พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์คดีอาญาและการพิจารณาถึงที่สุดของคดี รวมถึงการแก้ไขหมายจำคุก
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จำเลยอุทธรณ์ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 245 จึงชอบแล้ว และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีย่อมถึงที่สุด จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ เมื่อจำเลยเห็นว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะไปร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งแก้ไขหมายนั้นเสียก่อน เพราะหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นหมายอาญามิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และ 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันหลายรายรับผิดร่วมกันในหนี้เดียวกัน แม้ค้ำประกันต่างเวลากัน
ผู้ค้ำประกันหลายคนที่เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันซึ่งจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้นไม่จำต้องเข้าเป็นผู้ค้ำประกันพร้อมกัน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2521 จำเลยที่ 3เข้าเป็นผู้ค้ำประกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2524 โดยจำเลยที่ 3ค้ำประกันย้อนไปตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงาน การที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติงานในทางการที่จ้างทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย 6 ครั้งความเสียหายดังกล่าวถือว่าเป็นหนี้รายเดียวกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: ค่าชดเชยการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่12 กันยายน พ.ศ.2534 ข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ข้อ 46 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2514 ข้อ 46 จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายค่าชดเชย: รัฐวิสาหกิจต้องใช้ระเบียบใหม่แทนประกาศเก่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534 ข้อ 2ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายนพ.ศ. 2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 56 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2514 ข้อ 46จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องบังคับคดี: สิทธิในการยกเหตุต่อสู้ & เหตุผลสมควรในการขอเลื่อน
แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกข้อโต้แย้งขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ แต่ในวันนัดไต่สวนทนายผู้คัดค้านแถลงว่าจะนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนถึงข้อปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้าน และยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประธานกรรมการของผู้คัดค้านย้ายไปรับราชการที่อื่นผู้คัดค้านจึงต้องทำการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แทนต่อไป แสดงว่าผู้คัดค้านยังไม่พร้อมจะสู้คดีมีเหตุผลสมควรศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกำหนด 6 เดือนยื่นคำขอพิจารณาใหม่ในคดีแพ่ง: การบังคับคดีเฉพาะจำเลยบางราย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกตอนท้ายที่บัญญัติว่า "แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น" นั้นหมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือจำเลยที่ถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่เคยถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีในคดีนี้มาก่อน ข้อกำหนดหกเดือนจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกำหนด 6 เดือนในการขอพิจารณาคดีใหม่: เฉพาะจำเลยที่ถูกบังคับคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้ายที่ห้ามมิให้ยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นนั้น หมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือจำเลยที่ถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้ที่ถูกยึดทรัพย์ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีมาก่อน ข้อกำหนด 6 เดือนจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายที่ยกเลิกแล้วไม่อาจใช้ลงโทษได้ ศาลฎีกายกฟ้องเมื่ออ้างกฎหมายที่หมดอายุ
ปัญหาว่าวันที่จำเลยกระทำผิดเป็นเวลาที่ได้มีพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ออกใช้บังคับแล้ว ยังจะถือว่าจำเลยมีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 296 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ การที่โจทก์อ้างกฎหมายที่ยกเลิกแล้วมาขอให้ลงโทษจำเลยนั้นเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ไม่มีอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทกฎหมายผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: ศาลไม่รับวินิจฉัยฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีน กระทงละ 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'เจ้าบ้าน' ในทะเบียนบ้าน ไม่ใช่สิทธิในบ้านหรือสิทธิเช่า ผู้เป็นบุตรผู้เช่า ยังคงเป็นบริวาร
การที่มีชื่อผู้ร้องเป็น "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้านมิได้หมายความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านนั้น และมิได้หมายความว่าผู้ร้องมีสิทธิในการเช่า ฐานะเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านมีไว้เพื่อประโยชน์ในการทะเบียนราษฎร์เท่านั้น ผู้ร้องเป็นบุตรของจำเลยและอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทกับจำเลยตลอดมา ฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยด้วย