คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วิธุรัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดิน: ศาลพิพากษาให้แบ่งตามส่วนได้ แม้ข้อหาในคำฟ้องไม่ตรงกับวิธีแบ่ง แต่ต้องระบุส่วนแบ่งของทายาทแต่ละคนให้ชัดเจน
การฟ้องเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก และเงินรายได้จากทรัพย์มรดกนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกและรายได้จากที่ดินมรดกได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวขอแบ่งมรดกก่อน โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้ขายทอดตลาดที่ดินมรดกราคาประมาณ8,000,000 บาท แล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วนเป็นเงินประมาณ 1,000,000 บาท การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน หากไม่สามารถทำได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้มีการแบ่งที่ดินมรดกซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามส่วน ตามวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 คำพิพากษาของศาลจึงหาได้ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142แต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง5 ใน 64 ส่วน โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 64 ส่วน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน โดยมิได้ระบุส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนนั้นเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับคดีซื้อขายแม้จำเลยไมลงลายมือชื่อ-การชำระหนี้บางส่วนเพียงพอ
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และโจทก์ได้ชำระราคาบางส่วนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง และแม้ว่าจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อใน หนังสือสัญญาการซื้อขายที่ดินพิพาท โดย ค. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแทนจำเลยไป ไม่ว่าจะมีการมอบอำนาจเป็นหนังสือหรือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตามก็ไม่กระทบกระเทือนถึง อำนาจฟ้องของโจทก์ ที่จำเลยขอให้เรียกบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารมา ตรวจสอบประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น เมื่อคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเรียกเอกสารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้ขายโดยตรง
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และโจทก์ได้ชำระราคาบางส่วนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง และแม้ว่าจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาการซื้อขายที่ดินพิพาท โดย ค.ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแทนจำเลยไป ไม่ว่าจะมีการมอบอำนาจเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรรือไม่ก็ตามก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจฟ้องของโจทก์
ที่จำเลยขอให้เรียกบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารมาตรวจสอบประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น เมื่อคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเรียกเอกสารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง บ.กับ อ.ที่จำเลยนำมาสืบเป็นหลักฐานประกอบพยานจำเลย เอกสารฉบับนี้โจทก์มิได้เป็นผู้เก็บรักษาและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการซื้อที่พิพาทระหว่าง บ.กับ อ. กรณีเช่นนี้จำเลยจึงชอบที่จะนำสืบได้โดยไม่จำต้องถามค้านโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินและสิทธิครอบครอง: หลักฐานฝ่ายใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง บ. กับ อ.ที่จำเลยนำมาสืบเป็นหลักฐานประกอบพยานจำเลย เอกสารฉบับนี้โจทก์มิได้เป็นผู้เก็บรักษาและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆกับการซื้อที่พิพาทระหว่าง บ. กับ อ. กรณีเช่นนี้จำเลยจึงชอบที่จะนำสืบได้โดยไม่จำต้องถามค้านโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินของวัดให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย ไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนายินยอมให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการเทคอนกรีตในที่ดินพิพาทเป็นผืนเดียวกับถนนสายเถินบุรี เพื่อใช้เป็นที่จอดรถ เป็นวงเวียนให้รถอ้อม และให้สร้างป้องตำรวจในที่ดินพิพาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย กรณีดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิอุทิศที่ดินวัดเพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนายินยอมให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการเทคอนกรีตในที่ดินพิพาทเป็นผืนเดียวกับถนนสายเถินบุรี เพื่อใช้เป็นที่จอดรถ เป็นวงเวียนให้รถอ้อม และให้สร้างป้อมตำรวจในที่ดินพิพาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย กรณีดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินของวัดให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย และการไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
วัดโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา โดยใช้เป็นที่จัดงานประเพณีของวัด ขณะที่ไม่มีงานโจทก์ก็ใช้เป็นที่จอดรถของผู้มาจ่ายตลาดและโจทก์เป็นผู้ดูแลรักษาความสะอาด แต่ที่ดินพิพาทมีบ่อน้ำ 2 บ่อ บ่อหนึ่งเป็นวงเวียนให้รถขับอ้อม อีกบ่อหนึ่งอยู่ติดกำแพงวัด ราษฎรได้ช่วยกันสร้างป้อมตำรวจคร่อมบ่อน้ำดังกล่าวไว้ โดยเรี่ยไรเงินมาทำ ซึ่งต่อมาสุขาภิบาลจำเลยได้ให้งบประมาณมาเทคอนกรีตในที่ดินพิพาทให้เป็นผืนเดียวกันกับถนนสาธารณะเพื่อใช้เป็นที่สัญจรและจอดรถ อันเป็นลักษณะยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยายแล้ว วัดอุทิศที่ดินของวัดให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 หรือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกวดราคาซื้อเครื่องจักร: ความล่าช้าในการทำสัญญาและการแก้ไขข้อตกลง ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
การประกวดราคาซื้อเครื่องจักรพิพาทมีการเปิดซองประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2528 แต่คณะกรรมการโจทก์เพิ่งประชุมและมีมติให้จัดซื้อจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2528ก่อนสิ้นกำหนดการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 แจ้งไว้ในการประกวดราคาเพียง 2 วัน และข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวก็ไม่ได้มีอยู่ในเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิขอให้แก้ไขข้อสัญญาเหล่านั้นได้ เมื่อโจทก์แก้ไขสัญญาล่าช้า จนกระทั่งเลยกำหนดเวลาในการยื่นราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ขยายให้และผู้ขายต่างประเทศบอกเลิกการขายแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็ยังแก้ไขสัญญาไม่เสร็จความล่าช้าในการทำสัญญาจึงไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์ แล้วไม่ยอมทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ เป็นการผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงเองซึ่งตรงประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์หรือไม่ โดยไม่ได้นำคำให้การของที่ 1 ที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ยื่นซองประกวดราคามากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพราะเห็นว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ไม่เป็นสาระ โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการชี้สองสถานไว้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 นำสืบตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวและรับฟังพยานของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว หาใช่กรณีที่คำให้การจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยที่ 1จะนำสืบตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการทำสัญญาหลังประกวดราคา: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากโจทก์เป็นฝ่ายล่าช้า
การประกวดราคาซื้อเครื่องจักรพิพาทมีการเปิดซองประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2528 แต่คณะกรรมการโจทก์เพิ่งประชุมและมีมติให้จัดซื้อจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2528 ก่อนสิ้นกำหนดการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1แจ้งไว้ในการประกวดราคาเพียง 2 วัน และข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวก็ไม่ได้มีอยู่ในเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิขอให้แก้ไขข้อสัญญาเหล่านั้นได้ เมื่อโจทก์แก้ไขสัญญาล่าช้า จนกระทั่งเลยกำหนดเวลาในการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ขยายให้และผู้ขายต่างประเทศบอกเลิกการขายแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็ยังแก้ไขสัญญาไม่เสร็จ ความล่าช้าในการทำสัญญาจึงไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์ แล้วไม่ยอมทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ เป็นการผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงเอง ซึ่งตรงประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์หรือไม่ โดยไม่ได้นำคำให้การของที่ 1 ที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ยื่นซองประกวดราคามากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพราะเห็นว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ไม่เป็นสาระ โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการชี้สองสถานไว้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 นำสืบตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวและรับฟังพยานของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว หาใช่กรณีที่คำให้การจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยที่ 1 จะนำสืบตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่
of 79