คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัมพร ทองประยูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพักงานและการเลิกจ้างที่มิได้เป็นไปตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การเตือนการขาดงานไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ ว.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยและเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยพูดกับโจทก์ว่าคุณออกไปวันนี้เลย ย่อมทำให้โจทก์เข้าใจว่าจำเลยไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานที่บริษัทจำเลยอีกต่อไป การที่หลังจากนั้นโจทก์ไม่ไปทำงานที่บริษัทจำเลยอีกต้องถือว่าจำเลยสั่งไม่ให้โจทก์ไปทำงาน แต่การที่จำเลยยังจ่ายเงินเดือนงวดวันที่ 16 ธันวาคม 2539 วันที่ 27 ธันวาคม2539 และวันที่ 15 มกราคม 2540 ให้แก่โจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังมิได้เลิกจ้างโจทก์ ประกอบกับบริษัทจำเลยมีข้อบังคับว่าด้วยการไล่พนักงานออกจะต้องมีมติจากที่ประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนไล่ออกโดยให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดสำหรับกรณีของโจทก์เมื่อจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์
การที่จำเลยมีหนังสือเรื่องเตือนการขาดงานไปยังโจทก์โดยระบุในหนังสือทั้งสามฉบับดังกล่าวว่าโจทก์ขาดงาน โดยเฉพาะฉบับสุดท้ายมีข้อความระบุว่าจำเลยคงจำเป็นที่จะต้องทำตามกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยต่อไปนั้น เมื่อจำเลยยังมิได้เลิกจ้างโจทก์และโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นเพราะ ว.เป็นผู้สั่งให้โจทก์ไม่ต้องไปทำงานอีก การที่โจทก์ไม่ไปทำงานต้องถือว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ ว.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย หรือเท่ากับว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยนั้นเอง ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ขาดงาน และการออกหนังสือเตือนการขาดงานดังกล่าวทั้งสามฉบับของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือเตือนการขาดงานเมื่อจำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์และยังไม่ได้มีหนังสือเตือนการขาดงาน โจทก์ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่และยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดไปจนกว่าความเป็นลูกจ้างกับนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะหมดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องคดีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังกำหนดประเด็นข้อพิพาท
โจทก์รู้อยู่ก่อนยื่นฟ้องแล้วว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ หากโจทก์เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการที่จำเลยเลิกจ้างแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวฟ้องร้องจำเลยเป็นคดีมาแต่แรก การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้หลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและนัดสืบพยานแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน: ไม่เป็นปัญหาความสงบเรียบร้อย
โจทก์รู้อยู่ก่อนยื่นฟ้องแล้วว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ หากโจทก์เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการที่จำเลยเลิกจ้างแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวฟ้องร้องจำเลยเป็นคดีมาแต่แรก การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้หลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและนัดสืบพยานแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับประโยชน์ทดแทนประกันสังคมมีอยู่แล้ว แม้ยังไม่ได้บัตรรับรองสิทธิ การอ้างเหตุไม่มีบัตรเพื่อตัดสิทธิทำไม่ได้
ตามระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วย การออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533พ.ศ. 2535 ข้อ 7 กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกบัตรรับรองสิทธิกำหนดสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีสิทธิไปรับบริการทางการแพทย์ให้ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบจนก่อให้เกิดสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน โดยให้ผู้ประกันตนหรือนายจ้างแล้วแต่กรณีเป็นผู้เลือกสถานพยาบาลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบดังกล่าวส่วนข้อ 8 กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ทำการเลือกสถานพยาบาลเห็นได้ว่าระเบียบสำนักงานประกันสังคมดังกล่าวจำเลยจะออกบัตรรับรองสิทธิกำหนดสถานพยาบาลให้ผู้ประกันตนเฉพาะผู้ที่จ่ายเงินสมทบครบตามเงื่อนเวลาจนก่อให้เกิดสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533แล้วเท่านั้น