พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6317/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเทปที่ไม่ผ่านการตรวจ: ผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่ผิดกฎหมาย ริบไม่ได้
ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทป หรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้มีเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่มิได้ผ่านการตรวจพิจารณาและได้ความเห็นชอบโดยเจ้าพนักงานผู้ตรวจตามกฎหมายไว้ในสถานประกอบกิจการของตน หากฝ่าฝืนต้องมีความผิดและต้องรับโทษ แต่การที่จะขอให้เจ้าพนักงานทำการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ บุคคลใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบกิจการดังกล่าวแล้วหรือบุคคลธรรมดาย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำขอได้ และเมื่อมีสิทธิที่จะยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมมีเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจแล้วไว้ในครอบครองได้ เทปของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6317/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเทป/วัสดุโทรทัศน์ที่ผ่านการตรวจพิจารณา ไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย
ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทป หรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้มีเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่มิได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบโดยเจ้าพนักงานผู้ตรวจตามกฎหมายไว้ในสถานประกอบกิจการของตน หากฝ่าฝืนต้องมีความผิดและต้องรับโทษ แต่การที่จะขอให้เจ้าพนักงานทำการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ บุคคลใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบกิจการดังกล่าวแล้วหรือบุคคลธรรมดาย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำขอได้ และเมื่อมีสิทธิที่จะยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมมีเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจแล้วไว้ในครอบครองได้ เทปของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดอันจะพึงริบตาม ป.อ. มาตรา 32 และมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นหนี้สินที่เคยยกเป็นข้อต่อสู้ในคดีแบ่งสินสมรสแล้ว แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยเคยฟ้องโจทก์ขอให้ส่งมอบสินส่วนตัวและแบ่งสินสมรส โจทก์ให้การประการหนึ่งว่าโจทก์เป็นหนี้ธนาคารซึ่งโจทก์กู้มาใช้ในครอบครัว หากต้องแบ่งสินสมรสให้จำเลยแล้วจะต้องหักเงินดังกล่าวกึ่งหนึ่งให้โจทก์ด้วย ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้กล่าวถึงหนี้ดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดการที่โจทก์นำหนี้สินซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมาฟ้องเป็นคดีอีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประนีประนอมยอมความครอบคลุมหนี้สินแล้ว แม้ไม่ได้ระบุชัดเจน
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ส่งมอบสินส่วนตัวและแบ่งสินสมรสโจทก์ให้การว่า โจทก์เป็นหนี้ธนาคาร ก. จำนวน 50,000 บาทซึ่งกู้มาใช้ในครอบครัว หากจะต้องแบ่งสินสมรสให้จำเลยจะต้องหักเงินจำนวน 25,000 บาท ให้โจทก์ด้วย ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมถึงที่สุดโดยไม่ได้กล่าวถึงหนี้จำนวน 50,000 บาท ดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้ธนาคาร ก. ไปแล้ว โจทก์มาฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดครึ่งหนึ่งเป็นคดีนี้ กรณีเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 วรรคแรก เพราะปัญหาหนี้สินที่โจทก์นำมาฟ้องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน ซึ่งได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว แม้ศาลจะมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานในคดีก่อนก็ตาม และข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเรียกร้องมากไปกว่านี้อีกย่อมหมายถึงหนี้สินที่โจทก์ฟ้องนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6059/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน และสิทธิครอบครองหลังสัญญาเป็นโมฆะ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31โจทก์ซื้อที่พิพาทจากนาย ส. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา นิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับนายส.เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา คู่กรณีต้องกลับสู่ฐานะเดิม โดยถือเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกัน แต่การที่โจทก์ยังยึดถือครอบครองที่ดินตลอดมาทั้งภายใน 10 ปี และหลัง 10 ปีนับจากวันห้ามโอนแล้ว โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินหรือไม่เพียงใดต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่ ไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องหรือร้องขอต่อศาลว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6050/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 2 แสนบาท: ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท คู่ความต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยเพียงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ เพราะจำเลยพักรักษาตัวอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปปิดนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6050/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากราคาทรัพย์สินไม่เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับขาดนัด
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คู่ความต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยเพียงว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ เพราะจำเลยพักรักษาตัวอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปปิดนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน คำว่า "คดีแพ่ง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึงคดีแพ่งทั่วไปไม่เฉพาะแต่คดีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่ากู้เงินกันจำนวน 32,072 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคแรก จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ส่งผลต่อการฟ้องบังคับคดี แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
คำว่า "คดีแพ่ง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึงคดีแพ่งทั่วไปไม่เฉพาะแต่คดีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่ากู้เงินกันจำนวน 32,072 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาลตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคแรก จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตม์ไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาล-อุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246
คำว่า "คดีแพ่ง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึงคดีแพ่งทั่วไปไม่เฉพาะแต่คดีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่ากู้เงินกันจำนวน 32,072 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาลตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคแรก จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตม์ไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาล-อุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย อันเป็นการเถียงสิทธิครอบครอง เป็นคดีมีทุนทรัพย์ การพิจารณาว่าคดีจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ-แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีราคาไม่เกินสองแสนบาท คดีย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีข้อที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่