คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัมพร ทองประยูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนเจตนาการยึดถือครองที่ดินจากแทนโจทก์เป็นแย่งการครอบครอง ทำให้สิทธิในการครอบครองเดิมขาดอายุ
แม้เดิมจำเลยจะยึดถือที่พิพาทไว้เพื่อทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้อันเป็นการยึดถือไว้แทนโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอนที่ดินพิพาทคืน จำเลยไม่ยอมให้โจทก์ไถ่ถอนคืน กรณีจึงเป็นการที่จำเลยยึดถือที่ดินพิพาทอยู่ในฐานะผู้แทนผู้ครอบครองคือโจทก์ แล้วจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป เป็นการแสดงเจตนาแย่งการครอบครองจากโจทก์ตลอดมา โจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ย่อมหมดสิทธิจะเอาคืนซึ่งการครองครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดินหลังจากการยึดถือแทนโจทก์ สิทธิในการฟ้องเรียกคืนครอบครองขาดอายุความ
แม้เดิมจำเลยจะยึดถือที่พิพาทไว้เพื่อทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้อันเป็นการยึดถือไว้แทนโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอนที่ดินพิพาทคืนจำเลยไม่ยอมให้โจทก์ไถ่ถอนคืน กรณีจึงเป็นการที่จำเลยยึดถือที่ดินพิพาทอยู่ในฐานะผู้แทนผู้ครอบครองคือโจทก์ แล้วจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป เป็นการแสดงเจตนาแย่งการครอบครองจากโจทก์ตลอดมา โจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ย่อมหมดสิทธิจะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: มารดาผู้มีอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวให้ความยินยอมรับบุตรบุญธรรมได้
การที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่ากันโดยมีข้อตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในอำนาจปกครองของมารดานั้น มีผลทำให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1520,1566(6) ฉะนั้น เมื่อมารดายินยอมให้บุตรผู้เยาว์ไปเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลภายนอกแล้วก็ชอบที่จะไปดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้สั่งอนุญาตแทนบิดาซึ่งหมดอำนาจปกครองแล้วอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าและการยินยอมรับบุตรบุญธรรม
เมื่อบิดามารดาหย่าขาดจากกันโดยตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของมารดา ดังนั้น บิดาย่อมไม่มีอำนาจปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520,1566(6) อำนาจปกครองจึงตกแก่มารดาแต่ผู้เดียว มารดาจึงมีอำนาจให้ความยินยอมในการที่บุคคลภายนอกจะรับบุตรผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมได้เพียงลำพังโดยไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้สั่งอนุญาตแทนบิดาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจรับสินค้าชำรุด: ความรับผิดของผู้ซื้อมีส่วน, ค่าปรับลดลง
การตรวจสินค้าที่จำเลยส่งมอบตามสัญญาซื้อขายอะไหล่รถแทรกเตอร์นั้น ตรวจจากการดูยี่ห้อ หมายเลข และการใช้งานมาแล้วซึ่งเป็นการตรวจสอบที่ไม่ต้องใช้วิธีการตรวจที่ซับซ้อนยุ่งยากใช้เวลามากแต่อย่างใด เป็นการตรวจสอบตามปกติที่คณะกรรมการควรกระทำก่อนรับมอบสินค้าและหากกระทำเสียในคราวเดียวกับการตรวจรับสินค้าครั้งแรกก็จะต้องตรวจพบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะไม่มีมากถึงขนาดนี้ ความเสียหายทั้งหมดจึงถือว่าคนของโจทก์มีส่วนปล่อยปละละเลยให้เกิดขึ้น การที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชำระค่าปรับรายวันตามสัญญาทั้งหมดย่อมไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยไม่ชอบธรรมหลังเจ้าของมรณภาพ: สิทธิของโจทก์ผู้รับมรดกและความรับผิดทางละเมิด
พระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดโจทก์ จึงเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 44 เดิม(มาตรา 37 ที่แก้ไขใหม่) เมื่อพระภิกษุมรณภาพโดยมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินและตึกแถวพิพาทซึ่งได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จึงตกเป็นสมบัติของโจทก์ตาม มาตรา 1623 สัญญาจะซื้อขาย ผู้จะซื้อไม่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์ที่จะซื้อจะขายโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของทรัพย์ การอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยเจ้าเจ้าไม่ยินยอมเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดต่อพระภิกษุซึ่งเป็นเจ้าของ และการมรณภาพของพระภิกษุ ไม่เป็นเหตุให้การละเมิดสิ้นสุดลง เมื่อต่อมาที่ดินและตึกแถวตกเป็นสมบัติของโจทก์ จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทต่อไป ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ส่วนสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทำละเมิดเพราะอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทขณะเป็นสมบัติของพระภิกษุก็ตกเป็นมรดกของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนฐานความผิดจากตัวการเป็นผู้สนับสนุนในชั้นพิจารณา ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงแตกต่างจากฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวการ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นแต่เพียงผู้สนับสนุน ศาลก็ลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดระหว่างการพิจารณาคดี ศาลลงโทษตามฐานความผิดที่พิสูจน์ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวการ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นแต่เพียงผู้สนับสนุน ศาลก็ลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล และหน้าที่ของทายาทในการส่งมอบทรัพย์สิน
ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยบรรดาทายาทของผู้ตายซึ่งรวมทั้งจำเลยเห็นชอบให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ถือว่าจำเลยได้สละสิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแล้ว เมื่อจำเลยยอมให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โจทก์ ย่อมมีสิทธิและหน้าที่แต่เพียงผู้เดียวที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายมาจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาท การเรียกเอาโฉนดที่ดินและเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่ในฐานะผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการมรดกให้เสร็จสิ้นไปก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเอาได้ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์จัดการมรดกไม่ถูกต้องนั้นจำเลยมีสิทธิขอให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกหรือฟ้องขอแบ่งมรดกให้ถูกต้องได้ เมื่อโจทก์ยังคงเป็นผู้จัดการมรดกอยู่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งจึงต้องส่งมอบโฉนดที่ดินและเอกสารให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การถอนอุทธรณ์และการโต้แย้งหมายจำคุกหลังคดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จำเลยยื่นอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์แล้วพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีย่อมถึงที่สุด จำเลยจะฎีกาคัดค้านว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดไม่ได้ หมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นหมายอาญา มิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 และ 216 หากจำเลยเห็นว่าการออกหมายไม่ถูกต้องก็ต้องร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายนั้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณามีคำสั่งเสียก่อน ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดไม่ถูกต้องจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้าม
of 58