คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัมพร ทองประยูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความและการระงับข้อพิพาทในคดีแรงงาน: ผลผูกพันและการขอบเขต
ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่า สิทธิของจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปเนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องและประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ศาลแรงงานและรับเงินจากโจทก์ไปแล้ว เมื่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในจำนวนค่าเสียหายตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ที่พึงได้รับจากโจทก์นั้นได้ระงับไปด้วยการประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว และด้วยเหตุประนีประนอมยอมความเดียวกันนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ตามที่ฟ้องย่อมระงับไปด้วยเช่นกัน ศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ฟ้องตลอดจนที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่กำหนดให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งภายใน 10 วัน แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อพ้นกำหนดนั้นระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่อายุความฟ้องร้องคดี ทั้งมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ตามมาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้นก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้เพิกถอนเสียได้
คำสั่งที่กำหนดจำนวนค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลก่อให้เกิดหนี้แก่โจทก์ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ทางแพ่ง ทั้งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นคู่กรณีย่อมมีสิทธิที่จะตกลงประนีประนอมยอมความเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามใจสมัครโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับ
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ระบุชัดแจ้งว่า โจทก์ยอมชำระเงินและจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ตกลงยอมรับเป็นค่าตอบแทนเนื่องในการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใด ๆ มากกว่านั้นอีก แสดงชัดว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับสิทธิหรือข้อพิพาทที่เนื่องมาจากการเลิกจ้างนั้นทุกประเภท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความที่มีผลรวมถึงค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดังกล่าวโดยตรงหาได้ติดใจโต้แย้งในปัญหานี้ไม่ จึงเป็นเครื่องชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในการทำความตกลงเป็นการประนีประนอมยอมความรวมถึงค่าเสียหายทั้งหมดทุกประเภทที่มีหรืออาจมีขึ้นเนื่องจากการเลิกจ้างอันเป็นมูลแห่งข้อพิพาทนั้นสิ้นเชิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง และขอบเขตของการประนีประนอมยอมความ
ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าสิทธิของจำเลยที่1ได้ระงับไปเนื่องจากจำเลยที่1ได้ฟ้องและประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ศาลแรงงานและรับเงินจากโจทก์ไปแล้วเมื่อสิทธิของจำเลยที่1ในจำนวนค่าเสียหายตามคำสั่งของจำเลยที่4ถึงที่16ที่พึงได้รับจากโจทก์นั้นได้ระงับไปด้วยการประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วและด้วยเหตุประนีประนอมยอมความเดียวกันนี้สิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่4ถึงที่16ตามที่ฟ้องย่อมระงับไปด้วยเช่นกันศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่4ถึงที่16ในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับจำเลยที่1ตามที่โจทก์ฟ้องตลอดจนที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่กำหนดให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งภายใน10วันแต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อพ้นกำหนดนั้นระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่อายุความฟ้องร้องคดีทั้งมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ตามมาตรา8วรรคท้ายเมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้นก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้เพิกถอนเสียได้ คำสั่งที่กำหนดจำนวนค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลก่อให้เกิดหนี้แก่โจทก์ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งทั้งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นคู่กรณีย่อมมีสิทธิที่จะตกลงประนีประนอมยอมความเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามใจสมัครโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับ บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2และที่3ระบุชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมชำระเงินและจำเลยที่2กับที่3ตกลงยอมรับเป็นค่าตอบแทนเนื่องในการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่2และที่3โดยจำเลยที่2และที่3ไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใดๆมากกว่านั้นอีกแสดงชัดว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับสิทธิหรือข้อพิพาทที่เนื่องมาจากการเลิกจ้างนั้นทุกประเภทจึงเป็นการประนีประนอมยอมความที่มีผลรวมถึงค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดังกล่าวโดยตรงหาได้ติดใจโต้แย้งในปัญหานี้ไม่จึงเป็นเครื่องชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยที่2และที่3ในการทำความตกลงเป็นการประนีประนอมยอมความรวมถึงค่าเสียหายทั้งหมดทุกประเภทที่มีหรืออาจมีขึ้นเนื่องจากการเลิกจ้างอันเป็นมูลแห่งข้อพิพาทนั้นสิ้นเชิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนการขายเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย การฟ้องคดีขาดอายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้าโดยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ขายสินค้าได้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายอัตราร้อยละ1.5ของยอดขายแต่หากโจทก์เป็นเพียงผู้ประสบงานภายหลังการขายโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนค่าตอบแทนการขายตามฟ้องเป็นค่าตอบแทนงวดเดือนธันวาคม2535ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อตกลงที่กล่าวแล้วโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้าหรืออีกนัยหนึ่งคือพนักงานขายนอกจากโจทก์จะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างประจำแล้วหากโจทก์เป็นผู้ขายสินค้าได้เองโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายในอัตราร้อยละ1.5ของยอดขายด้วยค่าตอบแทนการขายนี้โจทก์จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่โจทก์สามารถขายได้ค่าตอบแทนการขายจึงเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงานโดยคิดตามผลงานที่โจทก์ทำได้เมื่อค่าตอบแทนการขายจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้และมีกำหนดงวดเวลาจ่ายไว้แน่นอนเงินค่าตอบแทนการขายจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ค่าตอบแทนการขายในคดีนี้เป็นค่าตอบแทนที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในงวดเดือนธันวาคม2535ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการขายดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม2536เป็นต้นมาโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่3กุมภาพันธ์2538จึงเกิน2ปีนับแต่โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนการขายเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฟ้องคดีเกินอายุความ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้า โดยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ขายสินค้าได้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายอัตราร้อยละ 1.5ของยอดขาย แต่หากโจทก์เป็นเพียงผู้ประสานงานภายหลังการขายโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าตอบแทนการขายตามฟ้องเป็นค่าตอบแทนงวดเดือนธันวาคม2535 ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อตกลงที่กล่าวแล้ว โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้าหรืออีกนัยหนึ่งคือพนักงานขาย นอกจากโจทก์จะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างประจำแล้ว หากโจทก์เป็นผู้ขายสินค้าได้เองโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายในอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดขายด้วย ค่าตอบแทนการขายนี้โจทก์จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่โจทก์สามารถขายได้ค่าตอบแทนการขายจึงเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงาน โดยคิดตามผลงานที่โจทก์ทำได้ เมื่อค่าตอบแทนการขายจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้และมีกำหนดงวดเวลาจ่ายไว้แน่นอน เงินค่าตอบแทนการขายจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
ค่าตอบแทนการขายในคดีนี้เป็นค่าตอบแทนที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในงวดเดือนธันวาคม 2535 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการขายดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2536 เป็นต้นมา โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเกิน 2 ปีนับแต่โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: ค่าตอบแทนการขายพนักงานขายเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฟ้องเกิน 2 ปี ขาดอายุความ
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้า นอกจากค่าจ้างประจำแล้ว หากโจทก์ขายสินค้าได้เองโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายในอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดขายด้วย จึงเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้และมีกำหนดเวลาจ่ายไว้แน่นอน จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ซึ่งค่าตอบแทนการขายนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระภายใน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: ค่าตอบแทนการขายตามผลงานเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน ฟ้องเกิน 2 ปี คดีขาดอายุความ
โจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งพนักงานขายของจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้านอกจากโจทก์จะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างประจำแล้วหากโจทก์ขายสินค้าได้เองโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายในอัตราร้อยละ1.5ของยอดขายด้วย ค่าตอบแทนการขายนี้โจทก์จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่โจทก์สามารถขายได้ค่าตอบแทนการขายจึงเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้และมีกำหนดงวดเวลาจ่ายไว้แน่นอนเงินค่าตอบแทนการขายจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งค่าตอบแทนการขายนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระภายใน2ปีนับแต่โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าอาหารพนักงานกะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายประกันสังคม
โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ 5 บาท เพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ดังเช่นลูกจ้างที่ทำงานกลางวัน แม้โจทก์จะจ่ายให้เป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 5สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินช่วยเหลือค่าอาหารดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณเงินสมทบ โจทก์ส่งเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 2แล้ว เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 2 ไม่ถูกต้องตามกฎหมายต้องคืนเงินให้แก่โจทก์เมื่อไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ต้องฟ้องบังคับ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้อง โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าอาหาร/ค่ากะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม นายจ้างมีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้เงินสนับสนุนร้านค้าเดือนละ15,000บาทเพื่อนำอาหารราคาถูกมาจำหน่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์เฉพาะลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานตั้งแต่เวลา8นาฬิกาถึง17นาฬิกาและลูกจ้างประเภทพนักงานกะเช้าที่ทำงานตั้งแต่เวลา6.30นาฬิกาถึง18.30นาฬิกาเท่านั้นส่วนพนักงานกะดึกที่ทำงานตั้งแต่เวลา18.30นาฬิกาถึง6.30นาฬิกาและลูกจ้างอื่นๆที่ทำงานล่วงเวลาหลังเวลา18.30นาฬิกาโจทก์ให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารในอัตราชั่วโมงละ5บาทเนื่องจากลูกจ้างที่ทำงานในรอบกลางคืนไม่มีร้านอาหารจัดอาหารราคาถูกจำหน่ายให้เหตุที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ5บาทเนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ลูกจ้างดังเช่นลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานกลางวันและพนักงานกะเช้านอกจากนี้โจทก์ยังจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่พนักงานทั่วไปที่ทำงานเวลากลางวันหากต้องมาทำงานล่วงเวลาในช่วงเวลาหลัง18.30นาฬิกานอกเหนือจากค่าล่วงเวลาอีกด้วยเห็นได้ว่าการที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นเงินสวัสดิการแก่ลูกจ้างโดยแท้แม้เงินดังกล่าวโจทก์จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติฉะนั้นไม่ว่าจะเรียกเงินดังกล่าวว่าเป็นเงินช่วยเหลือค่าอาหารหรือเงินค่ากะดึกเงินดังกล่าวก็ไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533มาตรา5 แม้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมจำเลยที่2พิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเป็นการใช้ดุลพินิจและพิจารณาตามอำนาจที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินไปชำระตามคำสั่งของจำเลยที่2ก็ตามแต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำเลยที่1และจำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าอาหารพนักงานกะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม
โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ5บาทเพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ดังเช่นลูกจ้างที่ทำงานกลางวันแม้โจทก์จะจ่ายให้เป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533มาตรา5สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินช่วยเหลือค่าอาหารดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณเงินสมทบ โจทก์ส่งเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่2แล้วเมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่จำเลยที่2ไม่ถูกต้องตามกฎหมายต้องคืนเงินให้แก่โจทก์เมื่อไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ต้องฟ้องบังคับจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าอาหาร/ค่ากะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้เงินสนับสนุนร้านค้าเดือนละ 15,000บาท เพื่อนำอาหารราคาถูกมาจำหน่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์เฉพาะลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา และลูกจ้างประเภทพนักงานกะเช้าที่ทำงานตั้งแต่เวลา 6.30 นาฬิกา ถึง 18.30 นาฬิกาเท่านั้น ส่วนพนักงานกะดึกที่ทำงานตั้งแต่เวลา 18.30 นาฬิกา ถึง 6.30 นาฬิกาและลูกจ้างอื่น ๆ ที่ทำงานล่วงเวลาหลังเวลา 18.30 นาฬิกา โจทก์ให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารในอัตราชั่วโมงละ 5 บาท เนื่องจากลูกจ้างที่ทำงานในรอบกลางคืนไม่มีร้านอาหารจัดอาหารราคาถูกจำหน่ายให้ เหตุที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ 5 บาท เนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ลูกจ้างดังเช่นลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานกลางวันและพนักงานกะเช้า นอกจากนี้โจทก์ยังจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่พนักงานทั่วไปที่ทำงานเวลากลางวันหากต้องมาทำงานล่วงเวลาในช่วงเวลาหลัง 18.30นาฬิกา นอกเหนือจากค่าล่วงเวลาอีกด้วย เห็นได้ว่า การที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นเงินสวัสดิการแก่ลูกจ้างโดยแท้ แม้เงินดังกล่าวโจทก์จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกเงินดังกล่าวว่าเป็นเงินช่วยเหลือค่าอาหาร หรือเงินค่ากะดึก เงินดังกล่าวก็ไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 5
แม้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม จำเลยที่ 2 พิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเป็นการใช้ดุลพินิจและพิจารณาตามอำนาจที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินไปชำระตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องฟ้องบังคับ จำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
of 58