พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4624/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการแต่งตั้งแพทย์เพื่อตรวจสอบข้อพิพาท และความยินยอมของคู่ความ
รายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานในส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ซึ่งเกิดขึ้นจากการท้ากันระหว่างโจทก์จำเลย โดยตกลงกันกำหนดประเด็นเสนอศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจดำเนินการตามที่คู่ความร้องขอได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาล โดยมีเงื่อนไขว่าให้ถือเอาความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ซึ่งแต่งตั้งโดยแพทยสภาไม่น้อยกว่า 3 คน ตรวจสอบเวชระเบียนแล้วทำความเห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงานหรือไม่ หากโจทก์ไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน โจทก์ยอมแพ้ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หากคณะกรรมการแพทย์เห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน จำเลยยอมแพ้ และยอมให้โจทก์ชนะคดี การที่ศาลแรงงานมีหนังสือถึงแพทยสภาขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ และแพทยสภามีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในเวลาต่อมา จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวน-พิจารณาให้อย่างครบถ้วนตรงตามคำขอของโจทก์จำเลยโดยแท้ หาใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์โดยพลการไม่ ทั้งนับแต่ศาลแรงงานบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539จนกระทั่งคณะกรรมการแพทย์ทำรายงานเสนอความเห็นต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ก็เป็นระยะเวลายาวนานพอที่โจทก์มีโอกาสติดตามตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภาได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการและแถลงคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเพราะไม่อาจขัดขืนอำนาจศาลที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่ชัดแจ้งว่าศาลแรงงานกลางใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างใด ทั้งการดำเนินการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นก็เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ที่ร้องขอต่อศาลทั้งสิ้น ดังนี้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้หนังสือที่ศาลแรงงานกลางที่มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ลงลายมือชื่อโดยผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ศาลแรงงานกลางได้มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอความร่วมมือให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบเวชระเบียนของโจทก์แล้วทำความเห็นส่งศาลเท่านั้นซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามประเด็นที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ การแพ้ชนะคดีของโจทก์ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามที่โจทก์ตกลงท้ากับจำเลย ศาลหาได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยไม่ หนังสือนี้จึงไม่ใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ทำให้การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางต้องกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาล โดยมีเงื่อนไขว่าให้ถือเอาความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ซึ่งแต่งตั้งโดยแพทยสภาไม่น้อยกว่า 3 คน ตรวจสอบเวชระเบียนแล้วทำความเห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงานหรือไม่ หากโจทก์ไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน โจทก์ยอมแพ้ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หากคณะกรรมการแพทย์เห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน จำเลยยอมแพ้ และยอมให้โจทก์ชนะคดี การที่ศาลแรงงานมีหนังสือถึงแพทยสภาขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ และแพทยสภามีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในเวลาต่อมา จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวน-พิจารณาให้อย่างครบถ้วนตรงตามคำขอของโจทก์จำเลยโดยแท้ หาใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์โดยพลการไม่ ทั้งนับแต่ศาลแรงงานบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539จนกระทั่งคณะกรรมการแพทย์ทำรายงานเสนอความเห็นต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ก็เป็นระยะเวลายาวนานพอที่โจทก์มีโอกาสติดตามตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภาได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการและแถลงคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเพราะไม่อาจขัดขืนอำนาจศาลที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่ชัดแจ้งว่าศาลแรงงานกลางใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างใด ทั้งการดำเนินการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นก็เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ที่ร้องขอต่อศาลทั้งสิ้น ดังนี้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้หนังสือที่ศาลแรงงานกลางที่มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ลงลายมือชื่อโดยผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ศาลแรงงานกลางได้มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอความร่วมมือให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบเวชระเบียนของโจทก์แล้วทำความเห็นส่งศาลเท่านั้นซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามประเด็นที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ การแพ้ชนะคดีของโจทก์ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามที่โจทก์ตกลงท้ากับจำเลย