คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัมพร ทองประยูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาจ้างก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับตามหลักความเป็นธรรม
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดงวดงานในสัญญาจ้างโดยผิดนัดตั้งแต่ งวดที่ 2ถึงงวดที่ 4 และได้เสียค่าปรับให้โจทก์ไปแล้ว 110 วันวันละ 797 บาท สำหรับงวดที่ 5 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ลงมือก่อสร้างเลย ตามพฤติการณ์การทำงานของจำเลยโจทก์น่าจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถทำงานให้เสร็จภายในกำหนดและคงทิ้งงานงวดสุดท้าย ซึ่งโจทก์ควรจะใช้สิทธิยกเลิกสัญญาเสียภายในหนึ่งถึงสองเดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่โจทก์กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลย ไปกว่า 6 เดือน จึงบอกเลิกสัญญา เป็นความล่าช้าในการ ดำเนินงานของโจทก์เองด้วยส่วนหนึ่งประกอบกับจำเลยได้ชำระ ค่าปรับแก่โจทก์ไปแล้วถึง 110 วัน วันละ 797 บาท ทั้งโจทก์ ก็ไม่ได้นำสืบว่าการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทำงาน งวดสุดท้ายทำให้โจทก์เสียหายมากเพียงใด ดังนี้พิเคราะห์ ทางได้เสียของโจทก์แล้ว ค่าปรับ 196 วัน วันละ 797 บาท ตามข้อตกลงในสัญญานั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอ สมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 การที่ ศาลลดค่าปรับลงเหลือวันละ 500 บาท เป็นเวลา 196 วัน เป็นเงิน 98,000 บาท นั้นเป็นการเหมาะสม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลสั่งรับทำงานต่อ ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างหยุด
ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นว่า การเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ศาลแรงงานอาจสั่งได้เป็น 2 ประการคือ ให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปประการหนึ่ง และให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างในกรณีที่เห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้อีกประการหนึ่ง ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไป กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง นับแต่วันที่เลิกจ้างจนถึงวันที่รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษอาญาและการพิจารณาโทษสถานเบา กรณีจำเลยให้การรับสารภาพ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานโจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ แต่เมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวในวรรคแรกมีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ศาลลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วางโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษในคดีพรากเด็กและกระทำชำเรา การพิพากษาต้องถูกต้องตามวรรคของกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิง พ.อายุ 14 ปีเศษยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาและผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพื่อการอนาจาร และในวันที่เกิดเหตุนั้น จำเลยได้กระทำชำเราเด็กหญิง พ. ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิง พ.ไม่ยินยอม ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวนี้แสดงว่า โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหากระทำชำเราตาม ป.อ.มาตรา 277วรรคแรก กระทงหนึ่ง และในความผิดข้อหาพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพื่อการอนาจารตาม ป.อาญามาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง แม้ความผิดทั้งสองข้อหาโจทก์มิได้ระบุวรรคมาก็ตาม ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่เมื่อความผิดตามมาตรา 317 วรรคสาม มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานโจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้อย่างไรก็ตามเมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวในวรรคแรกมีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้น ดังนั้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องและลงโทษจำเลยตาม มาตรา 317 โดยมิได้ระบุวรรคซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องแต่ก็มิได้หมายความว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม มาตรา 317 วรรคสามหากศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้โดยปรับบทลงโทษและลงโทษจำเลยใหม่ให้ถูกต้องก็มีอำนาจกระทำได้ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม ทั้งวางโทษจำเลยโดยอาศัยบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษผิด พ.ร.บ.อาญา มาตรา 317 และการพิจารณาโทษจากคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากเด็กหญิง พ. อายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพื่อการอนาจาร และจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง พ. ซึ่งมิใช่ภริยาของตน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกกระทงหนึ่งและมาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งความผิดข้อหาพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามมีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ แต่ความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้นดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 โดยมิได้ระบุวรรคซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องแต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยปรับบทลงโทษว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามทั้งวางโทษจำเลยโดยอาศัยบทมาตราดังกล่าว ก็เป็นการไม่ถูกต้องเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และกำหนดโทษให้เบาลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการ ตัวแทน และความรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในสัญญาซื้อขาย
จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ ส. เป็นตัวแทนในการก่อสร้างและสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการ และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด แม้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการและ ส. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์ก็นำสืบในข้อนี้ได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อเท็จจริงในรายละเอียดเนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจกระทำโดยตนเองหรือโดยมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทลงโทษกฎหมายเลือกตั้ง: การใช้บทกฎหมายที่มีผลต่อจำเลยมากที่สุด แม้กฎหมายจะมีการแก้ไข
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35 นั้นปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทลงโทษทางอาญาที่เปลี่ยนแปลงหลังกระทำผิด: การใช้กฎหมายที่เบากว่าแก่จำเลย
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 35 นั้น ปรากฎว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84 แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี ไม่ทำให้การดำเนินคดีเป็นโมฆะ หากจำเลยทราบและต่อสู้คดีได้
การส่งคำคู่ความ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 25,31ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคแรก นอกจากเป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบในการส่งคำคู่ความและเอกสารนั้น แล้วยังเป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นจะต้องถึงผู้รับโดยถูกต้องจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้เช่นนั้น เมื่อได้ความว่าหลังจากเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว จำเลยได้แต่งทนายความมาต่อสู้คดี และดำเนินกระบวนพิจารณา จนมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมแล้วแสดงว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยจำเลยได้รับทราบและมาตามนัดของศาลแล้ว แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวจะมีบุคคลอายุไม่เกินยี่สิบปี ซึ่งทำงานเป็นพนักงานของจำเลยเป็นผู้รับไว้ ก็หาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ไม่ ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยมายื่นคำร้องภายหลังศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาแล้วซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากรถยนต์ที่เช่าซื้อร่วมกัน และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายของสินค้าที่บรรทุก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่เกิดเหตุชนกับรถของโจทก์ การส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 2 ที่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 11 ตำบลเขาสวนกวางอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ไม่พบจำเลยที่ 2 คงพบแต่ภรรยาจำเลยที่ 2 แจ้งว่าจำเลยที่ 2 ชื่อนายประกิตศิริโคจรสมบัติไม่ใช่ประจำ ศิริโคจรสมบัติ ตามที่ปรากฏในฟ้องและหมายนัดต่อมาจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ปรากฏว่านายประกิตอยู่ที่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 4 ตำบลเขาสวนกวางอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น และนายประกิต กับจำเลยที่ 1ได้ร่วมกันเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องตรงตามทางพิจารณา คงระบุชื่อผิดจากนายประกิตเป็นนายประจำไป ผู้รับผิดที่แท้จริงคือเจ้าของรถยนต์บรรทุก แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ชื่อให้ถูกต้อง แต่ในฟ้องก็บรรยายให้เจ้าของรถยนต์บรรทุกรับผิดอยู่แล้ว นายประกิตเจ้าของรถยนต์บรรทุกที่แท้จริงต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า รถของโจทก์บรรทุกน้ำปลาเพื่อไปส่งลูกค้า ลูกจ้างของจำเลยขับรถชนรถโจทก์โดยละเมิด เมื่อรถโจทก์ถูกชน รถโจทก์เสียหายหลายประการ รวมทั้งน้ำปลา ขวดน้ำปลาและลังบรรจุน้ำปลาแตกหักเสียหาย ฟ้องโจทก์พอเข้าใจแล้วว่าน้ำปลาและลังซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์เสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย ส่วนโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายในฐานะใดเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
of 58