พบผลลัพธ์ทั้งหมด 781 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าของผู้เชี่ยวชาญไม่สมบูรณ์ ศาลต้องดำเนินการตามคำท้าให้ครบถ้วน
คู่ความท้ากัน 2 ประการ แต่หนังสือของศาลชั้นต้นคงขอให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์ปัญหาประการแรกว่า ตัวเลข 2 ได้เขียนขึ้นในคราว-เดียวกัน หรือเขียนเติมขึ้นในภายหลังเท่านั้น ปัญหาประการที่สองที่ว่าตัวเลข 2เขียนด้วยหมึกจากปากกาคนละด้ามกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ จึงยังไม่เป็นไปตามคำท้าที่จะถือว่าโจทก์แพ้คดีได้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำท้าของคู่ความให้ครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าของผู้เชี่ยวชาญไม่ครบถ้วน ทำให้ศาลมิอาจพิพากษาตามคำท้าได้
คู่ความท้ากัน 2 ประการ แต่หนังสือของศาลชั้นต้นคงขอให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์ปัญหาประการแรกว่า ตัวเลข 2 ได้เขียนขึ้นในคราวเดียวกัน หรือเขียนเติมขึ้นในภายหลังเท่านั้นปัญหาประการที่สองที่ว่าตัวเลข 2 เขียนด้วยหมึกจากปากกาคนละด้ามกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ จึงยังไม่เป็นไปตามคำท้าที่จะถือว่าโจทก์แพ้คดีได้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำท้าของคู่ความให้ครบถ้วนเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อความผิดเดิม: การยกฟ้องเนื่องจากกฎหมายโรงงานใหม่ยกเลิกข้อกำหนดเดิม
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 8,12,43 และ 44 แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 ออกมายกเลิกพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมดปรากฏว่าโรงงานของจำเลยเป็นโรงงานตัดหรือเย็บเครื่องนุ่งห่มมีคนงานไม่เกิน 50 คน จึงเป็นโรงงานจำพวกที่ 2 ตามมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกอบกับกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ระบุไว้ว่าการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตและไม่มีบทกำหนดโทษไว้เช่นพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่า ตามบทพระราชบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้น จากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยกฟ้องฐานตั้งโรงงาน! กฎหมายใหม่ยกเลิกข้อกำหนดใบอนุญาต
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ยกเลิก พ.ร.บ.โรงงานฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการโรงงานเช่นจำเลยจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และไม่มีบทกำหนดโทษเช่น พ.ร.บ.โรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 185, 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า ทำให้จำเลยพ้นผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตั้งโรงงาน ประกอบกิจการโรงงานและรับเด็กอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่ถึงสิบห้าปีบริบูรณ์เข้าทำงานในโรงงานดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ดังนี้ แม้ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามฟ้อง แต่เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ออกมายกเลิกพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมด และเมื่อปรากฏว่าโรงงานของจำเลยเป็นโรงงานซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ระบุไว้ว่าการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตและไม่มีบทกำหนดโทษไว้ เช่น พระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่า ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานตั้งโรงงาน และฐานประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามที่โจทก์ฟ้องและศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 และ225 แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า ทำให้จำเลยพ้นความผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงาน และประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่ระหว่าง การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ยกเลิก พระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการโรงงานเช่นจำเลยจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และไม่มีบทกำหนดโทษเช่น พระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ในข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5109/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีขยายโดยปริยาย การบอกเลิกสัญญา และดอกเบี้ยทบต้น
เมื่อพ้นกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 21 มิถุนายน2528 แล้ว จำเลยยังคงเบิกเงินเกินบัญชีต่อไป และยังมีการนำเงินเข้าบัญชีอยู่อีก ซึ่งโจทก์ก็ยอมถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงกันขยายอายุสัญญาออกไปโดยปริยายเช่นนี้สัญญาจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 859 ปรากฏว่าโจทก์ได้หักทอนบัญชีและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่กรณีชำระหนี้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2531 ซึ่งมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1การเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในช่วงเวลาตั้งแต่ 21 มิถุนายน 2528 ถึงก่อนวันที่31 มีนาคม 2531 จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ความข้อนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5109/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีขยายอายุโดยปริยาย การคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ขัดกฎหมาย
เมื่อพ้นกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 21 มิถุนายน2528 แล้ว จำเลยยังคงเบิกเงินเกินบัญชีต่อไป และยังมีการนำเงินเข้าบัญชีอยู่อีก ซึ่งโจทก์ก็ยอมถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงกันขยายอายุสัญญาออกไปโดยปริยายเช่นนี้สัญญาจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 859 ปรากฏว่าโจทก์ได้หักทอนบัญชีและแจ้งให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคู่กรณีชำระหนี้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2531 ซึ่งมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 การเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในช่วงเวลาตั้งแต่ 21 มิถุนายน 2528 ถึงก่อนวันที่31 มีนาคม 2531 จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ความข้อนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน เจ้าของรวมต้องยินยอม การขายตัวทรัพย์ที่ไม่ได้รับความยินยอมเป็นโมฆะ
จำเลยกับ ว. และ จ. เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันโดยไม่ได้แบ่งแยกกันครอบครอง สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการขายตัวทรัพย์จะขายโดยมิได้รับความยินยอมของ ว. และ จ.ผู้เป็นเจ้าของรวมด้วยหาได้ไม่ ฉะนั้น สัญญาซื้อขายที่พิพาทดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ให้เช่าในการเข้ายึดคืนห้องเช่าเมื่อสัญญาครบกำหนดและผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญา
หนังสือสัญญาเช่าห้องพักระหว่างบ.ผู้เช่ากับจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าข้อ 3 ระบุว่า "ผู้เช่ายอมชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าภายในวันที่ 30 ของเดือนทุก ๆ เดือน ถ้าไม่ชำระตามกำหนดนี้ ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ายึดเงินประกันของผู้เช่าได้และใส่กุญแจห้องผู้เช่าก็ได้ หรือผู้เช่ายินยอมอนุญาตให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องเช่าได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ" ข้อ 9 ระบุว่า"ถ้าผู้เช่าประพฤติผิดล่วงละเมิดสัญญาแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใด หรือกระทำผิดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใด ยอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเข้ายึดครอบครองสถานที่และสิ่งที่เช่าได้โดยพลันและมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที" และข้อ 10 ระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าก็ดีหรือผู้เช่าผิดสัญญาเช่าก็ดี ผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่า" ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาและจำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าด้วยแล้ว บ.และผู้เสียหายซึ่งอยู่ในห้องพิพาทโดยอาศัยสิทธิ บ. ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในห้องพิพาทต่อไป เมื่อ บ. ไม่ยอมออกไปจากห้องพิพาทจำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิตามหนังสือสัญญาเช่าห้องพัก โดยเข้าไปในห้องพิพาทแล้วใช้คีมหนีบกุญแจลูกบิดประตู บานพับหน้าต่างถอดเอาสะพานไฟฟ้าและเครื่องรับโทรศัพท์ในห้องพิพาทออกไปจึงไม่มีมูลความผิดฐานบุกรุก