ศาลหาได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยไม่ หนังสือนี้จึงไม่ใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ทำให้การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางต้องกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554-4555/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การปิดบังข้อมูลเพื่อนร่วมงานไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เรื่อง วินัยและโทษทางวินัย ระบุว่าการทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก ปลอมแปลงเอกสารหรือกระทำความผิดโดยเจตนาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ที่บริษัทมอบหมาย ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น ปิดบัง อำพราง การกระทำผิดของตนเอง หรือเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม ก็หามีผลว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทุกกรณีไปไม่ การกระทำใดจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่จักต้องพิจารณาพฤติการณ์ความเป็นจริงเป็นกรณีไป
โจทก์ที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้นดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะทราบว่าลูกจ้างจำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะ ประเภท และชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไปทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นการปิดบังอำพรางการกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงทั้งไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้นดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะทราบว่าลูกจ้างจำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะ ประเภท และชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไปทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นการปิดบังอำพรางการกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงทั้งไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554-4555/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การปิดบังข้อมูลการทำงานของเพื่อนร่วมงานไม่ใช่ความผิดร้ายแรงเพียงพอที่จะไม่ออกค่าชดเชย
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เรื่อง วินัยและโทษทางวินัย ระบุว่าการทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก ปลอมแปลงเอกสารหรือกระทำความผิดโดยเจตนาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ที่บริษัทมอบหมาย ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น ปิดบัง อำพราง การกระทำผิดของตนเอง หรือเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม ก็หามีผลว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทุกกรณีไปไม่ การกระทำใดจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่จักต้องพิจารณาพฤติการณ์ความเป็นจริงเป็นกรณีไป
โจทก์ที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้นดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะทราบว่าลูกจ้างจำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะ ประเภท และชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไปทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นการปิดบังอำพรางการกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงทั้งไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้นดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะทราบว่าลูกจ้างจำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะ ประเภท และชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไปทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นการปิดบังอำพรางการกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงทั้งไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศภายใต้ พ.ร.บ.ประกันสังคม: การตีความ 'สถานพยาบาล' และขอบเขตความคุ้มครอง
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56, 85 และมาตรา 87 บัญญัติให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดที่เห็นว่าตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนประสงค์จะขอรับประโยชน์ดังกล่าวต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้เสียก่อนจึงจะมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ขั้นตอนดังกล่าวคือผู้ประกันตนหรือบุคคลนั้นต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานที่เลขาธิการกำหนดภายใน1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน กฎหมายบังคับให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายพิจารณาสั่งการโดยเร็ว เมื่อทำคำสั่งแล้วผู้ยื่นคำขอไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวย่อมมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยแล้ว หากผู้อุทธรณ์ไม่พอใจจึงให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย มิฉะนั้นให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด การที่ พ.ร.บ.ประกันสังคมพ.