คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัมพร ทองประยูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกระทำผิดระเบียบข้อบังคับ และสิทธิประโยชน์หลังการจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจที่จะต้องเป็นที่เชื่อถือของประชาชนทั่วไป การที่โจทก์สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาโอนเงินจำเลยไปยังบัญชีต่าง ๆ ทั้งในสาขาเดียวกับและต่างสาขาย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าขณะที่มีการโอนเงินของจำเลยไปยังบัญชีทั้งหลายเหล่านั้น ตัวเงินย่อมจะต้องถูกหักจากจำเลยไปแล้ว และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการสาขาซึ่งไม่มีอำนาจทำได้ ส่วนการที่ฝ่ายตรวจสอบและฝ่ายการพนักงานของจำเลยมีความเห็นว่าการโอนเงินไปก่อนแล้วค่อยรวมยอดตัดจากบัญชีของบิดาโจทก์คราวเดียวในตอนเย็นของวันเดียวกัน แม้จะไม่ถูกต้องตามระเบียบแต่ก็ไม่ปรากฏว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเพียงความเห็นที่คำนึงเฉพาะด้านตัวเงินหรือดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้สูญหาย แต่โดยทั่วไปแล้วย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้รับความเสียหายในด้านความเชื่อถือของประชาชนเพราะอาจมีกรณีเงินบัญชีของบิดาโจทก์ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้คืนจำเลยได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าการโอนเงินจากบัญชีของบิดาโจทก์ไปยังบัญชีต่าง ๆ อย่างถูกต้องนั้นมีเหตุขัดข้องหรือไม่สะดวกอย่างไร ประกอบกับการที่จำเลยประกอบธุรกิจด้านการเงินการธนาคาร ระเบียบข้อบังคับที่ให้ปฏิบัติเกี่ยวกับเงินในธนาคารจะต้องถือว่ามีส่วนสำคัญมากเพื่อให้ธุรกิจของจำเลยมีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือได้ การกระทำที่ผิดระเบียบของโจทก์เช่นนี้ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ถูกจำเลยมีคำสั่งปลดออกจากงาน และเป็นกรณีที่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์กรณีดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในหมวด 3ว่าด้วยเงินบำเหน็จพิเศษ กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยสำหรับผู้ที่ทำงานมาครบ 10 ปี ตามอัตราเงินเดือนที่กำหนดไว้ในข้อ 1แต่ในข้อ 2 ได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าเงินบำเหน็จดังกล่าวจะจ่ายให้เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้นออกจากงาน เว้นแต่กรณีออกจากงานเพราะกระทำความผิดตามภาค 2 หมวด 3ข้อ 3(1) หรือ (2) หรือ (3) ซึ่งหมายถึงการออกจากงานเพราะจำเลยมีคำสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จพิเศษ ส่วนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้ในภาค 3 หมวด 2ข้อ 2.7 วรรคสอง ว่า "ให้คณะกรรมการกองทุนฯ ดำเนินการดังนี้2.7.2 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ทุกทอดของเงินสมทบให้แก่สมาชิก เว้นแต่ 2.7.2.1 สมาชิกที่ถูกลงโทษทางวินัยโดยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกโดยธนาคารมีคำสั่งงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนั้นโจทก์ถูกจำเลยมีคำสั่งให้ออกจากงานโดยงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสมทบที่จำเลยนำเข้าบัญชีเงินกองทุนให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับเฉพาะส่วนที่โจทก์จ่ายในฐานะที่เป็นสมาชิก แต่แม้จำเลยได้ออกเอกสารซึ่งได้แยกให้เห็นว่าเงินส่วนหักจากพนักงานและเงินส่วนสมทบโดยจำเลยไว้ชัดแจ้ง เมื่อปรากฏว่าในส่วนเงินที่หักจากพนักงานนั้นโจทก์ได้รับแล้ว และจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนสมทบนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบของธนาคาร สิทธิในเงินบำเหน็จพิเศษและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจที่จะต้องเป็นที่เชื่อถือของประชาชนทั่วไป การที่โจทก์สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาโอนเงินจำเลยไปยังบัญชีต่าง ๆ ทั้งในสาขาเดียวกันและต่างสาขาย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าขณะที่มีการโอนเงินของจำเลยไปยังบัญชีทั้งหลายเหล่านั้น ตัวเงินย่อมจะต้องถูกหักจากจำเลยไปแล้ว และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการสาขาซึ่งไม่มีอำนาจทำได้ ส่วนการที่ฝ่ายตรวจสอบและฝ่ายการพนักงานของจำเลยมีความเห็นว่าการโอนเงินไปก่อนแล้วค่อยรวมยอดตัดจากบัญชีของบิดาโจทก์คราวเดียวในตอนเย็นของวันเดียวกัน แม้จะไม่ถูกต้องตามระเบียบแต่ก็ไม่ปรากฏว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นเพียงความเห็นที่คำนึงเฉพาะด้านตัวเงินหรือดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้สูญหาย