คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มีพาศน์ โปตระนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการเลียนแบบและละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้า 7-ELEVEn ของโจทก์และ 7-BIGSEVEnของจำเลยต่างมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญ เพราะเลข 7มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 อารบิคของจำเลยจะมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับเลข 7 อารบิคของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรโรมันคำว่า ELEVEnของโจทก์ และคำว่า BIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4 ตัวท้ายเขียนเหมือนกัน และอักษรตัว n ท้ายสุดก็เป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกันลักษณะการวางรูปแบบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน กล่าวคืออักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์พาดกลางตัวเลข 7 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น อักษรโรมันคำว่า BIGSEVEnก็พาดกลางตัวเลข 7 อารบิคเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างกันจึงถือได้ว่าการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลย จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชน และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมขัดแย้งกัน: เพิกถอนพินัยกรรมเก่าด้วยพินัยกรรมใหม่เฉพาะส่วนทรัพย์มรดกและการจัดการมรดก
พินัยกรรมฉบับก่อนเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์ 10 ไร่ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์จำเลยและบุตรคนอื่น ๆ รวม 7 คน คนละ 3 ไร่ ส่วนที่เหลือยังเป็นส่วนของเจ้ามรดกอยู่ โดยมิได้กล่าวถึงที่ดินนา 10 ไร่ ที่เคยทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ก่อนเลย ทั้งพินัยกรรมฉบับแรกตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่พินัยกรรมฉบับหลังตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก พินัยกรรมทั้งสองฉบับในส่วนเกี่ยวกับทรัพย์มรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกจึงขัดกัน และเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกให้ทายาทและเกี่ยวกับการตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวเข้าเมือง จำเลยต้องกระทำเพื่อให้พ้นจากการจับกุม
ลำพังแต่เพียงที่คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตได้มาอยู่ในที่พักชั่วคราวหลังบ้านจำเลยและรับจ้างปลูกบ้านของจำเลยนั้นไม่อาจฟังว่าจำเลยได้กระทำเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าว ต้องพิสูจน์เจตนาเพื่อให้พ้นจากการจับกุม
ลำพังแต่เพียงที่คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตได้มาอยู่ในที่พักชั่วคราวหลังบ้านจำเลย และรับจ้างปลูกบ้านของจำเลยนั้นไม่อาจฟังว่าจำเลยได้กระทำ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น: ลักษณะสัญญา, อายุความ, และการวินิจฉัยประเภทสัญญา
การรับสภาพหนี้ เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก มิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้และแม้จำเลยทำสัญญาไว้ต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ ซึ่งค. เป็นหนี้โจทก์ให้โจทก์ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของ ค. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่ ค. ค้างชำระให้โจทก์ จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาและการเริ่มต้นระยะเวลาฎีกา
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยส่งหมายนัดให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในคำให้การ ปรากฏว่าส่งไม่ได้ จึงปิดประกาศแจ้งวันนัดหน้าศาลเมื่อถึงวันที่ 29 เมษายน 2534 ซึ่งเป็นวันนัด ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2534 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการที่จำเลยไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะเจ้าหน้าที่มิได้นำหมายนัดไปส่งให้แก่ทนายจำเลยตามที่อยู่ใหม่ การประกาศแจ้งวันนัดหน้าศาลจึงไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงยุติและในวันเดียวกันนั้นศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าอนุญาตให้จำเลยยื่นฎีกานับแต่วันนี้จึงถือได้ว่าในวันที่ 13 กันยายน 2534 จำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ซึ่งจะครบกำหนดฎีกาในวันที่ 13 ตุลาคม 2534 แต่ปรากฏว่าวันที่13 ถึง 15 ตุลาคมเป็นวันหยุดราชการ จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 16 ตุลาคม 2534 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา คำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินของผู้อื่นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฎีกาและการถือครองทรัพย์สินแทนผู้อื่น: ศาลฎีกาพิพากษาว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ระบุทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยส่งหมายนัดให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในคำให้การ ปรากฏว่าส่งไม่ได้ จึงปิดประกาศแจ้งวันนัดหน้าศาลเมื่อถึงวันที่ 29 เมษายน 2534 ซึ่งเป็นวันนัดศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2534ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการที่จำเลยไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะเจ้าหน้าที่มิได้นำหมายนัดไปส่งให้แก่ทนายจำเลยตามที่อยู่ใหม่ การประกาศแจ้งวันนัดหน้าศาลจึงไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงยุติและในวันเดียวกันนั้นศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าอนุญาตให้จำเลยยื่นฎีกานับแต่วันนี้จึงถือได้ว่าในวันที่ 13 กันยายน 2534 จำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ซึ่งจะครบกำหนดฎีกาในวันที่ 13 ตุลาคม 2534แต่ปรากฎว่าวันที่ 13 ถึง 15 ตุลาคมเป็นวันหยุดราชการ จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 16 ตุลาคม 2534 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา คำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินของผู้อื่นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมย่อมเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องเงินเพื่อส่งมอบให้ผู้พิพากษาเพื่อประกันตัว เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
เงินที่ผู้กล่าวหามอบให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาในบริเวณศาลนั้นเป็นเงินที่ผู้ถูกกล่าวหาเรียกร้องอ้างว่าจะเอาไปให้ผู้พิพากษาในการที่อนุญาตให้ประกันตัวการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อนจดทะเบียนบริษัท การผูกพันนิติบุคคล และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ก่อนบริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อ.ได้ตกลงให้โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในให้บริษัทจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 นั่งร่วมปรึกษาหารือ ทั้งเมื่อโจทก์ได้ออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นงานของจำเลยที่ 1 ตามความต้องการของ อ.และจำเลยที่ 2 อ.ก็ได้อนุมัติแบบตกแต่ง ถือว่า อ.และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานสาขาของบริษัทจำเลยที่ 1และถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1ทั้งก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล และต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ได้ใช้สถานที่ซึ่งโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในและควบคุมการก่อสร้างเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 แสดงว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1113
โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29 สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันของนิติบุคคลใหม่ต่อสัญญาที่ผู้เริ่มก่อการทำไว้ก่อนจดทะเบียน และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ในขณะอ.และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันว่าจ้างโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยังไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วได้ใช้สถานที่ซึ่งโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในนั้นเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 2 ได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1113 จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินค่าว่าจ้างให้โจทก์
of 39