ศ.2533 บังคับให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการขอรับประโยชน์ทดแทนก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจสอบพยานหลักฐานที่ผู้ยื่นคำขอนำไปแสดงว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามคำขอหรือไม่ดังนั้นผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดยื่นคำขอก็ต้องระบุรายละเอียดต่าง ๆ ในคำขอให้ชัดแจ้งว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอย่างไร จำนวนเงินเท่าไร ทั้งมีสิทธินำบุคคล เอกสาร และวัตถุอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ เมื่อสอบพยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอแล้วเจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาสั่งคำขอนั้นโดยทำเป็นคำสั่งชี้ขาดว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอะไรบ้างหรือไม่ จำนวนเท่าไร คำสั่งดังกล่าวจึงต้องชี้ชัดและต้องอ้างเหตุผลประกอบไว้ด้วย เพื่อผู้ยื่นคำขอจะได้ทราบและหากไม่พอใจจะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ต่อไป การอุทธรณ์นั้นผู้อุทธรณ์คงคัดค้านคำสั่งเฉพาะข้อความหรือส่วนที่ไม่เห็นด้วยเท่านั้นข้อความตอนใดหรือส่วนใดที่คำสั่งระบุไว้เป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคำขอแล้วผู้ยื่นคำขอย่อมพอใจและคงไม่อุทธรณ์คัดค้านเป็นแน่ ในทำนองเดียวกันคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยก็ต้องอ้างเหตุผลประกอบให้ชัดแจ้งว่าผู้อุทธรณ์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหรือไม่ อย่างไร เพราะผู้อุทธรณ์อาจไม่เห็นด้วยและไม่พอใจคำวินิจฉัยจักได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเฉพาะที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจต่อไป ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยโดยระบุเหตุที่ผู้อุทธรณ์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนไว้ชัดแจ้งแสดงว่าคณะกรรมการอุทธรณ์ประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์เท่านั้นหาได้ถือเอาเหตุอื่นมาเป็นข้ออ้างด้วยไม่
กองประโยชน์ทดแทนที่ 1 ของจำเลยยกคำขอของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าการให้บริการทางการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533ครอบคลุมเฉพาะการที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการสถานพยาบาลในราชอาณาจักรเท่านั้นโรงพยาบาล ซ.เป็นสถานพยาบาลที่มิได้อยู่ในราชอาณาจักร ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าโรงพยาบาลดังกล่าวมิได้เป็นสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 อีกทั้งไม่ได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคม ดังนี้ คำสั่งและคำวินิจฉัยถือเอาเฉพาะเหตุว่าโรงพยาบาลดังกล่าวมิได้เป็นสถานพยาบาลในราชอาณาจักรมิได้เป็นสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 และมิได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคมเท่านั้น มิได้อ้างเหตุว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์มิใช่กรณีเจ็บป่วยจนถึงขนาดจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินแต่อย่างใด เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่อ้างในคำสั่งและคำวินิจฉัยขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลหาได้ไม่ แม้จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอาการเจ็บป่วยของโจทก์ไว้ในคำให้การศาลก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504มาตรา 4 มิได้จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นสถานพยาบาลซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะของประเทศไทยหรือต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีอยู่ในราชอาณาจักรเท่านั้น เมื่อโรงพยาบาล ซ.เป็นโรงพยาบาลประกอบโรคศิลปะที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาดังนั้นโรงพยาบาลดังกล่าวจึงเป็นสถานพยาบาลตามความหมายของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 ด้วย
สถานพยาบาลตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ หมายถึง สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จากคำจำกัดความตามประกาศดังกล่าวเห็นได้ว่าสถานพยาบาล ได้แก่สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 นั่นเองเมื่อจำเลยมิได้กำหนดไว้ให้ชัดแจ้งว่าสถานพยาบาลต้องเป็นสถานพยาบาลเฉพาะในราชอาณาจักรเท่านั้น และปรากฏว่าขณะโจทก์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโจทก์เจ็บป่วยและจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินจึงถูกนำส่งโรงพยาบาล ซ.ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ด้วย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์เป็นค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน 20,947 บาท เนื่องจากโจทก์ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างฉุกเฉิน การที่จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เนื่องจากโรงพยาบาลที่โจทก์เข้ารับการรักษามิใช่สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 และอาการป่วยของโจทก์มิใช่กรณีจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินนั้น คำให้การดังกล่าวจำเลยนำเรื่องสถานพยาบาลและอาการป่วยเจ็บของโจทก์เป็นข้อต่อสู้เท่านั้นจำเลยมิได้ให้การเกี่ยวกับค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน 20,947 บาท แต่อย่างใดแม้จำเลยต่อสู้มาในคำให้การว่าคำสั่งกองประโยชน์ทดแทนที่ 1 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินดังกล่าวแต่อย่างใด
