พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค หากไม่สามารถพิสูจน์ข้ออ้างการเป็นตัวแทนได้ คดีแพ่งไม่ผูกพันผลคดีอาญา
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค เมื่อจำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจริง เบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยให้การว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งสามนำเงินของโจทก์ทั้งสามไปลงทุนเล่นแชร์น้ำมันกับ ช. จึงสั่งจ่ายเช็คพิพาทไว้เป็นหลักฐาน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดตามเช็ค หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบฟังไม่ได้ตามที่ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม
ส่วนเงินจำนวน 321,600 บาท ที่จำเลยรับไปจากโจทก์ที่ 2นั้น จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด จึงต้องฟังว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2
คดีอาญามีผลชี้ขาดเพียงไม่มีมูลในเจตนากระทำผิดทางอาญาเท่านั้นทั้งคดีแพ่งที่โจทก์ทั้งสามฟ้องก็มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ผลแห่งคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันคดีแพ่งนี้
ส่วนเงินจำนวน 321,600 บาท ที่จำเลยรับไปจากโจทก์ที่ 2นั้น จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด จึงต้องฟังว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2
คดีอาญามีผลชี้ขาดเพียงไม่มีมูลในเจตนากระทำผิดทางอาญาเท่านั้นทั้งคดีแพ่งที่โจทก์ทั้งสามฟ้องก็มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ผลแห่งคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันคดีแพ่งนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบธรรม เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีข้อต่อสู้ที่มีเหตุผล
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค เมื่อจำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจริง เบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยให้การว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งสามนำเงินของโจทก์ทั้งสามไปลงทุนเล่นแชร์น้ำมันกับ ช.จึงสั่งจ่ายเช็คพิพาทไว้เป็นหลักฐาน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดตามเช็ค หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบฟังไม่ได้ตามที่ให้การต่อสู้ไว้จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม ส่วนเงินจำนวน 321,600 บาท ที่จำเลยรับไปจากโจทก์ที่ 2นั้น จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใดจึงต้องฟังว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 คดีอาญามีผลชี้ขาดเพียงไม่มีมูลในเจตนากระทำผิดทางอาญาเท่านั้นทั้งคดีแพ่งที่โจทก์ทั้งสามฟ้องก็มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาผลแห่งคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันคดีแพ่งนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบตามกฎหมาย: ภูมิลำเนา, การส่งทางไปรษณีย์, และการให้สัตยาบัน
โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทางหนังสือพิมพ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก่อนแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับนั้น โดยส่งไปยังจำเลยที่บ้านเลขที่ 10/82 แขวงบางแคเหนือ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญากู้เงินที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์การที่จำเลยย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 126/59 แขวงบางขุนเทียน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2530 นั้น จำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด ทั้งเป็นการย้ายไปภายหลังที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้ว บ้านเลขที่ 10/82จึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองเมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แต่พนักงานไปรษณีย์ส่งให้ไม่ได้จึงทำใบแจ้งสั่งให้จำเลยไปรับไว้ และครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ไปรับ อันเป็นการส่งตามทางการถือว่าจำเลยได้รับคำบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนองมิได้ทำเป็นหนังสือ เมื่อ ธ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองไปในนามของโจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองดังกล่าวแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในความผิดฟ้องเท็จ: จำเลยต้องรู้ว่าข้อความที่ฟ้องเท็จ
ความผิดฐานฟ้องเท็จตาม ป.อ. มาตรา 175 นั้น นอกจากผู้กระทำจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่าได้กระทำความผิดอาญาแล้วผู้กระทำจะต้องรู้ว่าความที่นำมาฟ้องนั้นเป็นเท็จ จำเลยทั้งสองร่วมกันฟ้องโจทก์ว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ขายหลายคนให้ทุบทำลายผนังตึกกำแพงด้านหลังอาคารของจำเลยทั้งสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเข้าใจว่ากำแพงพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่รู้ว่าความที่นำมาฟ้องโจทก์นั้นเป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงขาดเจตนาที่จะทำให้เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการฟ้องเท็จ: จำเลยต้องรู้ว่าข้อความที่ฟ้องเป็นเท็จ การเข้าใจผิดเรื่องกรรมสิทธิ์ทำให้ขาดเจตนา
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175นั้น นอกจากผู้กระทำจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่าได้กระทำความผิดอาญาแล้วผู้กระทำจะต้องรู้ว่าความที่นำมาฟ้องนั้นเป็นเท็จ จำเลยทั้งสองร่วมกันฟ้องโจทก์ว่า โจทก์กระทำความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ชายหลายคนให้ทุบทำลายผนังตึกกำแพงด้านหลัง อาคาร ของจำเลยทั้งสองเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเข้าใจว่ากำแพงพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่รู้ว่าความที่นำมาฟ้องโจทก์นั้นเป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงขาดเจตนาที่จะทำให้เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัดโควต้าอ้อย, การแจ้งคำสั่ง, และการไม่สืบพยานส่งผลต่อคำพิพากษา
