พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: วิธีการแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ จากจำนวนที่ดิน 7 ไร่ 1 งาน จำเลยให้การว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมเพียง1 งาน 26 ตารางวา เป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โต้แย้งกันในจำนวนที่ดินส่วนที่ต่างกัน คู่ความตีราคาทุนทรัพย์พิพาท 90,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่ง หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลมิอาจใช้คำพิพากษาแทนเจตนาเจ้าของกรรมสิทธิ์
วิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่งก็ตาม แต่จะพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับจากสัญญาซื้อขาย: สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญา, การลดเบี้ยปรับ
ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยผู้ขายได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนการที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวัน จำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์รวม 4 ครั้ง แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยนั้นเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรกแล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกตามสัญญาข้อ 9 วรรค 2 แต่เนื่องจากโจทก์เรียกค่าปรับมาสูงเกินส่วนเงินค่าปรับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายและการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิปรับควบคู่การเลิกสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายให้สิทธิโจทก์บอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย 3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวันจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิจะปรับจำเลยนั้น เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรก แล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามข้อ 7 กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาตามข้อ 9 วรรคสามได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายและการลดเบี้ยปรับเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ตามกฎหมาย
ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยผู้ขายได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งตามสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช่สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนการที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย 3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวัน จำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์รวม 4 ครั้ง แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยนั้นเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรกแล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือประกันตามสัญญาข้อ 7กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกตามสัญญาข้อ 9 วรรค 2 แต่เนื่องจากโจทก์เรียกค่าปรับมาสูงเกินส่วนเงินค่าปรับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างน้อย ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยอุทธรณ์นอกประเด็น และการพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้า
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ทำที่เมืองฮ่องกงมีหนังสือของโนตารีปับลิกแห่งเมืองฮ่องกงรับรองว่าผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ โดยมีกงสุลไทยเมืองฮ่องกงรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นหนึ่งเมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าใบมอบอำนาจฉบับนี้ลงชื่อโดยผู้มีอำนาจของโจทก์จริง ไม่จำเป็นต้องให้โนตารีปับลิกรับรองด้วยว่าผู้ที่ลงชื่อมอบอำนาจได้กระทำต่อหน้าตนและรับรองว่ามีตราดุนประทับในใบมอบอำนาจ ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมมีผลใช้ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วย ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEEKUMKEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า ลีคุมกี หรือลีคุมคีหรือลีคัมกีหรือลีกัมกี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลาง เป็นรูปวงกลมมีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านซ้ายมีอักษรจีนอ่านว่า ลีกัมกี และชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEEKUMKEE อ่านว่า ลีกัมลี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอลเคเคอยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่า ลีคัมกี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลีคุมกี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEEKUMKEEอ่านว่า ลีคัมกี อยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพและตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูปส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐ์ล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีน เหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่า LEEMIANKEE อ่านว่า ลีเมียนกี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่า ลีเมียนกี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรู)2 รูปเรียงกัน รูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจานอาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดด้านขวามีอักษรโรมันอ่านว่า LEEMAINKEE อ่านว่า ลีเมียนกีกับอักษรจีนอ่านว่า ลีเมียนกี รูปที่ 2 ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลง มีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอลเอ็มเคและอักษรจีนอ่านว่าลีเมียนกีอยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูปแม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อย คดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, ใบมอบอำนาจ, เครื่องหมายการค้า, ความแตกต่างของเครื่องหมาย, การอุทธรณ์นอกประเด็น
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ทำที่เมืองฮ่องกง มีหนังสือของโนตารีปับลิกแห่งเมืองฮ่องกงรับรองว่าผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ โดยมีกงสุลไทยเมืองฮ่องกงรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าใบมอบอำนาจฉบับนี้ลงชื่อโดยผู้มีอำนาจของโจทก์จริง ไม่จำเป็นต้องให้โนตารีปับลิกรับรองด้วยว่าผู้ที่ลงชื่อมอบอำนาจได้กระทำต่อหน้าตนและรับรองว่ามีตราคุนประทับในใบมอบอำนาจ ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมมีผลใช้ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วยฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEE KUM KEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า สี คุม กี หรือ ลี คุม คี หรือลี คัม กี หรือ ลี กัม กี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี กัม กี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีน-ประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอล เค เค อยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่าลี คัม กี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลี คุม กี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี คัม กีอยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพ และตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูป ส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนเหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่าลี เมียน กี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรูป 2 รูปเรียงกันรูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจาน-อาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดดานขวามีอักษรโรมันอ่านว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี กับอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี รูปที่ 2ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลงมีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอล เอ็ม เค และอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี อยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีน เครื่องหมายการคำของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพ ส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูป แม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อยคดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9 ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วยฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEE KUM KEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า สี คุม กี หรือ ลี คุม คี หรือลี คัม กี หรือ ลี กัม กี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี กัม กี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีน-ประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอล เค เค อยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่าลี คัม กี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลี คุม กี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี คัม กีอยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพ และตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูป ส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนเหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่าลี เมียน กี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรูป 2 รูปเรียงกันรูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจาน-อาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดดานขวามีอักษรโรมันอ่านว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี กับอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี รูปที่ 2ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลงมีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอล เอ็ม เค และอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี อยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีน เครื่องหมายการคำของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพ ส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูป แม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อยคดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9 ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดเรียกร้องที่ดินจากโจทก์ ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินมีโฉนดของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้คดี ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้องสอดให้โจทก์มีชื่อในโฉนดถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ร้องสอดขอให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้เป็นชื่อของผู้ร้องสอด ดังนี้ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเรียกร้องที่ดินพิพาทจากโจทก์ ทั้งโจทก์ก็ให้การแก้คำร้องสอดปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนผู้ร้องสอด จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดต้องเสียค่าขึ้นศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีสอดขอเป็นคู่ความ - คดีมีทุนทรัพย์
คำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสอดโจทก์มีชื่อถือไว้แทน ขอให้โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นชื่อของผู้ร้องสอด เป็นการเรียกร้องที่ดินพิพาทจากโจทก์ โจทก์ให้การแก้คำร้องสอดปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนผู้ร้องสอด คำร้องสอดจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 150 วรรคหนึ่ง ประกอบตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์โดยขู่เข็ญด้วยกำลังประทุษร้าย: การกระทำที่เข้าข่ายความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยกับพวกประมาณ 6 - 7 คน นั่งเรือแล่นมาเทียบเรือผู้เสียหาย ซึ่งมีผู้เสียหายกับ น. นั่งอยู่แล้วพวกจำเลยคนหนึ่งคว้าโคมไฟเรือของผู้เสียหายทิ้งลงน้ำ ผู้เสียหายตกใจกระโดดหนีลงน้ำ แล้วคนร้ายอีกคนหนึ่งชักมีด-ปลายแหลมออกมาและพูดว่า อย่าหนีนะ หนีแล้วตาย น.จึงกระโดดลงน้ำหนีไปด้วยจากนั้นจำเลยกับพวกใช้เรือลากจูงเรือผู้เสียหายไป ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันลักทรัพย์ โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เป็นความผิดฐานปล้น-ทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง, 340 ตรี แล้ว