พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเพิกถอนใบอนุญาตสมาคมที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและเกิดความแตกแยกภายใน
สมาคมโจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่ศาสนาอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เรื่องควบคุมสมาคมและองค์การต่าง ๆ การที่สมาคมโจทก์ไม่แจ้งจำนวนสมาชิกทุกประเภทและรายชื่อกรรมการ ไม่รายงานกิจการที่สมาคมได้ดำเนินการไปต่อจำเลยที่ 1 อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับดังกล่าวไม่แจ้งจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดว่าประสงค์จะดำเนินกิจการอีกต่อไปทั้งสมาชิกของสมาคมโจทก์มีความแตกแยกเป็นหลายฝ่ายถึงขั้นแจ้งความจับกุมสมาชิกซึ่งกันและกัน นำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลหลายคดี อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และขัดต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นเป็นที่เสียหายแก่สมาคมโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลสมาคมโจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้แก่สมาคมโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการละเมิดโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5750-5751/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่ง บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477มาตรา 4 ระบุว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เมื่อปรากฏว่า ถ. บิดาผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาผู้ร้องก่อนที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 ใช้บังคับผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ. และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. ส่วนผู้คัดค้านเมื่อจดทะเบียนสมรสกับ ถ. โดยถูกต้องตามกฎหมายมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. เช่นกัน ทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ด้วยกัน
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีพิพาทที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิเดิม และการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันแจ้งการครอบครองเพื่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อที่ดินอำเภอในที่พิพาทต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ที่ดินอำเภอ และปลัดอำเภอตามลำดับเป็นผู้รับผิดชอบและมีอำนาจออกเอกสารใบจอง หนังสือรับรองการทำประโยชน์และทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินในเขตอำนาจ ย่อมทราบดีว่าที่ดินแปลงใดเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือไม่ ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสรรออกใบจอง และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่พิพาทให้จำเลยที่ 4 กับทำนิติกรรมโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 4 กับที่ 6ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องฟังผลคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งว่าใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลได้มีคำพิพากษาในประเด็นข้อนี้แล้วว่าไม่เป็นฟ้องซ้อน ปัญหาข้อนี้จึงยุติ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 4 บางส่วนได้ออกทับที่ดินของโจทก์ เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์คลาดเคลื่อนอันกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ในส่วนที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โจทก์จะขอให้เพิกถอนทั้งหมดหาได้ไม่
ปัญหาว่า ที่พิพาทคดีนี้เป็นคนละแปลงกับที่ดินซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นที่ของโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลได้มีคำพิพากษาในประเด็นข้อนี้แล้วว่าไม่เป็นฟ้องซ้อน ปัญหาข้อนี้จึงยุติ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 4 บางส่วนได้ออกทับที่ดินของโจทก์ เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์คลาดเคลื่อนอันกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ในส่วนที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โจทก์จะขอให้เพิกถอนทั้งหมดหาได้ไม่
ปัญหาว่า ที่พิพาทคดีนี้เป็นคนละแปลงกับที่ดินซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นที่ของโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิเดิมและการออกเอกสารสิทธิคลาดเคลื่อน
ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันแจ้งการครอบครองเพื่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อที่ดินอำเภอในที่พิพาทต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ที่ดินอำเภอ และปลัดอำเภอตามลำดับเป็นผู้รับผิดชอบและมีอำนาจออกเอกสารใบจอง หนังสือรับรองการทำประโยชน์และทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินในเขตอำนาจ ย่อมทราบดีว่าที่ดินแปลงใดเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือไม่ ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสรรออกใบจอง และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่พิพาทให้จำเลยที่ 4 กับทำนิติกรรมโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 4 กับที่ 6ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องฟังผลคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งว่าใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลได้มีคำพิพากษาในประเด็นข้อนี้แล้วว่าไม่เป็นฟ้องซ้อน ปัญหาข้อนี้จึงยุติ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 4 บางส่วนได้ออกทับที่ดินของโจทก์ เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์คลาดเคลื่อนอันกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ในส่วนที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โจทก์จะขอให้เพิกถอนทั้งหมดหาได้ไม่ ปัญหาว่า ที่พิพาทคดีนี้เป็นคนละแปลงกับที่ดินซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นที่ของโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักตรวจสินค้าเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจกักตรวจหากมีเหตุสงสัย
กองป้องกันและปราบปราม กรมศุลกากร มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้านำเข้าส่งออกเพื่อเก็บภาษีอากร และปราบปรามผู้ลักลอบนำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออกโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมทั้งมีอำนาจยึดกักตรวจสินค้าที่มีเหตุสงสัยว่าจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย การตรวจปล่อยสินค้ากรณีขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรนั้น หากมีเหตุหรือพฤติการณ์แวดล้อมเป็นที่สงสัยอันควรเชื่อว่าสินค้านั้นไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับที่ส่งออก หรือเป็นสินค้าที่ถูกลักลอบนำเข้าโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรเจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามก็มีอำนาจโดยชอบที่จะกักสินค้านั้นไว้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติศุลกากรต่อไปได้ โจทก์ได้รับการผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรขาเข้าแล้วแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยสงสัย และน่าเชื่อว่าสินค้าที่โจทก์นำกลับเข้ามาและขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับสินค้าที่ส่งออกไปแต่เป็นสินค้าที่ใช้วิธีผ่อนผันใบสุทธินำกลับหลีกเลี่ยงภาษีอากรขาเข้า เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยจึงกักสินค้าดังกล่าวของโจทก์ไว้ตรวจสอบ ทั้งได้ตรวจสอบสินค้าดังกล่าวถึง2 ครั้ง ภายในเวลาอันสมควรแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิและอำนาจโดยชอบที่จะสั่งไม่ปล่อยสินค้านั้นแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันสินค้าเพื่อตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจตามกฎหมาย
กองป้องกันและปราบปราม กรมศุลกากร มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้านำเข้าส่งออกเพื่อเก็บภาษีอากร และปราบปรามผู้ลักลอบนำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออกโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมทั้งมีอำนาจยึดกักตรวจสินค้าที่มีเหตุสงสัยว่าจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย การตรวจปล่อยสินค้ากรณีขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรนั้น หากมีเหตุหรือพฤติการณ์แวดล้อมเป็นที่สงสัยอันควรเชื่อว่าสินค้านั้นไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับที่ส่งออก หรือเป็นสินค้าที่ถูกลักลอบนำเข้าโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรเจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามก็มีอำนาจโดยชอบที่จะกักสินค้านั้นไว้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติศุลกากรต่อไปได้
โจทก์ได้รับการผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรขาเข้าแล้วแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยสงสัย และน่าเชื่อว่าสินค้าที่โจทก์นำกลับเข้ามาและขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับสินค้าที่ส่งออกไปแต่เป็นสินค้าที่ใช้วิธีผ่อนผันใบสุทธินำกลับหลีกเลี่ยงภาษีอากรขาเข้า เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยจึงกักสินค้าดังกล่าวของโจทก์ไว้ตรวจสอบ ทั้งได้ตรวจสอบสินค้าดังกล่าวถึง2 ครั้ง ภายในเวลาอันสมควรแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิและอำนาจโดยชอบที่จะสั่งไม่ปล่อยสินค้านั้นแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
โจทก์ได้รับการผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรขาเข้าแล้วแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยสงสัย และน่าเชื่อว่าสินค้าที่โจทก์นำกลับเข้ามาและขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับสินค้าที่ส่งออกไปแต่เป็นสินค้าที่ใช้วิธีผ่อนผันใบสุทธินำกลับหลีกเลี่ยงภาษีอากรขาเข้า เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยจึงกักสินค้าดังกล่าวของโจทก์ไว้ตรวจสอบ ทั้งได้ตรวจสอบสินค้าดังกล่าวถึง2 ครั้ง ภายในเวลาอันสมควรแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิและอำนาจโดยชอบที่จะสั่งไม่ปล่อยสินค้านั้นแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีละเลยตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ ทำให้เกิดการทุจริโอเกิดขึ้น
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลอันเป็นส่วนราชการ ทราบรายงานสรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับผู้รับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม2527 ถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันนั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8มีนาคม 2528 ยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลา 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความ อ.นำเอกสารที่ทำปลอมขึ้นเสนอต่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ผ่านจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามระเบียบ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ประมาทเลินเล่อมิได้ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จ่ายเงินยืม-ทดรองราชการแก่ อ. ทั้งที่อ. มิได้เสนอผ่านขั้นตอนตามระเบียบ นอกจากนี้ยังมิได้เรียกหนังสือมอบฉันทะจาก อ. และมิได้ดำเนินการทวงถามเงินยืมคืนจากผู้ยืม เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับจากวันรับเงินอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ อ. สามารถกระทำการทุจริตได้การที่ อ. กระทำการทุจริตได้ จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว จำเลยที่ 3 ที่ 4 มีหน้าที่ชดใช้เงินแก่โจทก์ หากโจทก์จะได้รับชำระหนี้จาก อ.และฉ.ในคดีที่โจทก์ฟ้องอ.และฉ.ให้รับผิดต่อโจทก์ อันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะอาจไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงหาซ้ำซ้อนกับคดีดังกล่าวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อความเสียหายจากลูกน้องละเมิด และการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลอันเป็นส่วนราชการ ทราบรายงานสรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับผู้รับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม2527 ถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันนั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2528 ยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลา 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
อ.นำเอกสารที่ทำปลอมขึ้นเสนอต่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ผ่านจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามระเบียบ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ประมาทเลินเล่อมิได้
จำเลยที่ 3 ที่ 4 จ่ายเงินยืม-ทดรองราชการแก่ อ. ทั้งที่อ. มิได้เสนอผ่านขั้นตอนตามระเบียบ นอกจากนี้ยังมิได้เรียกหนังสือมอบฉันทะจาก อ. และมิได้ดำเนินการทวงถามเงินยืมคืนจากผู้ยืม เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับจากวันรับเงินอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ อ. สามารถกระทำการทุจริตได้การที่ อ. กระทำการทุจริตได้ จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มีหน้าที่ชดใช้เงินแก่โจทก์ หากโจทก์จะได้รับชำระหนี้จาก อ. และ ฉ. ในคดีที่โจทก์ฟ้อง อ. และ ฉ.ให้รับผิดต่อโจทก์ อันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะอาจไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงหาซ้ำซ้อนกับคดีดังกล่าวไม่.
