พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฎีกาไม่มีคุณสมบัติเป็นทนายความ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
จำเลยยื่นฎีกาโดยลงชื่อเป็นผู้ฎีกา แต่มี ส. ซึ่งเป็นนักลงโทษลายมือชื่อเป็นผู้เรียง ปรากฎว่า ส. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ กับทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33แห่งพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ.2528 ดังนั้น การที่ ส.เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาตและการมอบตัวแสดงความสำนึกผิดเป็นเหตุสมควรรอการลงโทษ
จำเลยมีอาวุธปืนเล็กกล 1 กระบอก และกระสุนปืน 4 นัด แม้เป็นอาวุธร้ายแรง แต่จำเลยนำมามอบให้เจ้าพนักงาน และมอบตัวต่อเจ้าพนักงานโดยสมัครใจ ชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพ กรณีมีเหตุสมควรรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอาวุธร้ายแรงและมอบตัวสมัครใจเป็นเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
จำเลยมีอาวุธปืนเล็กกล 1 กระบอก และกระสุนปืน 4 นัด แม้เป็นอาวุธร้ายแรง แต่จำเลยนำมามอบให้เจ้าพนักงาน และมอบตัวต่อเจ้าพนักงานโดยสมัครใจ ชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพ กรณีมีเหตุสมควรรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความรับผิดของนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยปลอม
โจทก์มี ป. มาเบิกความประกอบเอกสารซึ่งเป็นบิลส่งของชั่วคราวแสดงหลักฐานการรับมอบปุ๋ยของกลาง และตามคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ได้ตรวจใบส่งของชั่วคราวแล้วรับว่าเป็นใบส่งของชั่วคราวของจำเลยที่ 1ส่งของให้กับ ว. จริง และยอมรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า พันตำรวจโท ฉ. ได้สอบคำให้การของจำเลยที่ 2ไว้ด้วย แม้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 เป็นพยานบอกเล่าแต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธว่าลายมือชื่อที่ลงไว้ในช่องผู้ต้องหานั้นมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์แล้วก็รับฟังลงโทษจำเลยทั้งสองได้ แม้จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ก็มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และการยกปัญหาข้อกฎหมายในชั้นอุทธรณ์
โจทก์เพิ่งยกปัญหาเรื่องการดำเนินการกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นได้ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ได้มีโอกาสคัดค้านตั้งประเด็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคสอง ในคดีเดิมผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องทำสัญญาต่างตอบแทนกับบ.หรือโจทก์ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วว่าไม่มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับโจทก์หรือระหว่างผู้ร้องกับ บ. การที่ผู้ร้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่ามีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับบ. ขึ้นมาอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกปัญหาการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในชั้นอุทธรณ์ & สิทธิในการอ้างข้อกฎหมายที่ไม่สามารถยกในชั้นต้นได้
โจทก์เพิ่งยกปัญหาเรื่องการดำเนินการกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นได้ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ได้มีโอกาสคัดค้านตั้งประเด็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
ในคดีเดิมผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องทำสัญญาต่างตอบแทนกับบ.หรือโจทก์ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วว่าไม่มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับโจทก์หรือระหว่างผู้ร้องกับ บ. การที่ผู้ร้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่ามีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับ บ. ขึ้นมาอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ในคดีเดิมผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องทำสัญญาต่างตอบแทนกับบ.หรือโจทก์ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วว่าไม่มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับโจทก์หรือระหว่างผู้ร้องกับ บ. การที่ผู้ร้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่ามีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างผู้ร้องกับ บ. ขึ้นมาอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และข้อพิพาทเป็นเรื่องข้อเท็จจริง
ทุนทรัพย์ในชั้นร้องขัดทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ผู้ร้องฎีกาว่าตามพฤติการณ์ต้องฟังว่า รถยนต์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น ผู้ร้องรับโอนมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและรับโอนมาโดยไม่มีพิรุธ เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาทั้งสิ้นซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องมาโดยไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างร่วมรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้าง: ผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบการขนส่ง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุมีชื่อเป็นผู้ประกอบการขนส่ง ที่ข้างรถยนต์บรรทุกมีชื่อของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ยอมรับว่านำรถยนต์บรรทุกไปประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 2 ฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบการขนส่ง และร่วมกันเป็นนายจ้างของ ถ.ผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเมื่อถ. ผู้เป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และในการประกอบการขนส่งอันเป็นธุรกิจที่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, การตกลง, ความคล้ายคลึงจนสับสน และสิทธิในการเพิกถอน
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaโดยโจทก์จะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเคยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaกับสินค้าของตนมาก่อนจำเลยโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaพร้อมลวดลายประดิษฐ์ของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCanonMattressในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattessพร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattessเหมือนกับอักษรโรมันคำว่าCanonMattressของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่าMattessของจำเลยกับคำว่าMattressของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัวrอยู่ระหว่างตัวtกับ ตัวeส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัวrอยู่เลยและตัวอักษรMของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษรMของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆเช่น ลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่าCanon-mattessและมีคำอ่านว่าคานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่าCanon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้วประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลยฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattessของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: กรณีเครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Carrena โดยโจทก์จะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเคยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrena กับสินค้าของตนมาก่อนจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Carrena พร้อมลวดลายประดิษฐ์ของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattess พร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattess เหมือนกับอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่า mattess ของจำเลยกับคำว่าMattress ของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัว r อยู่ระหว่างตัว t กับตัว e ส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัว r อยู่เลยและตัวอักษร M ของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษร m ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่า Canon-mattess และมีคำอ่านว่า คานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่า Canon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้ว ประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลย ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattess ของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattess พร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattess เหมือนกับอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่า mattess ของจำเลยกับคำว่าMattress ของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัว r อยู่ระหว่างตัว t กับตัว e ส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัว r อยู่เลยและตัวอักษร M ของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษร m ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่า Canon-mattess และมีคำอ่านว่า คานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่า Canon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้ว ประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลย ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattess ของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท