คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มีพาศน์ โปตระนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริต
จำเลยสร้างบ้านจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจึงทราบว่าบ้านได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1311

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การตีความกำหนดเวลาชำระหนี้ และขอบเขตการบังคับตามสัญญา
ผู้จะซื้อได้กรอกข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่ากำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ภายในเดือนเมษายน 2531 และให้ผู้จะขายกรอกวันที่ลงไป แต่ผู้จะขายก็หาได้กรอกวันที่ไม่ ทั้งภายหลังผู้จะซื้อและผู้จะขายก็มิได้กำหนดวันที่โอนกันอีก จึงจะถือว่าสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 มิได้ ทั้งยังถือว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดตามมาตรา 388 ก็ไม่ได้ การที่ผู้จะขายบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้ผู้จะซื้อชำระเงินก่อนจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 สัญญาจึงยังไม่เลิกกัน ในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ผู้จะซื้อกรอกเฉพาะโฉนดที่ดินเลขที่ 6470 เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ซึ่งผู้จะขายมิได้ทักท้วงเรื่องเนื้อที่ที่ดิน ความจริงที่ดินดังกล่าวได้แบ่งเป็นโฉนดเลขที่ 12473อีก 1 โฉนด ทั้งผู้จะขายก็มิได้ให้การโต้แย้งว่าที่ดินตามสัญญามีเนื้อที่ไม่ถึง 30 ไร่ และยังนำสืบรับว่าที่ดินพิพาทมี 2 แปลงดังกล่าว ถือว่าคู่สัญญาตกลงกันที่จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินประมาณ 30 ไร่ นั่นเอง ซึ่งเป็นการตีความตามเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาดังนั้น แม้ว่าผู้จะซื้อฟ้องขอบังคับให้ผู้จะขายโอนที่ดินเฉพาะโฉนดเลขที่ 6470 แต่ศาลก็สามารถพิพากษาให้โอนที่ดินทั้งสองโฉนดได้ โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์โดยโจทก์จะชำระเงินส่วนที่เหลือแก่จำเลยทันทีในวันจดทะเบียน ศาลจะพิพากษาให้โจทก์วางเงินค่าที่ดินต่อศาลเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยภายใน 30 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นจะหมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การตีความเจตนา, วันชำระหนี้, และขอบเขตของสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยใช้แบบพิมพ์ที่ใช้กันโดยทั่วไป โจทก์ผู้ซื้อเป็นผู้กรอกข้อความในแบบพิมพ์ด้วยหมึกสีดำก่อนจึงให้จำเลยผู้ขายเติมข้อความอื่นในภายหลังด้วยหมึกสีน้ำเงิน สำหรับกำหนดวันโอนและชำระเงินส่วนที่เหลือโจทก์กรอกข้อความเฉพาะเดือนและปีคือเดือนเมษายน 2531 ไว้โดยไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดเติมวันที่ลงไปในช่องว่าง การที่สัญญาจะซื้อขายไม่ได้ระบุวันที่จะไปจดทะเบียนโอนและจ่ายเงินตามสัญญาส่วนที่เหลือไว้เช่นนี้จึงจะถือว่าวันที่กำหนดตามสัญญาเป็นวันที่ 29 เมษายน 2531 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 ไม่ได้ ทั้งยังถือว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดตามมาตรา 388 ก็ไม่ได้ เพราะมิได้ระบุชัดแจ้งว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้แก่ผู้ขายตามกำหนด สัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทจึงต้องบังคับตามมาตรา 387 คือจำเลยผู้ขายจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนิ้ภายในเวลาสมควรก่อน การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์มิใช่ผู้ผิดสัญญาสัญญายังไม่เลิกกัน โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
เดิมที่ดินที่ซื้อขายเป็นแปลงเดียวกัน แต่ต่อมาได้จดทะเบียนแบ่งแยกเป็น 2 โฉนด คือโฉนดเลขที่ 6470 เดิม ฉบับหนึ่ง และเลขที่ 12473 อีกฉบับหนึ่ง แม้สัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทจะระบุเฉพาะโฉนดที่ 6470 แต่ได้ระบุเนื้อที่โดยประมาณว่า 30 ไร่ จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งว่าที่ดินตามสัญญามีเนื้อที่ไม่ถึง 30 ไร่ ทั้งยังนำสืบว่าที่ดินพิพาทมี 2 แปลง คือตามโฉนดเลขที่ 6470 และ12473 แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะซื้อที่ดินกันเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ โดยโจทก์ไปดูที่ดินนั้นแล้ว แต่โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินมีกี่โฉนด จึงเว้นช่องว่างไว้ในสัญญาจะซื้อขายในช่องเลขโฉนดเพื่อให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้กรอก โดยโจทก์กรอกข้อความส่วนที่เป็นเนื้อที่และจำนวนเงินไว้ เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้ขายก็มิได้ทักท้วงเรื่องเนื้อที่ที่ดิน ทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นฝ่ายทราบเรื่องนี้เพราะเป็นผู้เก็บรักษาโฉนด เชื่อว่าจำเลยมีเจตนาตรงกับโจทก์ที่จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินประมาณ 30 ไร่ ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 (เดิม) ซึ่งการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร จำเลยจึงต้องโอนที่ดินทั้งสองโฉนดแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทันที พร้อมทั้งรับชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลืออีก 250,000 บาทจากโจทก์ โดยโจทก์จะชำระเงินส่วนที่เหลือทันทีในวันที่จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมไปดำเนินการดังกล่าวขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์วางเงินค่าที่ดิน 250,000 บาท ต่อศาลเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นโจทก์หมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินสมบูรณ์แม้ไม่มีเอกสาร ราคาที่แท้จริงนำสืบได้ ฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิด
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมิได้มุ่งหมายจะทำหลักฐานกันเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่โจทก์ตั้งแต่ที่ได้ตกลงทำสัญญากันสัญญาจะซื้อขายจึงสมบูรณ์ในแบบที่ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่จำต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงเป็นเพียงพฤติการณ์ที่คู่กรณีแสดงเจตนาจะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเท่านั้น ไม่ใช่หลักฐานแห่งสัญญาจะซื้อขาย จำเลยจึงนำสืบถึงราคาที่แท้จริงได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินสมบูรณ์ได้แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หากมีการส่งมอบการครอบครองและชำระหนี้บางส่วน
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมิได้มุ่งหมายจะทำหลักฐานกันเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่โจทก์ตั้งแต่ที่ได้ตกลงทำสัญญากัน สัญญาจะซื้อขายจึงสมบูรณ์ในแบบที่ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่จำต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงเป็นเพียงพฤติการณ์ที่คู่กรณีแสดงเจตนาจะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเท่านั้น ไม่ใช่หลักฐานแห่งสัญญาจะซื้อขาย จำเลยจึงนำสืบถึงราคาที่แท้จริงได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินสมบูรณ์เมื่อมีส่งมอบการครอบครอง แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ สามารถบังคับคดีได้
โจทก์และจำเลยตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยมิได้มุ่งหมายจะทำหลักฐานกันเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตั้งแต่ที่ได้ตกลงทำสัญญากัน สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์ในแบบที่ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่จำต้องมีเอกสารเป็นหนังสือ ส่วนที่โจทก์จำเลยยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเพียงพฤติการณ์ที่คู่กรณีแสดงเจตนาจะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเท่านั้นไม่ใช่หลักฐานแห่งสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท จำเลยจึงนำสืบราคาที่แท้จริงได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายเมื่อมีการโต้แย้งเรื่องการซื้อขายและการเข้าครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครอง การซื้อขายย่อมกระทำได้โดยส่งมอบการครอบครองให้ เมื่อมีข้อโต้เถียงว่าการที่จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยโจทก์หรือโดยการซื้อแล้วเข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ จำเลยย่อมได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1369 โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมีแต่สิทธิครอบครอง โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานการเข้าครอบครองโดยชอบ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครอง การซื้อขายย่อมกระทำได้โดยส่งมอบการครอบครองให้ เมื่อมีข้อโต้เถียงว่าการที่จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยโจทก์หรือโดยการซื้อแล้วเข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ จำเลยย่อมได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฎีกาไม่มีคุณสมบัติเป็นทนายความ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
จำเลยยื่นฎีกาโดยลงชื่อเป็นผู้ฎีกา แต่มี ส. ซึ่งเป็นนักลงโทษลายมือชื่อเป็นผู้เรียง ปรากฎว่า ส. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ กับทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33แห่งพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ.2528 ดังนั้น การที่ ส.เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียงฎีกาโดยผู้มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้ฎีกานั้นไม่ชอบ ศาลไม่รับพิจารณา
จำเลยยื่นฎีกาโดยลงชื่อเป็นผู้ฎีกา แต่มี ส. ซึ่งเป็นนักโทษลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียง ปรากฎว่า ส.มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ กับทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 แห่งพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 ดังนั้น การที่ ส. เรียง หรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาให้
of 39