อ.นำเอกสารที่ทำปลอมขึ้นเสนอต่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ผ่านจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามระเบียบ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ประมาทเลินเล่อมิได้
จำเลยที่ 3 ที่ 4 จ่ายเงินยืม-ทดรองราชการแก่ อ. ทั้งที่อ. มิได้เสนอผ่านขั้นตอนตามระเบียบ นอกจากนี้ยังมิได้เรียกหนังสือมอบฉันทะจาก อ. และมิได้ดำเนินการทวงถามเงินยืมคืนจากผู้ยืม เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับจากวันรับเงินอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ อ. สามารถกระทำการทุจริตได้การที่ อ. กระทำการทุจริตได้ จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มีหน้าที่ชดใช้เงินแก่โจทก์ หากโจทก์จะได้รับชำระหนี้จาก อ. และ ฉ. ในคดีที่โจทก์ฟ้อง อ. และ ฉ.ให้รับผิดต่อโจทก์ อันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะอาจไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงหาซ้ำซ้อนกับคดีดังกล่าวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งต้องพิจารณาจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่หน้าที่ควบคุมดูแล
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการปฏิบัติหน้าที่แล้วโดยมิได้ประมาทเลินเล่อ จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ การที่ อ. กระทำการทุจริตรับเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้เป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่ 4 รู้แล้วว่าจำเลยที่ 4 จ่ายเงินโดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบ แต่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 4 กระทำเช่นนั้นจึงต้องร่วมรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 4 เป็นผู้จ่ายด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าช่วงอาคารพิพาท: การจดทะเบียนเช่าช่วงโดยผู้มีสิทธิที่ดีกว่า ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารที่กำลังก่อสร้างรวม 3 คูหาให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระราคาครบถ้วนในวันทำสัญญา ในระหว่างการก่อสร้างยังไม่เสร็จ จำเลยที่ 1ได้เอาสิทธิการเช่าช่วงที่ได้ขายให้โจทก์แล้วนั้นไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งสามคูหา โดยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิการเช่าได้ทำสัญญาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงอาคารไปแล้ว 2 คูหา โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3อ้างว่าเป็นนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลที่โจทก์ขอเพิกถอนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ที่จะฟ้องขอเพิกถอนได้คือเจ้าหนี้ โดยฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำกับบุคคลที่สาม จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 หาใช่ลูกหนี้ของโจทก์ไม่นิติกรรมระหว่างจำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่การฉ้อฉลที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ ตามมาตรา 237
แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1ก่อนจำเลยที่ 2 แต่ขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ไม่รู้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิการเช่าช่วงจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต และได้ความด้วยว่าจำเลยที่ 2 ได้เสียเงินกินเปล่าให้จำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เสียเงินไปกว่า 2 ล้านบาท จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์แม้ต่อมาโจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กับ ส. กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และได้ร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นได้สั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมผูกพันหรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทและฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามรู้ถึงคำสั่งห้ามชั่วคราวแล้ว จำเลยที่ 2 ยังได้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 3 ก็ถือไม่ได้ว่าการทำนิติกรรมดังกล่าวกระทำไปโดยใช้สิทธิไม่สุจริต เพราะจำเลยที่ 2 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์อยู่แล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าช่วงอาคารพิพาทนั้นก็เป็นการจดทะเบียนให้แก่ผู้มีสิทธิดีกว่าโจทก์ สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่กระทำโดยไม่สุจริต อันโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5
แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1ก่อนจำเลยที่ 2 แต่ขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ไม่รู้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิการเช่าช่วงจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต และได้ความด้วยว่าจำเลยที่ 2 ได้เสียเงินกินเปล่าให้จำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เสียเงินไปกว่า 2 ล้านบาท จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์แม้ต่อมาโจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กับ ส. กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และได้ร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นได้สั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมผูกพันหรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทและฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามรู้ถึงคำสั่งห้ามชั่วคราวแล้ว จำเลยที่ 2 ยังได้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 3 ก็ถือไม่ได้ว่าการทำนิติกรรมดังกล่าวกระทำไปโดยใช้สิทธิไม่สุจริต เพราะจำเลยที่ 2 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์อยู่แล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าช่วงอาคารพิพาทนั้นก็เป็นการจดทะเบียนให้แก่ผู้มีสิทธิดีกว่าโจทก์ สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่กระทำโดยไม่สุจริต อันโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5