กองประโยชน์ทดแทนที่ 1 ของจำเลยยกคำขอของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าการให้บริการทางการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533ครอบคลุมเฉพาะการที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการสถานพยาบาลในราชอาณาจักรเท่านั้นโรงพยาบาล ซ.เป็นสถานพยาบาลที่มิได้อยู่ในราชอาณาจักร ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าโรงพยาบาลดังกล่าวมิได้เป็นสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 อีกทั้งไม่ได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคม ดังนี้ คำสั่งและคำวินิจฉัยถือเอาเฉพาะเหตุว่าโรงพยาบาลดังกล่าวมิได้เป็นสถานพยาบาลในราชอาณาจักรมิได้เป็นสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 และมิได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคมเท่านั้น มิได้อ้างเหตุว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์มิใช่กรณีเจ็บป่วยจนถึงขนาดจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินแต่อย่างใด เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่อ้างในคำสั่งและคำวินิจฉัยขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลหาได้ไม่ แม้จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอาการเจ็บป่วยของโจทก์ไว้ในคำให้การศาลก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504มาตรา 4 มิได้จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นสถานพยาบาลซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะของประเทศไทยหรือต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีอยู่ในราชอาณาจักรเท่านั้น เมื่อโรงพยาบาล ซ.เป็นโรงพยาบาลประกอบโรคศิลปะที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาดังนั้นโรงพยาบาลดังกล่าวจึงเป็นสถานพยาบาลตามความหมายของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 ด้วย
สถานพยาบาลตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ หมายถึง สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จากคำจำกัดความตามประกาศดังกล่าวเห็นได้ว่าสถานพยาบาล ได้แก่สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 นั่นเองเมื่อจำเลยมิได้กำหนดไว้ให้ชัดแจ้งว่าสถานพยาบาลต้องเป็นสถานพยาบาลเฉพาะในราชอาณาจักรเท่านั้น และปรากฏว่าขณะโจทก์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโจทก์เจ็บป่วยและจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินจึงถูกนำส่งโรงพยาบาล ซ.ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ด้วย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์เป็นค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน 20,947 บาท เนื่องจากโจทก์ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างฉุกเฉิน การที่จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เนื่องจากโรงพยาบาลที่โจทก์เข้ารับการรักษามิใช่สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 และอาการป่วยของโจทก์มิใช่กรณีจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินนั้น คำให้การดังกล่าวจำเลยนำเรื่องสถานพยาบาลและอาการป่วยเจ็บของโจทก์เป็นข้อต่อสู้เท่านั้นจำเลยมิได้ให้การเกี่ยวกับค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน 20,947 บาท แต่อย่างใดแม้จำเลยต่อสู้มาในคำให้การว่าคำสั่งกองประโยชน์ทดแทนที่ 1 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินดังกล่าวแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ประกันสังคม – สถานพยาบาลต่างประเทศ – การจ่ายเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์
การที่พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533บังคับให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการขอรับประโยชน์ทดแทนตามมาตรา56,85และ87ก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจสอบพยานหลักฐานที่ผู้ยื่นคำขอนำไปแสดงว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามขอหรือไม่ดังนั้นผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดยื่นคำขอก็ต้องระบุรายละเอียดต่างๆในคำขอให้ชัดแจ้งว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอย่างไรจำนวนเงินเท่าไรทั้งมีสิทธินำบุคคลเอกสารและวัตถุอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เมื่อสอบพยานหลักฐานแล้วเจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาสั่งคำขอและมีคำสั่งชี้ขาดว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอะไรบ้างหรือไม่คำสั่งดังกล่าวจึงต้องชี้ชัดและต้องอ้างเหตุผลประกอบไว้ด้วยเพื่อผู้ยื่นคำขอจะได้รับทราบและหากไม่พอใจจะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ต่อไปซึ่งคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยก็จะต้องอ้างเหตุผลประกอบให้ชัดแจ้งว่าผู้อุทธรณ์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหรือไม่อย่างไรเพราะผู้อุทธรณ์อาจไม่พอใจคำวินิจฉัยจักได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเฉพาะที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจต่อไปดังนั้นเมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยโดยระบุเหตุที่ผู้อุทธรณ์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนไว้ชัดแจ้งแสดงว่าคณะกรรมการอุทธรณ์ประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์เท่านั้นหาได้ถือเอาเหตุอื่นมาเป็นข้ออ้างด้วยไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่ากองประโยชน์ทดแทนที่1และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ยกคำขอของโจทก์โดยอ้างเฉพาะเหตุว่าการให้บริการทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯครอบคลุมเฉพาะการที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการสถานพยาบาลในราชอาณาจักรเท่านั้นโรงพยาบาลเซ็นต์ปีเตอร์ฯ มิได้เป็นสถานพยาบาลในราชอาณาจักรมิได้เป็นสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯและมิได้เป็นสถานพยาบาลฯและมิได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคมเท่านั้นมิได้อ้างเหตุว่าอาคารเจ็บป่วยของโจทก์มิใช่กรณีเจ็บป่วยจนถึงขนาดจำเป็นต้องได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่อ้างในคำสั่งและคำวินิจฉัยขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลหาได้ไม่ พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ.2504มาตรา4บัญญัติความหมายของคำว่า"สถานพยาบาล"ไว้ว่าสถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะหรือซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบกิจการอื่นด้วยการผ่าตัดฉีดยาฯลฯทั้งนี้โดยกระทำเป็นปกติธุระไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่จึงเห็นได้ว่าสถานพยาบาลตามความหมายดังกล่าวมิได้จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นสถานพยาบาลซึ่งจัดไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะของประเทศไทยหรือต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีอยู่ในราชอาณาจักรเท่านั้นดังนั้นแม้โรงพยาบาลเซ้นต์ปีเตอร์ฯจะเป็นโรงพยาบาลประกอบโรคศิลปะของรัฐนิวเจอร์ซี่ประเทศสหรัฐอเมริกา โรงพยาบาลดังกล่าวก็เป็นสถานพยาบาลฯด้วยทั้งประกาศสำนักงานประกันสังคมก็กำหนดให้คำว่า"สถานพยาบาล"หมายถึงสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯนั่นเองเมื่อปรากฎว่าขณะโจทก์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโจทก์เจ็บป่วยและจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินจึงนำส่งโรงพยาบาลเซ็นต์ปีเตอร์ฯ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯด้วย โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน20,947บาทจำเลยให้การว่าโรงพยาบาลที่โจทก์เข้ารับการรักษามิใช่สถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯและอาการป่วยของโจทก์มิใช่กรณีจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินคำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการยกเรื่องสถานพยาบาลและอาคารป่วยเจ็บของโจทก์เป็นข้อต่อสู้เท่านั้นมิได้ให้การเกี่ยวกับค่ายาและค่าตรวจรักษาแต่อย่างใดแม้จำเลยต่อสู้มาในคำให้การว่าคำสั่งกองประโยชน์ทดแทนที่1และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ชอบแล้วขอให้ยกฟ้องก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางและค่าที่พักของพนักงาน เมื่อไปช่วยราชการหน่วยงานอื่น มิใช่การปฏิบัติงานขององค์กร
ข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535ที่คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา31(2)แห่งพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2497เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานของจำเลยโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกการที่ผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้พนักงานคนใดไปปฏิบัติงานโดยมีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามข้อบังคับดังกล่าวจึงต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยหากเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกพนักงานผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยตามข้อบังคับฉบับนี้การที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีขอยืมตัวโจทก์ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้ยืมตัวไปการอนุมัติกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเบิกค่าเดินทางของลูกจ้างเมื่อถูกยืมตัวไปปฏิบัติงานให้หน่วยงานภายนอก ต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยเท่านั้น
ข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535ของจำเลยเป็นข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา31(2)แห่งพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2497ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวได้ให้คณะกรรมการมีอำนาจวางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานต่างๆขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยได้ดังนั้นข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535จึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานของจำเลยโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับการงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกและตามข้อ9แห่งข้อบังคับดังกล่าวซึ่งบัญญัติไว้ว่า"บุคคลภายนอกที่องค์การโทรศัพท์มีความจำเป็นขอให้ไปปฏิบัติงานต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อนการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดได้ตามความเหมาะสมแต่ต้องไม่เกินอัตราสูงสุดตามข้อบังคับนี้"คำว่า"ปฏิบัติงาน"ตามที่บัญญัติไว้ในข้อนี้ก็เหมือนกับคำว่า"ปฏิบัติงาน"ที่บัญญัติไว้ในแห่งอื่นๆตลอดข้อบังคับกล่าวคือมิได้กล่าวไว้ให้ชัดแจ้งว่าเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยหรืองานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกแต่การที่จำเลยจะขอให้บุคคลภายนอกไปปฏิบัติงานตามข้อนี้ย่อมหมายถึงงานของจำเลยเท่านั้นเพราะถ้าเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะมีคำสั่งให้พนักงานไปปฏิบัติโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยได้ฉะนั้นการที่ผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้พนักงานคนใดไปปฏิบัติงานโดยมีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535จึงต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยเท่านั้นหากเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกพนักงานผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยตามข้อบังคับฉบับนี้ได้การที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ขอยืมตัวโจทก์ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้อำนวยการจำเลยจึงอนุมัติให้ยืมตัวไปการอนุมัติให้ยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางของลูกจ้างที่ถูกยืมตัวไปทำงานหน่วยงานอื่น: พิจารณาจากข้อบังคับภายในและลักษณะงาน
ข้อบังคับว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ. 2535 ของจำเลย เป็นข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวได้ให้คณะกรรมการมีอำนาจวางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานต่าง ๆ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยได้ ดังนั้น ข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ. 2535จึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานของจำเลยโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับการงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกและตามข้อ 9 แห่งข้อบังคับดังกล่าวซึ่งบัญญัติไว้ว่า"บุคคลภายนอกที่องค์การโทรศัพท์มีความจำเป็นขอให้ไปปฏิบัติงานต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อน การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดได้ตามความเหมาะสมแต่ต้องไม่เกินอัตราสูงสุดตามข้อบังคับนี้" คำว่า "ปฏิบัติงาน"ตามที่บัญญัติไว้ในข้อนี้ก็เหมือนกับคำว่า "ปฏิบัติงาน" ที่บัญญัติไว้ในแห่งอื่น ๆ ตลอดข้อบังคับ กล่าวคือ มิได้กล่าวไว้ให้ชัดแจ้งว่าเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยหรืองานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอก แต่การที่จำเลยจะขอให้บุคคลภายนอกไปปฏิบัติงานตามข้อนี้ ย่อมหมายถึงงานของจำเลยเท่านั้น เพราะถ้าเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะมีคำสั่งให้พนักงานไปปฏิบัติโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยได้ ฉะนั้นการที่ผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้พนักงานคนใดไปปฏิบัติงานโดยมีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ. 2535 จึงต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยเท่านั้น หากเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอก พนักงานผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยตามข้อบังคับฉบับนี้ได้การที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ขอยืมตัวโจทก์ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้อำนวยการจำเลยจึงอนุมัติให้ยืมตัวไป การอนุมัติให้ยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลย อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ. 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเบิกค่าเดินทาง: งานขององค์การโทรศัพท์ฯ เท่านั้น
ข้อบังคับว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535 ของจำเลย เป็นข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 31 (2) แห่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวได้ให้คณะ-กรรมการมีอำนาจวางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานต่าง ๆ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยได้ ดังนั้น ข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535 จึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานของจำเลยโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกและตามข้อ 9 แห่งข้อบังคับดังกล่าวซึ่งบัญญัติไว้ว่า "บุคคลภายนอกที่องค์การโทรศัพท์มีความจำเป็นขอให้ไปปฏิบัติงาน ต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อน การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่เกินอัตราสูงสุดตามข้อบังคับนี้" คำว่า "ปฏิบัติงาน" ตามที่บัญญัติไว้ในข้อนี้ก็เหมือนกับคำว่า "ปฏิบัติงาน" ที่บัญญัติไว้ในแห่งอื่น ๆ ตลอดข้อบังคับ กล่าวคือ มิได้กล่าวไว้ให้ชัดแจ้งว่าเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยหรืองานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอก แต่การที่จำเลยจะขอให้บุคคลภายนอกไปปฏิบัติงานตามข้อนี้ ย่อมหมายถึงงานของจำเลยเท่านั้น เพราะถ้าเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกย่อมอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะมีคำสั่งให้พนักงานไปปฏิบัติโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยได้ ฉะนั้นการที่ผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้พนักงานคนใดไปปฏิบัติงานโดยมีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535 จึงต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยเท่านั้น หากเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกพนักงานผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยตามข้อบังคับฉบับนี้ได้ การที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ขอยืมตัวโจทก์ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการจำเลยจึงอนุมัติให้ยืมตัวไป การอนุมัติให้ยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลย อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของนายจ้างและผู้รับเหมาช่วงในค่าจ้างลูกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
ความในข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103กำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปหากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วย การที่จำเลยรับเหมางานทุบรื้อถอน และซ่อมบำรุงถนนจากกรมทางหลวง ถือเป็นสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับกรมทางหลวง และต่อมาจำเลยได้ว่าจ้าง ส.รับเหมาช่วงให้ทำงานทุบ รื้อถอนและซ่อมบำรุงถนนคอนกรีตก็เป็นกรณีจ้างทำของเช่นเดียวกัน เช่นนี้จำเลยและ ส.ย่อมเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้าง ส.กรณีก็ต้องบังคับตามข้อ 7 วรรคหนึ่งดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้จำเลยในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับ ส.ผู้รับเหมาช่วงอย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ ดังนั้นแม้จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ ส. แต่ ส.มิได้จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยก็ยังคงต้องมีความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อโจทก์อยู่เช่นเดิม กรณีหาใช่จำเลยพ้นความรับผิดเพราะเหตุสัญญาระหว่างจำเลยกับ ส.มิใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่