พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากที่ดินโจทก์ กับทำที่ดินให้กลับอยู่ในสภาพเดิม จำเลยให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมิได้ครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงมิได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ และโจทก์ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่พิพาทมีเนื้อที่เพียงประมาณ 4 ตารางวา ไม่อาจมีราคาเกินกว่า 200,000 บาทจึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในชั้นฎีกา: คดีรุกล้ำที่ดินราคาไม่เกิน 2 แสน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากที่ดินโจทก์ กับทำที่ดินให้กลับอยู่ในสภาพเดิม จำเลยให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมิได้ครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงมิได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ และโจทก์ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่พิพาทมีเนื้อที่เพียงประมาณ4 ตารางวา ไม่อาจมีราคาเกินกว่า 200,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมิได้ครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงมิได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ และโจทก์ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่พิพาทมีเนื้อที่เพียงประมาณ4 ตารางวา ไม่อาจมีราคาเกินกว่า 200,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4403/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำให้เสียทรัพย์ - การกระทำโดยไม่มีเจตนาและไม่สามารถเล็งเห็นผลเสียหายได้
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358ผู้กระทำต้องมีเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายจึงจะเป็นความผิด เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะทำให้รั้วเหล็กดัดของผู้เสียหายได้รับความเสียหาย และไม่อาจเล็งเห็นได้ว่าการเจาะรั้วคอนกรีตของจำเลยเพียงส่วนน้อยโดยใช้ไม้ค้ำยันจะทำให้รั้วเหล็กดัดของผู้เสียหายซึ่งตั้งอยู่บนรั้วคอนกรีตของจำเลยได้รับความเสียหายอย่างแน่นอนแล้ว จำเลยจึงมิได้มีเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4403/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำให้เสียทรัพย์ - การกระทำที่ไม่มีเจตนาหรือเล็งเห็นผลเสียหายไม่เป็นความผิด
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ ผู้กระทำต้องมีเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายจึงจะเป็น ความผิด เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะทำให้รั้วเหล็กดัด ของผู้เสียหายได้รับความเสียหาย และไม่อาจเล็งเห็นได้ว่าการ เจาะรั้วคอนกรีตของจำเลยเพียงส่วนน้อยโดยใช้ไม้ค้ำยันจะทำให้ รั้วเหล็กดัดของผู้เสียหายซึ่งตั้งอยู่บนรั้วคอนกรีตของจำเลยได้รับ ความเสียหายอย่างแน่นอนแล้ว จำเลยจึงมิได้มีเจตนากระทำเพื่อให้ ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4318/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทในทรัพย์มรดกเมื่อทายาทรุ่นก่อนถึงแก่ความตายก่อนแบ่งมรดก ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
บิดาผู้ร้องถึงแก่ความตายหลังเจ้ามรดก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแบ่งปันทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกขณะที่บิดาผู้ร้องมีชีวิตอยู่แต่อย่างใด ทรัพย์มรดกในส่วนที่ตกได้แก่บิดาผู้ร้องย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอันจะขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4318/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกเมื่อทายาทก่อนถึงแก่กรรมและไม่มีพินัยกรรม: สิทธิของผู้ร้องในฐานะทายาทลำดับหลัง
ผู้ตายมีบุตร 3 คน คือบิดาผู้ร้อง ผู้คัดค้าน และ ส.ผู้ตายถึงแก่ความตาย ก่อนบิดาผู้ร้องโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้บิดาผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ต่อมาบิดาผู้ร้องถึงแก่ความตายโดยยังไม่มีการแบ่งปันมรดก ทรัพย์มรดกของผู้ตายในส่วนที่ตกได้แก่บิดาผู้ร้อง ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของบิดาผู้ร้องและตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 และมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งที่ดินต้องเป็นไปตามขั้นตอน หากประมูลราคากันเองไม่ได้จึงขายทอดตลาด ยึดทรัพย์อื่นไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์และจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทด้วยการประมูลราคากันเอง หากตกลงประมูลราคากันเองไม่ได้ให้ขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแล้วเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน การตกลงประมูลราคากันเองได้นั้น หมายความว่าโจทก์และจำเลยประมูลราคาที่ดินกันแล้วผู้ประมูลได้ ได้ปฏิบัติตามที่ประมูลได้นั้นจนเสร็จสิ้นหากผู้ประมูลได้ไม่ปฏิบัติตามที่ได้ประมูลได้นั้นจนเสร็จก็ต้องถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงประมูลราคากันเองไม่ได้ดังนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลได้ไม่นำเงินมาชำระตามที่ประมูลได้โจทก์จึงต้องบังคับคดีโดยการนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดแล้วเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วนต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินอื่นของจำเลยเพื่อบังคับคดีนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาแบ่งที่ดิน: กรณีผู้ประมูลได้ไม่ชำระเงิน ยึดทรัพย์อื่นไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์และจำเลยแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 3237 ด้วยการประมูลกันเอง หากตกลงราคาไม่ได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินแบ่งกันตามส่วนนั้น เมื่อจำเลยผู้ประมูลได้ไม่นำเงินมาชำระตามที่ประมูลได้ ต้องถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยประมูลราคากันเองไม่ได้ จะต้องนำที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน โจทก์ไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินอื่นของจำเลยเพื่อบังคับคดีแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการปรับโทษตามกฎหมายควบคุมอาคาร โดยมีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคแรกบัญญัติว่า "ในกรณีที่ฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงานแล้วแต่กรณีระงับการกระทำนั้นได้" บทบัญญัติมาตรานี้มีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีการที่ดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสียสำหรับการกระทำหรือการก่อสร้างที่ทำไปแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 วรรคแรกและมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ หากเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 ต่อไป ถ้าหากเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคแรกให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ก่อสร้างให้ถูกต้องกรณีนี้หามีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิด และกรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วด้วย แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันด้วยนั้น เนื่องจากความผิดฐานก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 นั้นจะลงโทษปรับรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้วและผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใดที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันจึงเป็นการลงโทษนอกเหนือจากฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 เนื่องจากในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ออกใช้บังคับโดยมาตรา 22 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 65 วรรคแรกและมาตรา 70กรณีจึงเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด จึงต้องใช้โทษตามมาตรา 70ที่แก้ไขใหม่ประกอบมาตรา 65 วรรคแรก เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขอาคารผิดแบบ และการลงโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร การใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคแรกบัญญัติว่า "ในกรณีที่ฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24 หรือมีการก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงานแล้วแต่กรณีระงับการกระทำนั้นได้..." บทบัญญัติมาตรานี้มีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีการที่ดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสีย สำหรับการกระทำหรือการก่อสร้างที่ทำไปแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรรคแรกได้หรือไม่ หากเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา42 ต่อไป ถ้าหากเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคแรก ให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ก่อสร้างให้ถูกต้อง กรณีนี้หามีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิด และกรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วด้วย แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันด้วยนั้น เนื่องจากความผิดฐานก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้วและผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันจึงเป็นการลงโทษนอกเหนือจากฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เนื่องจากในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับโดยมาตรา 22 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 65 วรรคแรกและมาตรา 70 กรณีจึงเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด จึงต้องใช้โทษตามมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ประกอบมาตรา 65 วรรคแรก เดิม
เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคแรก ให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ก่อสร้างให้ถูกต้อง กรณีนี้หามีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิด และกรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วด้วย แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันด้วยนั้น เนื่องจากความผิดฐานก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้วและผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันจึงเป็นการลงโทษนอกเหนือจากฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เนื่องจากในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับโดยมาตรา 22 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 65 วรรคแรกและมาตรา 70 กรณีจึงเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด จึงต้องใช้โทษตามมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ประกอบมาตรา 65 วรรคแรก เดิม