แม้เอกสารท้ายฟ้องจะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตาม แต่ข้อความเอกสารท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับ ร.เป็นเพียงอุทธรณ์เพิ่มเติมขอรับความเป็นธรรมกรณีโจทก์ถูกตัดโควตา ก.เท่านั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าองค์ประชุมไม่ครบเพราะ ส.ลาออกจากการเป็นกรรมการไปแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาสำหรับ ร.ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง" แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่า คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย หาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้เลือกจำเลยที่ 4 เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยมีจำเลยที่ 4ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้ว มิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทรายในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 42 ()2) บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือ มีอำนาจสั่งตัดโควตาก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจ โจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก. ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควตา ก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง" แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่า คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย หาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้เลือกจำเลยที่ 4 เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยมีจำเลยที่ 4ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้ว มิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทรายในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 42 ()2) บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือ มีอำนาจสั่งตัดโควตาก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจ โจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5ให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก. ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควตา ก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัดโควต้า ก. คณะกรรมการน้ำตาลทราย และการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นเมื่อไม่สืบพยาน
แม้เอกสารท้ายฟ้องจะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตามแต่ข้อความเอกสารท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับ ร. เป็นเพียงอุทธรณ์เพิ่มเติมขอรับความเป็นธรรมกรณีโจทก์ถูกตัดโควตา ก.เท่านั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าองค์ประชุมไม่ครบเพราะ ส. ลาออกจากการเป็นกรรมการไปแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาสำหรับ ร. ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527มาตรา 58 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง"แต่ตามคำฟ้องของโจทก์และเอกสารท้ายฟ้องปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 6 ในฐานะประธานกรรมการบริหารหาได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามทราบไม่จำเลยที่ 6 เพียงแต่มีหนังสือเอกสารท้ายฟ้องแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารต่อนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ทราบว่าคณะกรรมการบริหารได้พิจารณาคำขออุทธรณ์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการน้ำตาลทราย และให้นำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาต่อไปเท่านั้น เห็นได้ว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เป็นหนังสือถึงนายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายหาใช่เป็นหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการบริหารต่อโจทก์ทั้งสามโดยตรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้รับคำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 58 วรรคสาม โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายด้วย ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ ขณะนั้นยังไม่มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ชาวไร่อ้อยและหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย เพื่อให้ทราบปริมาณอ้อยของสมาชิกของแต่ละสถาบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527ได้ ประกอบกับมีความจำเป็นต้องมีผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราบ เพื่อให้คณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527 ได้ไปพลางก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งแทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าวปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆดังกล่าวคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราบได้เลือกจำเลยที่ 4เป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราบให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทรายโดยมีจำเลยที่ 4 ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไว้ตามเอกสารท้ายคำให้การซึ่งมีจำเลยที่ 5 คือรองอธิบดีกรมการค้าภายในผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายด้วยจึงถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวชอบแล้วมิได้ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการน้ำตาลทรายและได้รับเลือกจากคณะกรรมการน้ำตาลทรายให้เป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจในฐานะเป็นกรรมการและเป็นประธานคณะกรรมการน้ำตาลทรายส่วนกรณีที่คณะกรรมการน้ำตาลทราบได้มีมติให้ตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามเป็นกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าวควบคุมการจำหน่ายน้ำตาลทราบในราชอาณาจักรตามที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราบ พ.ศ. 2527 มาตรา 42(2)บัญญัติให้คณะกรรมการน้ำตาลทราบมีหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง กล่าวคือมีอำนาจสั่งตัดโควต้า ก. ของโจทก์ทั้งสามได้ หาใช่ไม่มีอำนาจโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการน้ำตาลทราบซึ่งมีจำเลยที่ 5เป็นประธานมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 5 ให้การปฏิเสธภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟัง ไม่ได้ว่าคณะกรรมการน้ำตาลทราบมีมติดังกล่าวโดยไม่ชอบ ต้องยกฟ้องโจทก์ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น นอกจากจำเลยจะแถลงขอให้ศาลวินิจฉัยขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยส่งศาลไว้ทั้งหมดแล้ว โจทก์จำเลยยังแถลงไม่ติดใจที่จะสืบพยานประกอบด้วย เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายปรากฏว่า จำเลยที่ 5 มีอำนาจตัดโควต้า ก.ของโจทก์ คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การสั่งตัดโควต้าก.ของจำเลยที่ 5 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานกันต่อไปย่อมถือว่าโจทก์จำเลยขอปิดคดีของตนเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีให้เสร็จไปได้ ไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การส่งมอบงาน, การแก้ไขงานเพิ่มเติม, และสิทธิในการเรียกค่าจ้าง
โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยแล้วต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำแก้ไขงานที่ยังไม่เรียบร้อยอีก 9 รายการ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2529 แจ้งจำเลยว่าแก้ไขงานเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่จำเลยแจ้งว่างานรายการที่ 5คือบ่อพักบางจุดไม่มีขอบรัดฝาบ่อพัก และฝาบ่อพักไม่วางบนขอบบ่อพัก ให้โจทก์แก้ไขโดยไม่โต้แย้งงานอีก 8 รายการ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์แก้ไขงานอื่นตามที่จำเลยแจ้งเสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับงานรายการที่ 5 นั้น นับแต่เริ่มทำการก่อสร้างปรากฏว่าแนวของท่อระบายน้ำไปติดกับท่อเมนประปาและบ้านเรือนของราษฎร เป็นอุปสรรคไม่สามารถก่อสร้างตามแบบแปลนได้ ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยทำบันทึกลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2529ขออนุมัติจำเลยเปลี่ยนแปลงแนวท่อ จำเลยอนุมัติในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าตามแบบแปลนที่แก้ไขใหม่ โดยย้ายแนวท่อตามที่ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าจำเลยอนุมัติให้แก้ไขรายการก่อสร้างให้ไม่ต้องมีขอบรัดฝา บ่อพักสำหรับบ่อพักที่เป็นปัญหาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2529 แล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย ให้จำเลยแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2529 จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันนับแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2529 อันเป็นวันหลังวันที่โจทก์จะต้องทำงาน แล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2529 รวมเป็นเวลา 18 วันเท่านั้น ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตรเมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่า555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียก ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไข งานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล อนาคต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบงานก่อสร้าง, การแก้ไขงาน, และสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มเติม
โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำแก้ไขงานที่ยังไม่เรียบร้อยอีก 9 รายการ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2529 แจ้งจำเลยว่าแก้ไขงานเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่จำเลยแจ้งว่างานรายการที่ 5 คือบ่อพักบางจุดไม่มีขอบรัดฝาบ่อพัก และฝาบ่อพักไม่วางบนขอบบ่อพัก ให้โจทก์แก้ไขโดยไม่โต้แย้งงานอีก 8 รายการ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์แก้ไขงานอื่นตามที่จำเลยแจ้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับงานรายการที่ 5 นั้น นับแต่เริ่มทำการก่อสร้างปรากฏว่าแนวของท่อระบายน้ำไปติดกับท่อเมนประปาและบ้านเรือนของราษฎร เป็นอุปสรรคไม่สามารถก่อสร้างตามแบบแปลนได้ ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยทำบันทึกลงวันที่ 26 พฤษภาคม2529 ขออนุมัติจำเลยเปลี่ยนแปลงแนวท่อ จำเลยอนุมัติในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าตามแบบแปลนที่แก้ไขใหม่ โดยย้ายแนวท่อตามที่ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าจำเลยอนุมัติให้แก้ไขรายการก่อสร้างให้ไม่ต้องมีขอบรัดฝาบ่อพักสำหรับบ่อพักที่เป็นปัญหาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2529แล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2529 จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันนับแต่วันที่ 12 ตุลาคม2529 อันเป็นวันหลังวันที่โจทก์จะต้องทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม2529 รวมเป็นเวลา 18 วันเท่านั้น
ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ถึงถนนวารีราชเดช..ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตร เมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่ากว่า 555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าก่อสร้างเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไขงานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต
ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ถึงถนนวารีราชเดช..ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตร เมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่ากว่า 555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าก่อสร้างเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไขงานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3906/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการยื่นคำให้การในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และค่าขึ้นศาลฎีกาสำหรับคดีที่มีคำขอชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกและขอให้ขับไล่จำเลยพร้อมให้ใช้ค่าเสียหาย เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยไม่ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน15 วัน นับแต่ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยได้ยื่นคำให้การในคดีส่วนแพ่งในวันนั้นด้วยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์6,000 บาท กับค่าเสียหายปีละ 6,000 บาท ทุกปีไปจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 6,000 บาท และไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้รวมอยู่ด้วย ทั้งยังมีคำขอให้ชำระค่าเสียหายในอนาคตรวมอยู่อีกด้วย เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องและให้ใช้ค่าเสียหายจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามข้อ (3) และข้อ 4) ของตารางท้ายประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นจำนวนทั้งสิ้น 300 บาท
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์6,000 บาท กับค่าเสียหายปีละ 6,000 บาท ทุกปีไปจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 6,000 บาท และไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้รวมอยู่ด้วย ทั้งยังมีคำขอให้ชำระค่าเสียหายในอนาคตรวมอยู่อีกด้วย เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องและให้ใช้ค่าเสียหายจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามข้อ (3) และข้อ 4) ของตารางท้ายประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นจำนวนทั้งสิ้น 300 บาท