พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6234/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายจากการลักทรัพย์: หลักฐานไม่ชัดเจนจำนวนทรัพย์ที่หาย ศาลไม่สามารถบังคับชดใช้ได้
แม้พยานหลักฐานฝ่ายโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ร่วมกันลักน้ำมันของโจทก์ร่วมจริง แต่เมื่อยังฟังไม่ได้แน่นอนว่าจำนวนเท่าใด ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ใช้ราคาทรัพย์แก่เจ้าของได้ ชอบที่โจทก์ร่วมจะไปว่ากล่าวทางแพ่งต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อพิพาทมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
แม้โจทก์จะอ้างว่าที่ดินของโจทก์ที่จำเลยบุกรุกแย่งการครอบครองมีเนื้อที่ 250 ไร่ และเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์250,000 บาท ก็ตามแต่ตามแผนที่พิพาทซึ่งคู่ความรับรองว่าถูกต้องนั้นที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายโต้เถียงกันมีเนื้อที่เพียง 90 ไร่ 1 งาน06 ตารางวา จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่ดินที่พิพาทกันคิดไร่ละ1,000 บาท ตามฟ้องไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์และโจทก์ไม่เคยครอบครองที่พิพาทในฐานะเจ้าของ ที่โจทก์ฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทตลอดมา จำเลยและจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5853/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังสืบพยานไปแล้ว ศาลมีอำนาจได้หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
เหตุที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารใบรับเงินให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยาน ก็เนื่องจากโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารดังกล่าว และได้ยื่นบัญชีระบุพยานเข้ามาในระหว่างที่ยังสืบพยานโจทก์ไม่เสร็จ จำเลยย่อมมีโอกาสตรวจดูเอกสารดังกล่าวและนำพยานมาสืบหักล้างได้ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการที่จะให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อสำคัญในคดีเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเช่นว่านั้น จึงมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5853/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นพยานหลักฐานเพิ่มเติม: ศาลมีอำนาจรับฟังเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หากไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
เหตุที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารใบรับเงินให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยาน ก็เนื่องจากโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารดังกล่าว และได้ยื่นบัญชีระบุพยานเข้ามาในระหว่างที่ยังสืบพยานโจทก์ไม่เสร็จ จำเลยย่อมมีโอกาสตรวจดูเอกสารดังกล่าวและนำพยานมาสืบหักล้างได้ ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการที่จะให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อสำคัญในคดีเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเช่นว่านั้น จึงมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5836/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การฟ้องขับไล่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม, อุทธรณ์ไม่ชัดเจน, หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ
แม้ศาลชั้นต้นจะชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยมิได้หยิบยกปัญหาเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าวการที่จำเลยฎีกาปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ย่อมไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาทฟ้องขับไล่จำเลยเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เพื่อต่อสู้กับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 302 นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ได้ทรัพย์สินคืนมาแล้วต้องเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกัน โจทก์จะอ้างเอาเป็นของตนแต่ผู้เดียวไม่ได้เท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า โจทก์ไม่เสียหาย อุทธรณ์ของจำเลยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก, สิทธิในทรัพย์มรดก, และการแบ่งเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 5677 ซึ่งผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้แก่โจทก์ไว้ จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินโฉนดที่ 5677 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. สามีผู้ตาย โดยส.ให้น.ถือกรรมสิทธิ์แทนส. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้องหรือไม่เพียงใดย่อมหมายรวมถึงว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ด้วย เพราะหากว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นของผู้ตายก็ย่อมไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในตัว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นมรดกของส. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 2 ผู้ตายไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งเป็นของ ส. ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าทรัพย์มรดก จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งตกได้แก่ ส. ผู้ตายไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินซึ่งมิใช่ของตนให้แก่ผู้ใดหาได้ไม่พินัยกรรมซึ่งผู้ตายทำจึงไม่มีผลใช้บังคับนั้น ส. เบิกความไว้ในคดีอาญา สรุปได้ว่า ก่อนที่ผู้ตายจะไปทำพินัยกรรมได้ปรึกษาหารือกับส. ที่บ้านเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินแก่ทายาท ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ส. จะไปด้วยหรือไม่จำไม่ได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ส. ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบว่า มีพินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้ ต่อมา ส. จำเลยที่ 2 โจทก์ และ ก. ไปฟังพินัยกรรม กรณีเป็นที่เห็นได้ว่า ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินโฉนดที่ 5677 พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับพินัยกรรมทั้งสามคนโดย ส. รู้เห็นยินยอมด้วยเมื่อได้มีการอ่านพินัยกรรม ส. ก็มิได้คัดค้านหรือเรียกร้องที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนจากผู้รับพินัยกรรมทั้งสาม ทั้ง ส. ยังได้สละมรดกของผู้ตายตามหนังสือการสละมรดกอีก จากพยานหลักฐานและพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมาแสดงว่า ส. มีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 5677พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้แก่ผู้ตายตั้งแต่ก่อนที่ผู้ตายจะทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแล้ว และเนื่องจากโฉนดที่ดินมีชื่อผู้ตายแต่ผู้เดียว เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอีก ผู้ตายจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทและทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้แก่โจทก์ได้ โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้อง ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเสียค่าใช้จ่ายไป 58,700 บาท แต่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย 30,000 บาท นั้น เป็นจำนวนตามสมควรแล้ว สำหรับค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกของผู้ตายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก ซึ่งจำเลยที่ 1 กระทำแทนทายาทอื่นจึงต้องหักค่าจ้างว่าความ 300,000 บาท จากกองมรดกของผู้ตายสำหรับค่าไถ่ถอนจำนองจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรมเป็นเงิน 130,000 บาท โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับพินัยกรรม จึงต้องรับผิดชอบในการไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรม สำหรับค่าซ่อมบ้านพิพาทตามสภาพบ้านพิพาทปลูกสร้างมาเป็นเวลานาน เมื่อมีการซ่อมแซมใหญ่ค่าซ่อมแซมจำนวน 20,000 บาท เป็นจำนวนอันสมควร ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ต้องรับผิดค่าซ่อมแซมบ้านพิพาท 20,000 บาท นั้น ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายผู้หนึ่งเท่านั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 แต่อย่างใด โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัวยังไม่ได้รับส่วนได้ตามพินัยกรรมโจทก์ย่อมเรียกร้องทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาท และส่งมอบค่าเช่าบ้านพิพาทแก่โจทก์ กับขอให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวด้วยตนเองแม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแก่โจทก์ มิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทได้ถูกเวนคืนไปแล้ว เป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับคดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงขอให้บังคับโดยขอรับเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่ศาลชั้นต้นอายัดไว้จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ เพราะพฤติการณ์ซึ่งทำให้การโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นอันพ้นวิสัยนั้นเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งเงินค่าทดแทน การจัดการมรดกนั้นเป็นประโยชน์ร่วมกันของกองมรดก โจทก์จึงต้องรับผิดชอบตามส่วนที่โจทก์ได้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5667/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีขับไล่ผู้เช่าที่มีค่าเช่าไม่เกิน 2,000 บาท และอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาทตามสัญญาเช่าซึ่งกำหนดไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ค่าเช่าเดือนละ 350 บาทแม้โจทก์จะเรียกค่าเสียหายเดือนละ 10,000 บาท ภายหลังบอกเลิกสัญญามาด้วยทั้งก่อนฟ้องและหลังฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะส่งมอบและออกไปจากตึกพิพาท ค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่ค่าเช่า จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ2,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224(เดิม)ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยยื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ป่าสงวน: อำนาจฟ้องและการยกอายุความ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ที่พิพาทจะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมใช้ยันกันได้ หากฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนแล้ว จำเลยบุกรุกเข้าแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีผู้ใดใช้ประโยชน์บนที่ดิน การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีภายหลังจากที่จำเลยซื้อสิทธิในที่พิพาทจาก ป. รวมเวลาที่ ป. และจำเลยครอบครองเกินกว่าหนึ่งปี คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้อง เป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหน อย่างไร เป็นฎีกาที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองปรปักษ์ในที่ดินป่าสงวน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ที่พิพาทจะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมใช้ยันกันได้ หากฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนแล้ว จำเลยบุกรุกเข้าแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีผู้ใดใช้ประโยชน์บนที่ดิน การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีภายหลังจากที่จำเลยซื้อสิทธิในที่พิพาทจาก ป. รวมเวลาที่ ป.และจำเลยครอบครองเกินกว่าหนึ่งปี คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้อง เป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหน อย่างไร เป็นฎีกาที่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดิน: ศาลพิพากษาให้แบ่งตามส่วนได้ แม้ข้อหาในคำฟ้องไม่ตรงกับวิธีแบ่ง แต่ต้องระบุส่วนแบ่งของทายาทแต่ละคนให้ชัดเจน
การฟ้องเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก และเงินรายได้จากทรัพย์มรดกนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกและรายได้จากที่ดินมรดกได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวขอแบ่งมรดกก่อน โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้ขายทอดตลาดที่ดินมรดกราคาประมาณ8,000,000 บาท แล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วนเป็นเงินประมาณ 1,000,000 บาท การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน หากไม่สามารถทำได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้มีการแบ่งที่ดินมรดกซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามส่วน ตามวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 คำพิพากษาของศาลจึงหาได้ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142แต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง5 ใน 64 ส่วน โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 64 ส่วน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน โดยมิได้ระบุส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนนั้นเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้