือมูลเหตุจูงใจให้กระทำผิดเป็นอันเดียวกัน คำฟ้องของโจทก์บรรยายโดยชัดแจ้งว่าจำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันคือ ฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดทั้งฐานปลอมเอกสารและฐานขายของโดยหลอกลวง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคา - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่บุคคลใดจะเข้าประกวดราคาตามใบแจ้งความประกวดราคาหรือไม่ ย่อมเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นจะต้องพิจารณาเองว่าสมควรเข้าประกวดราคาเช่นนั้นหรือไม่ ใบแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ระบุว่าโจทก์ไม่จำต้องสนองรับการเสนอราคาใดก็ตามที่ส่งมาโดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 มีสิทธิเสนอราคางานเสาเข็มเจาะระบบอื่นนอกเหนือจากระบบตามใบแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะไม่พิจารณาและไม่สนองรับการเสนอราคาเสาเข็มเจาะระบบอื่นดังกล่าวของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องให้เหตุผลแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด การแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดไม่ยอมทำสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะตามที่ได้ตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ในการประกวดราคาจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขในการประกวดราคาโดยไม่ยอมเข้าทำสัญญากับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาหลักประกันอันเป็นเบี้ยปรับตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบแจ้งความประกวดราคา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคสอง ส่วนความเสียหายของโจทก์ที่เกิดจากการที่โจทก์เริ่มงานเสาเข็มเจาะล่าช้าทำให้งานโครงการของโจทก์เสร็จช้าไปก็ดี ความเสียหายที่เกิดจากการที่โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ผู้ควบคุมงานรายใหม่เพิ่มขึ้นก็ดีความเสียหายอันเกิดจากความล่าช้าเพราะเกิดอุปสรรคในการสร้างงานเสาเข็มเจาะของผู้รับจ้างรายใหม่ก็ดี การว่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่ทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินค่างวดเร็วขึ้นและทำให้โจทก์ต้องรับภาระในการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารมากขึ้นก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเอกสารและค่าปรึกษาด้านกฎหมายและเอกสารในการทำสัญญาใหม่ก็ดี ต่างเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะกับโจทก์ทั้งสิ้น แต่ตามใบแจ้งความประกวดราคาได้ความว่าสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือตามแบบในการประกวดราคาฉะนั้น แม้จำเลยที่ 1 และโจทก์ได้แสดงเจตนาเสนอสนองถูกต้องตรงกันแต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ลงนามในสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะ สัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่เกิดขึ้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ อันเกิดจากการผิดสัญญานั้นได้ การต่อรองในเรื่องราคาและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการลดราคาค่าว่าจ้างลง มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขในการประกวดราคาใหม่ เพราะโจทก์มีสิทธิต่อรองราคาเช่นนั้นตามใบแจ้งความประกวดราคา ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญ และประเด็นอำนาจศาลในการอนุญาตให้เป็นคู่ความแทน
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว คดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียกบุคคลอื่นเข้ามาเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตตามคำร้องจึงไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ถูกจำเลยหลอกให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือทำนิติกรรมแตกต่างไปจากเจตนาอันแท้จริงของโจทก์ เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมเป็นโมฆะ จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ จึงมีความหมายแปลได้ว่า จำเลยหลอกให้โจทก์สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมที่โจทก์จะทำและทำให้โจทก์หลงเชื่อแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยโดยสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมอันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่านิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามประเด็นโจทก์ฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้ยกข้อพิพาทในเนื้อหาของคดีขึ้นมาในคำฟ้องฎีกา และมิได้ขอให้พิพากษาตามคำขอของโจทก์ตามที่ฟ้องมาศาลฎีกาจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจพิจารณาข้อพิพาทในส่วนที่นอกจากปรากฏในคำฟ้องฎีกาได้ เมื่อโจทก์ฎีกาเฉพาะเพียงในข้อที่ขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดีเท่านั้น จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม, อำนาจศาล, การพิจารณาคดีนอกประเด็น, และการเข้าเป็นคู่ความแทน
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว คดี จึง อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องของ จำเลย ที่ขอให้เรียกบุคคลอื่นมาเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลอื่น เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต ตามคำร้องจึงไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องของ จำเลยไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง โจทก์ฟังว่าโจทก์ถูกจำเลยหลอกให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือทำนิติกรรมแตกต่างไปจากเจตนาอันแท้จริงของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญ ของ นิติกรรมเป็นโมฆะ จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้สำคัญผิด ในลักษณะของนิติกรรมการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่จึงมีความหมายแปลได้ว่าจำเลยหลอกให้โจทก์สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมที่โจทก์จะทำและให้โจทก์หลงเชื่อแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยโดยสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมอันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และ ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี โดยมิได้ยกข้อพิพาท ในเนื้อหาของคดีขึ้นมาในคำฟ้องฎีกา และมิได้ขอให้พิพากษา ตามคำขอของโจทก์ตามที่ฟ้องมา ศาลฎีกาจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจ พิจารณาข้อพิพาทในส่วนที่นอกจากปรากฏในคำฟ้องฎีกาได้
of 79