แม้ผู้ประกันตนดังกล่าวยังไม่ได้บัตรรับรองสิทธิจากจำเลย แต่สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้นั้นมีอยู่แล้วตามกฎหมาย ดังนั้นการออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลตามระเบียบสำนักงานประกันสังคมดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นเพียงเพื่อรับรองสิทธิของผู้ประกันตนเกี่ยวกับความสะดวกในการไปรับบริการทางการแพทย์ ณ สถานบริการที่ปรากฏชื่อในบัตรนั้น แม้การที่จำเลยออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลให้โจทก์ หลังจากโจทก์ประสบอุบัติเหตุจะมิใช่เป็นความบกพร่องของจำเลยก็ตาม แต่จำเลยจะอ้างเหตุว่าขณะที่โจทก์ได้รับอุบัติเหตุโจทก์ไม่มีบัตรรับรองสิทธิตามระเบียบของจำเลยมาเป็นการตัดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนของโจทก์ที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประกันสังคมยังคงมีอยู่แม้ไม่มีบัตรรับรองสิทธิ การออกบัตรเป็นเพียงการรับรองความสะดวกในการรับบริการ
ตามระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วย การออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 พ.ศ.2535ข้อ 7 กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกบัตรรับรองสิทธิกำหนดสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีสิทธิไปรับบริการทางการแพทย์ให้ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบจนก่อให้เกิดสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน โดยให้ผู้ประกันตนหรือนายจ้างแล้วแต่กรณีเป็นผู้เลือกสถานพยาบาลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบดังกล่าว ส่วนข้อ 8 กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ทำการเลือกสถานพยาบาล เห็นได้ว่าระเบียบสำนักงานประกันสังคมดังกล่าวจำเลยจะออกบัตรรับรองสิทธิกำหนดสถานพยาบาลให้ผู้ประกันตนเฉพาะผู้ที่จ่ายเงินสมทบครบตามเงื่อนเวลาจนก่อให้เกิดสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 แล้วเท่านั้น แม้ผู้ประกันตนดังกล่าวยังไม่ได้บัตรรับรองสิทธิจากจำเลย แต่สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้นั้นมีอยู่แล้วตามกฎหมายดังนั้นการออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลตามระเบียบสำนักงานประกันสังคมดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นเพียงเพื่อรับรองสิทธิของผู้ประกันตนเกี่ยวกับความสะดวกในการไปรับบริการทางการแพทย์ ณ สถานบริการที่ปรากฏชื่อในบัตรนั้น
แม้การที่จำเลยออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลให้โจทก์หลังจากโจทก์ประสบอุบัติเหตุจะมิใช่เป็นความบกพร่องของจำเลยก็ตาม แต่จำเลยจะอ้างเหตุว่าขณะที่โจทก์ได้รับอุบัติเหตุโจทก์ไม่มีบัตรรับรองสิทธิตามระเบียบของจำเลยมาเป็นการตัดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนของโจทก์ที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งมอบหมายงานพิเศษหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการลงโทษทางวินัย นายจ้างมีอำนาจออกคำสั่งได้
คำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างที่ให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำความสะอาดแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์ครั้งละ 1 วัน เป็นคำสั่งที่ผู้ร้องใช้ปฏิบัติตามประเพณีของทางแผนกขนส่งของผู้ร้องในกรณีที่พนักงานขับรถของผู้ร้องไปเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอดมาและพนักงานอื่นของผู้ร้องที่เป็นพนักงานขับรถก็ยอมรับปฏิบัติตามเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งของผู้ร้องแม้จะมิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้บังคับได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าการทำความสะอาดแคร่เป็นการลงโทษทางวินัยของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมอบหมายให้พนักงานขับรถรวมทั้งผู้คัดค้านที่ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ ล้างแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์จึงมิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการมอบหมายงานเป็นกรณีพิเศษ ผู้ร้องจึงมีอำนาจที่จะออกคำสั่งมอบหมายงานดังกล่าวได้ ซึ่งพนักงานขับรถทุกคนและผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ออกโดยชอบ ผู้ร้องจึงมีสิทธิลงโทษผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้ลูกจ้างทำความสะอาดรถหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ใช่การลงโทษทางวินัย นายจ้างมีสิทธิออกคำสั่งได้
คำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างที่ให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำความสะอาดแคร่หรือทางรถเทรลเลอร์ครั้งละ 1 วัน เป็นคำสั่งที่ผู้ร้องใช้ปฏิบัติตามประเพณี ของทางแผนกขนส่งของผู้ร้องในกรณีที่พนักงานขับรถของผู้ร้องไปเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอดมาและพนักงานอื่นของผู้ร้องที่เป็นพนักงานขับรถก็ยอมรับปฏิบัติตามเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งของผู้ร้องแม้จะมิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้บังคับได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าการทำความสะอาดแคร่เป็นการลงโทษทางวินัยของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมอบหมายให้พนักงานขับรถรวมทั้งผู้คัดค้านที่ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ ล้างแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์จึงมิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการมอบหมายงานเป็นกรณีพิเศษผู้ร้องจึงมีอำนาจที่จะออกคำสั่งมอบหมายงานดังกล่าวได้ซึ่งพนักงานขับรถทุกคนและผู้คัดค้านมีหน้าที่ปฏิบัติตามเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ออกโดยชอบผู้ร้องจึงมีสิทธิลงโทษผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงาน และการแบ่งความรับผิดในละเมิดจากหน้าที่การงาน
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่น เป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้วเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ 1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291, 296, 297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้าง ป.พ.พ.มาตรา 425, 427, 430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหัวหน้างานต่อการยักยอกเงินของลูกน้อง: ประมาทเลินเล่อในการควบคุมดูแล
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2 ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่นเป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้ว เช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291,296,297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,427,430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขาดงานเกิน 7 วัน และสิทธิในการเรียกร้องค่าจ้างคืน
ตามข้อบังคับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโจทก์ว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การออกจากตำแหน่ง วินัยและการลงโทษของพนักงานระบุว่า "เมื่อพนักงานทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ ให้ปลดออก ฯลฯ (7) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่หรือขาดงานติดต่อในคราวเดียวกันโดยไม่มีเหตุผลสมควรเป็นเวลาเกินกว่าเจ็ดวันทำการ" และข้อบังคับที่กล่าวมานี้ไม่ได้ระบุถึงการสั่งพักงานเพื่อสอบสวนความผิดหรือให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปลดพนักงานหรือลูกจ้างออกจากงานโดยให้มีผลย้อนหลังได้ โจทก์มีสิทธิปลดพนักงานหรือลูกจ้างออกจากงานในกรณีตามที่ระบุไว้ใน (7) ตั้งแต่วันที่พนักงานหรือลูกจ้างขาดงานเกิน 7 วันทำการเป็นต้นไป มิใช่ตั้งแต่วันแรกที่พนักงานหรือลูกจ้างขาดงาน และโจทก์มีสิทธิปลดออกจากงานได้ในทันที การที่พนักงานของโจทก์เสนองานล่าช้าไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่พนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้นที่จะได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างในระหว่างที่ไม่ได้มาทำงานให้แก่โจทก์ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 เมื่อระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปลดพนักงานหรือลูกจ้างออกจากงานโดยให้มีผลย้อนหลังได้ การที่โจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากงานโดยให้มีย้อนหลังดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยมิได้มาทำงานให้แก่โจทก์ภายหลังจากที่ขาดงานไปเกิน 7 วัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิปลดจำเลยออกจากงานได้ทันทีตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ ดังนี้โจทก์จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยเนื่องจากจำเลยมิได้ทำงานให้แก่โจทก์ในช่วงระยะเวลาหลังจากที่ขาดงานไปเกิน 7 วัน แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากงานในทันทีเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่เกิน 7 วัน ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยต่อมาจึงเป็นกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 407 การที่โจทก์รู้ตั้งแต่วันที่จำเลยขาดงานเกิน 7 วันแล้วว่าโจทก์มีสิทธิปลดจำนองออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยในช่วงระยะเวลาหลังจากนั้นเนื่องจากตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าจ้างดังกล่าวนั้นคืนจากจำเลย
of 58