พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าและความผิดฐานทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
จำเลยใช้มีดซึ่งมีความยาวทั้งตัวมีดและด้ามประมาณ 1 ฟุตฟันผู้เสียหายที่ 1 ที่บริเวณใบหน้าซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญขณะผู้เสียหายที่ 1 นั่งขับรถจักรยานยนต์ซึ่งไม่มีโอกาสหลบเลี่ยงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลขอบเรียบยาว 15 เซนติเมตรพาก*จากหน้าผากยาวไปยังโหนกแก้ม แผลลึกถึงกะโหลกศีรษะ มีรอยแตกของกระดูกไปตามแผลยาว 13 เซนติเมตร ลึก 0.3 เซนติเมตร มีอาการบวมช้ำของขอบตาขวาใกล้กับรอยแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์เช่นนี้จำเลยย่อมจะต้องเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงแก่ความตายได้ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ส่วนการที่จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ 2 รวม 2 ครั้ง แต่ขณะจำเลยจะฟันผู้เสียหายที่ 2 รู้ตัวล่วงหน้าได้ยกแขนขึ้นรับจำเลยย่อมจะต้องเห็นอยู่แล้วว่าผู้เสียหายที่ 2 ยกแขนขึ้นรับไว้ก่อนแล้วต้องถือว่าจำเลยมีความประสงค์จะฟันแขนผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น ซึ่งมิใช่อวัยวะสำคัญที่จะเล็งเห็นว่าอาจทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 2แต่มีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธรับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การห่อหุ้มตามไปรษณียนิเทศ ไม่ถือเป็นการละเมิด
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ข้อ 131.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห่อซองหรือการหุ้มห่อสำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทของตีพิมพ์ว่า"ต้องได้รับการหุ้มห่อในลักษณะที่สิ่งบรรจุภายในได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถเปิดตรวจได้โดยสะดวกรวดเร็ว เช่น ใช้แถบกระดาษพันไว้ ใส่ไว้ในหลอดกระดาษแข็ง ใส่ไว้ในระหว่างกระดาษแข็ง ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ไม่ปิดผนึก ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว" ซึ่งจะเห็นได้ว่า ของตีพิมพ์นั้นอาจใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกก็ได้ แต่ต้องเป็นการใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยวิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว แต่ของตีพิมพ์ของโจทก์เป็นนิตยสารซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษขาว ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองตลอดความยาวของซองและใช้เชือกขาวผูกรัดด้วยเงื่อนตายซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากต้องการเปิดตรวจ จะต้องแก้หรือตัดเชือกขาวที่ผูกรัดด้วยเงื่อนตายออกแล้วต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทปซึ่งอาจทำให้ซองขาด และไม่อาจปิดผนึกใหม่ได้โดยไม่ใช้เทปใหม่ การเข้าห่อซองของตีพิมพ์ของโจทก์เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ซองที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็วตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ 131.1 สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯข้อ 144.1 นี้เช่นกัน เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1 และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ลงวันที่25 มิถุนายน 2524 ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการรับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การห่อหุ้มตามไปรษณียนิเทศ
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ข้อ 131.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห่อซองหรือการหุ้มห่อสำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทของตีพิมพ์ว่า "...ต้องได้รับการหุ้มห่อในลักษณะที่สิ่งบรรจุภายในได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถเปิดตรวจได้โดยสะดวก รวดเร็ว เช่น ใช้แถบกระดาษพันไว้ ใส่ไว้ในหลอดกระดาษแข็ง ใส่ไว้ในระหว่างกระดาษแข็ง ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ไม่ปิดผนึก ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว..." ซึ่งจะเห็นได้ว่า ของตีพิมพ์นั้นอาจใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกก็ได้ แต่ต้องเป็นการใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยวิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว แต่ของตีพิมพ์ของโจทก์เป็นนิตยสารซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษขาว ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1เซนติเมตร ปิดทับฝาซองตลอดความยาวของซองและใช้เชือกขาวผูกรัดด้วยเงื่อนตายซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากต้องการเปิดตรวจ จะต้องแก้หรือตัดเชือกขาวที่ผูกรัดด้วยเงื่อนตายออก แล้วต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทปซึ่งอาจทำให้ซองขาด และไม่อาจปิดผนึกใหม่ได้โดยไม่ใช้เทปใหม่ การเข้าห่อซองของตีพิมพ์ของโจทก์เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ซองที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็วตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ 131.1
สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1 กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ144.1 นี้เช่นกัน
เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และพ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2524ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1 กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ144.1 นี้เช่นกัน
เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และพ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2524ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: จำเลยไม่ใช่เจ้าของสิทธิโดยตรง โจทก์ฟ้องไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปดูแล เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทโดยตรง ทั้งกฎหมายได้ให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุและมีหน้าที่ในกิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้ทำการแทนหรือตัวแทนกระทรวงการคลังเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องกระทรวงการคลังเป็นจำเลยด้วยคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงไม่อาจผูกพันกระทรวงการคลังผู้เป็นเจ้าของสิทธิในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการกระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: การพิพากษาห้ามเข้าเกี่ยวข้องที่ดิน กับสิทธิเจ้าของร่วม
ในสำนวนคดีก่อน จำเลยทั้งสามในคดีนี้ฟ้องขอให้ห้ามส. และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินตามฟ้องซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ส. ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับพี่น้องโดย ได้รับมรดกมาจากมารดา หมายความว่า ส. กับโจทก์ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันมีฐานะเท่าเทียมกันในที่ดิน มิใช่บริวารซึ่งกันและกัน และจำเลยทั้งสามก็ไม่ได้ขอให้ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวในฐานะเป็นบริวารของ ส. เพื่อให้คำพิพากษาคดีดังกล่าวมีผลบังคับแก่โจทก์ด้วยโจทก์จึงมิใช่คู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: โจทก์ไม่ใช่คู่ความเดิมจึงไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
ในสำนวนคดีก่อน จำเลยทั้งสามในคดีนี้ฟ้องขอให้ห้าม ส.และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินตามฟ้องซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ส.ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับพี่น้องโดยได้รับมรดกมาจากมารดา หมายความว่า ส.กับโจทก์ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันมีฐานะเท่าเทียมกันในที่ดิน มิใช่บริวารซึ่งกันและกัน และจำเลยทั้งสามก็ไม่ได้ขอให้ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวในฐานะเป็นบริวารของ ส. เพื่อให้คำพิพากษาคดีดังกล่าวมีผลบังคับแก่โจทก์ด้วยโจทก์จึงมิใช่คู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานตามโครงการ: ศาลฎีกายกอุทธรณ์ข้อโต้แย้งเรื่องวันสิ้นสุดสัญญา เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างรับฟังแล้ว
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า งานที่โจทก์ทำเป็นงานตามโครงการและสัญญาจ้างที่โจทก์ทำไว้กับจำเลย ได้กำหนดวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ตั้งแต่วันทำสัญญา โจทก์อุทธรณ์ว่างานที่จำเลยจ้างเป็นงานตามสัญญาจ้างทำของไม่ใช่งานตามโครงการ สัญญาจ้างโจทก์ไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ จำเลยมากรอกวันสิ้นสุดของการจ้างในภายหลังเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับนายจ้างกำหนดอัตราค่าชดเชยสูงกว่ากฎหมาย ถือเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
เมื่อข้อบังคับเรื่องเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินทดแทนของนายจ้างกำหนดให้จ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามจำนวนปีทำงานของลูกจ้าง ประกอบกับจำนวนค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าวก็เป็นไปตามอัตราค่าชดเชยในข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ทั้งนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างสูงกว่าอัตราค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานด้วย ข้อบังคับของนายจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง
สาระสำคัญที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลายคนในหนี้รายเดียวกันต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสองก็คือการยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันโดยไม่จำต้องทำสัญญาเป็นฉบับเดียวกัน หรือต้องแสดงเจตนาโดยแน่ชัดว่าจะร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้ใน มูลหนี้รายเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองแทน vs. ครอบครองเพื่อตนเอง และการกำหนดค่าทนายความ
บิดาจำเลยให้โจทก์อาศัยอยู่บนที่ดินพิพาทโดยไม่มีเจตนายกให้แม้โจทก์ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทไว้ตามใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้บิดาจำเลยทราบ จึงยังไม่ถือว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองจากผู้อาศัยมาเป็นครอบครองเพื่อตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว คดีนี้เป็นคดีที่พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ตามตาราง 6 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้