คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วิธุรัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3906/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาและแพ่งเกี่ยวเนื่องกัน การให้การของจำเลย และค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกและขอให้ขับไล่จำเลยพร้อมให้ใช้ค่าเสียหาย เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้โดยไม่ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยได้ยื่นคำให้การในคดีส่วนแพ่งในวันนั้นด้วยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 6,000 บาท กับค่าเสียหายปีละ 6,000 บาท ทุกปีไปจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 6,000 บาท และไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้รวมอยู่ด้วย ทั้งยังมีคำขอให้ชำระค่าเสียหายในอนาคตรวมอยู่อีกด้วย เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องและให้ใช้ค่าเสียหาย จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามข้อ (3) และข้อ (4) ของตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นจำนวนทั้งสิ้น 300 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3906/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการยื่นคำให้การในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และค่าขึ้นศาลฎีกาสำหรับคดีที่มีคำขอชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกและขอให้ขับไล่จำเลยพร้อมให้ใช้ค่าเสียหาย เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยไม่ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน15 วัน นับแต่ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยได้ยื่นคำให้การในคดีส่วนแพ่งในวันนั้นด้วยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์6,000 บาท กับค่าเสียหายปีละ 6,000 บาท ทุกปีไปจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 6,000 บาท และไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้รวมอยู่ด้วย ทั้งยังมีคำขอให้ชำระค่าเสียหายในอนาคตรวมอยู่อีกด้วย เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องและให้ใช้ค่าเสียหายจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามข้อ (3) และข้อ 4) ของตารางท้ายประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นจำนวนทั้งสิ้น 300 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองจากผู้จำนองที่ดินเพื่อประกันการทำงานของลูกหนี้ แม้หนี้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ผู้จำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับจำนองจากการกระทำของจำเลยที่ 1 คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยในศาลชั้นต้นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคือมีสิทธิบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ได้หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่งแต่ก็หาตัดสิทธิโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่จะบังคับชำระหนี้อันเกิดจากความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นตามสัญญาจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม) และมาตรา 745ไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยแก่จำเลยที่ 2ได้ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินตามฟ้องของจำเลยที่ 2 มาจำนองเป็นประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาว่าหากจำเลยที่ 1 ก่อความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาทจำเลยที่ 2 จึงมิใช่มีฐานะเป็นเพียงผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เท่านั้นแต่เป็นผู้จำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 อาจก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วย ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้นั้นจากทรัพย์สินที่จำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม)(มาตรา 193/27 ใหม่)และมาตรา 745 ได้ไม่ว่าหนี้ที่ค้ำประกันนั้นจะขาดอายุความหรือไม่ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1ด้วยการทำสัญญารับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ทั้งถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้แปลงหนี้ใหม่ โดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้เห็นหรือยินยอมด้วยจำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นความรับผิด ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3621/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กองมรดกไม่มีอำนาจฟ้องร้องได้ เพราะไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
สิทธิในการดำเนินคดีทางศาลจะมีได้ก็แต่เฉพาะบุคคลเท่านั้นซึ่งคำว่าบุคคลหมายถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กองมรดกของผู้ตายหามีกฎหมายใดบัญญัติให้มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่ จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาการศึกษาต่อต่างประเทศ: ระยะเวลาและข้อตกลงเพิ่มเติม
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติและความรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศ ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนส่วนตัว (ทุนประเภท 2) มีกำหนด2 ปี นับแต่วันออกเดินทาง โดยเมื่อจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อ หรือจำเลยที่ 1ถูกเรียกตัวกลับ และจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและจำเลยที่ 1 ไม่ชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ส่วนที่หลังจากครบกำหนด2 ปี แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขอลาศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัวอีก 5 ปี9 เดือน 4 วัน และโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาศึกษาต่อโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการลาไปศึกษาต่อเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แต่อย่างใดจำเลยที่ 2 จึงคงมีความรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี เท่านั้น สัญญาค้ำประกันระบุว่า หากโจทก์จะผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไป มีความหมายเพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนให้โจทก์พร้อมเบี้ยปรับภายในกำหนด 30 วัน ถัดจากวันได้รับแจ้งจากโจทก์ตามสัญญาข้อ 4 และ ข้อ 5 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน แม้โจทก์ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไปข้อความดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ทุกประการโดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในอนาคตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อรัฐ: เทศบาลไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,120 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(1)และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1) เอกชนจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์จะเป็นเทศบาลและมีหน้าที่บำรุงทางบกทางน้ำ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2),53 มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา คุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย และดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาลตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: เทศบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,119,120 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1)เอกชนจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์เป็นเทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50(2),53 และกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาล ทั้งอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบอำนาจเจ้าท่าตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้โจทก์ดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาล ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน (ใบมรณบัตร) แม้มิได้ปฏิบัติตามมาตรา 90 ว.พ.พ. หากโจทก์ไม่เสียเปรียบ
จำเลยยื่นบัญชีพยานระบุอ้างใบมรณบัตรเป็นพยานไว้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ทั้งได้ส่งเอกสารดังกล่าวประกอบการถามค้านพยานโจทก์ปากแรกด้วย โจทก์จึงย่อมทราบข้อความของเอกสารใบมรณบัตรก่อนสืบพยาน โจทก์เสร็จสิ้นและมีโอกาสนำพยานมาสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การที่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 โดยมิได้ส่งสำเนาใบมรณบัตรให้แก่โจทก์ล่วงหน้าก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันนั้นจึงไม่ได้ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่อย่างใด นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวก็เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อฉ้อโกงประกันภัย ศาลลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมและพยายามฉ้อโกง
การที่จำเลยที่ 1 ใช้เอกสารราชการปลอมไปแสดงต่อโจทก์ร่วมว่า พนักงานสอบสวนไม่มีความขัดข้องในการที่จำเลยที่ 1 จะไปขอรับเงินค่าทดแทนความเสียหายจากบริษัทประกันภัยในการที่เกิดเพลิงไหม้อาคารของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อฉ้อโกงเงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในการที่อาคารที่จำเลยที่ 1 เอาประกันอัคคีภัยไว้กับโจทก์ร่วมเกิดเพลิงไหม้เสียหาย การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและความผิดฐานพยายามฉ้อโกงของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษบทหนักตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดิน สินสมรส และผลผูกพันของผู้จัดการมรดก
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของ ย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย. แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์ เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาหรือข้อตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับ ย.จึงมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519ประกอบด้วย มาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย.จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของย. ให้แก่โจทก์
of 79