แต่โดยทั่วไปแล้วย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้รับความเสียหายในด้านความเชื่อถือของประชาชน เพราะอาจมีกรณีเงินบัญชีของบิดาโจทก์ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้คืนจำเลยได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าการโอนเงินจากบัญชีของบิดาโจทก์ไปยังบัญชีต่าง ๆ อย่างถูกต้องนั้นมีเหตุขัดข้องหรือไม่สะดวกอย่างไร ประกอบกับการที่จำเลยประกอบธุรกิจด้านการเงินการธนาคาร ระเบียบข้อบังคับที่ให้ปฏิบัติเกี่ยวกับเงินในธนาคารจะต้องถือว่ามีส่วนสำคัญมากเพื่อให้ธุรกิจของจำเลยมีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือได้การกระทำที่ผิดระเบียบของโจทก์เช่นนี้ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ถูกจำเลยมีคำสั่งปลดออกจากงาน และเป็นกรณีที่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์กรณีดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย
จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในหมวด 3ว่าด้วยเงินบำเหน็จพิเศษ กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยสำหรับผู้ที่ทำงานมาครบ 10 ปี ตามอัตราเงินเดือนที่กำหนดไว้ในข้อ 1 แต่ในข้อ 2 ได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าเงินบำเหน็จดังกล่าวจะจ่ายให้เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้นออกจากงาน เว้นแต่กรณีออกจากงานเพราะกระทำความผิดตามภาค 2 หมวด 3 ข้อ 3(1) หรือ (2) หรือ (3)ซึ่งหมายถึงการออกจากงานเพราะจำเลยมีคำสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จพิเศษ
ส่วนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้ในภาค 3 หมวด 2 ข้อ 2.7 วรรคสองว่า "ให้คณะกรรมการกองทุนฯ ดำเนินการดังนี้...2.7.2 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ทุกทอดของเงินสมทบให้แก่สมาชิก เว้นแต่... 2.7.2.1 สมาชิกที่ถูกลงโทษทางวินัยโดยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกโดยธนาคารมีคำสั่งงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนั้นเมื่อโจทก์ถูกจำเลยมีคำสั่งให้ออกจากงานโดยงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสมทบที่จำเลยนำเข้าบัญชีเงินกองทุนให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับเฉพาะส่วนที่โจทก์จ่ายในฐานะที่เป็นสมาชิก แต่แม้จำเลยได้ออกเอกสารซึ่งได้แยกให้เห็นว่าเงินส่วนหักจากพนักงานและเงินส่วนสมทบโดยจำเลยไว้ชัดแจ้ง เมื่อปรากฏว่าในส่วนเงินที่หักจากพนักงานนั้น โจทก์ได้รับแล้ว และจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนสมทบนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณา ณ ขณะเลิกจ้าง ข้อกล่าวหาหลังเกิดเหตุไม่มีผล
การเลิกจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ กรณีที่จำเลยอุทธรณ์เป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับ จ.เกี่ยวกับการบริหารงานของ จ.ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทจำเลย มิใช่ปัญหาว่าการบริหารงานของโจทก์ที่ผ่านมาไม่เป็นที่น่าพอใจและไม่น่าไว้วางใจตามที่จำเลยได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างเพื่อเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ แม้ศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างและผู้ค้ำประกันจากการละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไร ผิดข้อบังคับอย่างไร และจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป ซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของ ส.ต้องรับผิด ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่า ส.กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ มีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส.ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2 นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อมีการจำนองประกันทรัพย์สินแทน การฟ้องละเมิดอายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่าส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไรผิดข้อบังคับอย่างไรและจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไรซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไปซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของส.ต้องรับผิดดังนี้ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลางโดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบจัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับแต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไปนับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วยเมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทนต่อมาส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่2เป็นผู้นำที่ดินมาจำนองดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อมีการจำนองประกันแทน และอายุความฟ้องละเมิดระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างใช้ อายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไร ผิดข้อบังคับอย่างไร และจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป ซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของ ส.ต้องรับผิดดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการนำสืบพยานนอกคำให้การในคดีแรงงาน และการพิจารณาค่าล่วงเวลา
จำเลยให้การว่า โจทก์ประพฤติตนเป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่กิจการโรงพยาบาลของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นเหตุให้เลิกจ้างโจทก์ได้ โดยยกเอาการรักษาณ. ผู้ป่วยของโจทก์มาเป็นตัวอย่างว่าโจทก์ประพฤติตนเป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่จำเลยอย่างไรบ้าง เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งแล้ว ส่วนที่กล่าวในคำให้การว่ายังมีคนไข้อีกหลายรายที่โจทก์กระทำในทำนองเดียวกันก็เป็นรายละเอียดที่จำเลยชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และเมื่อจำเลยนำพยานต่าง ๆ เข้าสืบถึงความประพฤติของโจทก์ที่เป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมนำมาวินิจฉัยว่า การกระทำของโจทก์เป็นการประพฤติตนเป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่จำเลยได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: คำวินิจฉัยอธิบดีผูกพันเฉพาะคดีเดิม แม้คู่ความและมูลคดีเดียวกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา9วรรคสองที่บัญญัติว่าในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่นให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุดมีความหมายว่าหากกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้นให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไรคำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้นหาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่แม้คู่ความในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่321/2538ของศาลแรงงานกลางเป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องในลักษณะเป็นการจ้างแรงงานซึ่งถ้าฟังได้ว่าเป็นการจ้างแรงงานดังที่โจทก์อ้างคดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนไม่มีผลที่จะถือได้ว่าคดีนี้ไม่อยู่อำนาจของศาลแรงงานและศาลแรงงานก็ไม่มีอำนาจสั่งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: คำวินิจฉัยอธิบดีศาลแรงงานกลางผูกพันเฉพาะคดีที่วินิจฉัย แม้คู่ความและมูลคดีเดียวกัน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด มีความหมายว่า หากกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไร คำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้น หาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่ แม้คู่ความในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 321/2538ของศาลแรงงานกลาง เป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องในลักษณะเป็นการจ้างแรงงาน ซึ่งถ้าฟังได้ว่าเป็นการจ้างแรงงานดังที่โจทก์อ้าง คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนไม่มีผลที่จะถือได้ว่าคดีนี้ไม่อยู่อำนาจของศาลแรงงาน และศาลแรงงานก็ไม่มีอำนาจสั่งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: คำวินิจฉัยอธิบดีผูกพันเฉพาะคดีเดิม แม้คู่ความและมูลคดีเดียวกัน คดีใหม่ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด มีความหมายว่า หากกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไร คำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้น หาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่ แม้คู่ความในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 321/2538 ของศาลแรงงานกลาง เป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องในลักษณะเป็นการจ้างแรงงานซึ่งถ้าฟังได้ว่าเป็นการจ้างแรงงานดังที่โจทก์อ้าง คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนไม่มีผลที่จะถือได้ว่าคดีนี้ไม่อยู่อำนาจของศาลแรงงานและศาลแรงงานก็ไม่มีอำนาจสั่งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
of 58