พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาเช่าเรือและอายุความฟ้องเรียกร้องค่าชดใช้เรือเสียเวลา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา)ก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้น จะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญ หาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย: สิทธิเรียกร้องค่าปรับและหน้าที่ชำระราคาที่ดินเมื่อศาลบังคับตามสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 3 มีข้อความว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญา ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อจำนวน 30,000 บาท เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ผิดสัญญา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับเบี้ยปรับตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา
แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสอง แต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน ต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกัน เมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ
แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสอง แต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน ต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกัน เมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับและหน้าที่ชำระราคาที่ดินเมื่อมีการบังคับสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมายจ.2ข้อ3มีข้อความว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญาผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อจำนวน30,000บาทเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ผิดสัญญาแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับเบี้ยปรับตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสองแต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทนต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกันเมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3230-3231/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องค่าขึ้นศาลคดีพิพาทที่ดิน เพราะฎีกาแรกไม่เป็นสาระหลังมีการยื่นฎีกาใหม่ร่วมกับจำเลยอื่น
จำเลยที่2อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาว่าการอ่านคำพิพากษาไม่ใช่การพิจารณาเมื่อคดีนี้มีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วศาลชั้นต้นเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบเพื่อให้ศาลฎีกามีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ฉบับแรกซึ่งศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะถือว่ายังไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากได้เพิกถอนการอ่านแล้วแต่ต่อมาจำเลยที่2ได้ยื่นฎีการ่วมกับจำเลยที่1ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาแล้วฎีกาจำเลยที่2ที่ว่าควรรับฎีกาของจำเลยที่2ฉบับแรกหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดี โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองเป็นการโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทแม้จะมีการดำเนินคดีเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้นก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281-1282/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการใช้เรือโดยประมาทและลักษณะไม่ปลอดภัย, การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.เดินเรือ และประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่2ถึงที่4ตกลงกันเป็นหุ้นส่วนซื้อเรือเอี้ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในกิจการท่องเที่ยวโดยจำเลยที่2มีหน้าที่ไปติดต่อขอซื้อเรือของกลางและเรือลำที่เกิดพลิกคว่ำจำเลยที่3มีหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อจดทะเบียนและขออนุญาตใช้เรือจำเลยที่4มีหน้าที่ในการออกแบบและต่อเติมเรือทั้งสองลำให้เป็นสองชั้นและได้จ้างจำเลยที่1ขับเรือของกลางซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือไปในการรับจ้างขนส่งคนโดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้นจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83 องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา233ที่ว่าน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะไม่ใช่ผลของการกระทำจำเลยใช้เรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารเมื่อเรือนั้นมีลักษณะหรือมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้นแม้ยังไม่มีความเสียหายก็ถือเป็นความผิดสำเร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การฟ้องบังคับจดทะเบียนและขับไล่ ไม่ใช่ประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนกับคดีนี้ แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่ คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใด เท่าใด ดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาท กับขอให้ขับไล่จำเลยที่ 7 และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก: ฟ้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความ หากอ้างกรรมสิทธิ์จากการครอบครอง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกโฉนดที่1969แก่โจทก์จำนวน23ไร่เศษศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องเกิน1ปีจึงขาดอายุความมรดกแต่โจทก์คงได้เท่าที่โจทก์ครอบครองอยู่6ไร่เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินเพียงใดโจทก์ขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยแบ่งที่ดิน6ไร่ให้โจทก์แต่ศาลยกคำร้องเพราะไม่อาจออกคำบังคับได้โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่1969เป็นเนื้อที่6ไร่อันมีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งที่ดิน6ไร่ได้หรือไม่ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วไม่เป็นฟ้องซ้ำตามป.วิ.พ.มาตรา148 หลังจากเจ้ามรดกตายมีการแบ่งปันมรดกโดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดทั้งนี้โจทก์เข้าครอบครองที่ดิน6ไร่ของที่ดินโฉนดที่1969โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ร่วมในโฉนดดังกล่าวได้และมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ ทรัพยสินมรดก และการฟ้องขับไล่ การฟ้องบังคับให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คดีก่อนกับคดีนี้แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกันแต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใดเท่าใดดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาทกับขอให้ขับไล่จำเลยที่7และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148 ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดกแต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้วซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750วรรคหนึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันมียาเสพติดไว้เพื่อขาย และการใช้บทกฎหมายใหม่ที่มีผลต่อโทษ
พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องกันมั่นคงโดยเห็นการกระทำของจำเลยที่2ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งหิ้วถุงพลาสติกซึ่งบรรจุยาม้าของกลางไปส่งให้จำเลยที่1นำไปซุกไว้ที่ใต้เบาะที่นั่งคนขับรถยนต์ของ ส.ชั้นจับกุมจำเลยที่2ก็ให้การรับสารภาพโดยเขียนบันทึกคำให้การด้วยตนเองแม้จำเลยที่2 จะให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน แต่ก็รับว่า บันทึกคำให้การดังกล่าวเป็นลายมือของจำเลยที่2 พยานหลักฐานของโจทก์ มีน้ำหนักและ เหตุผลฟังได้ว่าจำเลยที่2 กับพวก ร่วมกันมียาม้าของกลางไว้เพื่อขาย หลังจากที่จำเลยที่2กระทำความผิดได้มีพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท(ฉบับที่3)พ.ศ.2535แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518โดยเพิ่มเติมมาตรา13ทวิห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขายนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2แยกจากเดิมซึ่งบัญญัติรวมไว้ในมาตรา13และแก้ไขโทษปรับขั้นสูงให้ต่ำลงถือว่าเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่มาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติ และเจ้าของร่วมต้องรับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่ 1 จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้า ส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัย เมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้า ถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2522 กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ฉะนั้น การลดความกว้างของบันไดจึงขัดต่อข้อบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาท โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลน และมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการ ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลัง ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคท้าย
จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาท โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลน และมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการ ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลัง ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคท้าย