พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4878/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากการจ้างทำของ กรณีผู้รับจ้างขาดความรู้และควบคุมงาน
การที่จำเลยเป็นผู้นำชี้แนวทำถนนให้ผู้รับจ้าง และควบคุมดูแลการทำถนนตลอดเวลา กับการที่ผู้รับจ้างไม่มีความรู้ในเชิงวิชากาทำถนนที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างข้างเคียงหรือไม่ยอมทำตามวิธีการที่ถูกต้อง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ผู้ว่าจ้างให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างและแม้จำเลยจะมิใช่ผู้ทำสัญญาจ้าง แต่จำเลยก็มอบหมายให้ ป.เป็นผู้ว่าจ้างแทน ป.จึงเป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านว่า ป.มิได้ทำไปภายในขอบเขตอำนาจแห่งฐานตัวแทนแล้วจำเลยซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายที่ ป.ซึ่งเป็นตัวแทนได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 จำเลยจะปัดความรับผิดโดยเหตุที่ตนมิได้เป็นผู้ทำสัญญาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินติดแม่น้ำ: การรุกล้ำ การสงวนสิทธิ และความชอบด้วยกฎหมายในการคัดค้านการรับรองแนวเขต
แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่โอบล้อมปิดหน้าที่ดินของโจทก์และมารดาจะพังลงแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังคงสงวนสิทธิและครอบครองที่ดินส่วนนี้อยู่โดยการนำหินไปทิ้งเพื่อกันตลิ่งพังไว้เพื่อประโยชน์ที่จะสร้างเขื่อนให้เรือเข้าเทียบท่าลำเลียงสินค้า ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่พังลงแม่น้ำเจ้าพระยาจึงไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์สร้างบันไดบ้านของโจทก์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 และการที่ผู้แทนของจำเลยที่ 2 ไปรับรองต่อนายช่างรังวัดสำนักงานที่ดินจังหวัดว่าเจ้าของไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์และที่ดินตกเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง และเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิอันชอบด้วยกฎหมายทักท้วงจำเลยที่ 2 กรณีดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินติดแม่น้ำเจ้าพระยา การรังวัด และการละเมิดสิทธิ
แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่โอบล้อมปิดหน้าที่ดินของโจทก์และมารดาจะพังลงแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังคงสงวนสิทธิและครอบครองที่ดินส่วนนี้อยู่โดยการนำหินไปทิ้งเพื่อกันตลิ่งพังไว้เพื่อประโยชน์ที่จะสร้างเขื่อน ให้เรือเข้าเทียบท่าลำเลียงสินค้า ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่พังลงแม่น้ำเจ้าพระยาจึงไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
โจทก์สร้างบันไดบ้านของโจทก์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 และการที่ผู้แทนของจำเลยที่ 2 ไปรับรองต่อนายช่างรังวัดสำนักงานที่ดินจังหวัดว่าเจ้าของไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์และที่ดินตกเป็นที่สาธารณ สมบัติของแผ่นดินแล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง และเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิอันชอบด้วยกฎหมายทักท้วงจำเลยที่ 2 กรณีดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์สร้างบันไดบ้านของโจทก์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 และการที่ผู้แทนของจำเลยที่ 2 ไปรับรองต่อนายช่างรังวัดสำนักงานที่ดินจังหวัดว่าเจ้าของไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์และที่ดินตกเป็นที่สาธารณ สมบัติของแผ่นดินแล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง และเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิอันชอบด้วยกฎหมายทักท้วงจำเลยที่ 2 กรณีดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของอาคารมีหน้าที่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผิดกฎหมาย แม้ไม่รู้เห็นการก่อสร้าง
จำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานมีคำสั่งให้รื้อถอน จำเลยที่ 2 เพิกเฉย ต่อมาจำเลยที่ 1 รับโอนอาคารพิพาทมา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่รู้เห็นในการต่อเติมอาคารดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์มีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมรื้อถอน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนอาคารพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของอาคารมีหน้าที่รื้อถอนส่วนต่อเติมผิดแบบ แม้ไม่มีส่วนรู้เห็นในการก่อสร้าง
จำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานมีคำสั่งให้รื้อถอน จำเลยที่ 2 เพิกเฉย ต่อมาจำเลยที่ 1 รับโอนอาคารพิพาทมา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่รู้เห็นในการต่อเติมอาคารดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์มีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมรื้อถอน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนอาคารพิพาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและที่ดินพิพาท การครอบครองแทนทายาท การคิดค่าเสียหายจากทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย โดยตึกแถวพิพาทเป็นสินสมรสของผู้ตายกับโจทก์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ เช่นนี้โจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม และตามคำฟ้อง โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายทั้งในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยามีส่วนแบ่งในสินสมรสของผู้ตาย ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายและในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้องในฐานะต่าง ๆ ดังกล่าวรวมกันมาโจทก์ย่อมฟ้องรวมกันมาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยา เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรสทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป เช่นนี้ หาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทแต่อย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้ กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุมแต่อย่างไร
เมื่อบิดาของผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของบิดาผู้ตายต่อมา ย่อมเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย และเมื่อผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยมิได้แบ่งปันกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงโดยแจ้งชัดต่อผู้ตายว่ามีเจตนาจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตายตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 7 กันยายน2527 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสมรส หาได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมไม่ เช่นนี้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าตึกแถวพิพาทจะให้เช่าได้เดือนละเท่าไรนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และใบเสร็จรับเงินค่าเช่ามิใช่เอกสารที่จะต้องฟังเป็นยุติว่าทรัพย์สินนั้นให้เช่าได้เดือนละเท่าไร ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วฟังว่าค่าเสียหายเป็นเงินเดือนเท่าไรได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทอันเป็นสินสมรสและมรดกของผู้ตาย ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป แต่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างเป็นการไม่ชอบ เพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโดยระบุให้ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยา เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรสทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป เช่นนี้ หาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทแต่อย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้ กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุมแต่อย่างไร
เมื่อบิดาของผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของบิดาผู้ตายต่อมา ย่อมเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย และเมื่อผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยมิได้แบ่งปันกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงโดยแจ้งชัดต่อผู้ตายว่ามีเจตนาจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตายตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 7 กันยายน2527 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสมรส หาได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมไม่ เช่นนี้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าตึกแถวพิพาทจะให้เช่าได้เดือนละเท่าไรนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และใบเสร็จรับเงินค่าเช่ามิใช่เอกสารที่จะต้องฟังเป็นยุติว่าทรัพย์สินนั้นให้เช่าได้เดือนละเท่าไร ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วฟังว่าค่าเสียหายเป็นเงินเดือนเท่าไรได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทอันเป็นสินสมรสและมรดกของผู้ตาย ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป แต่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างเป็นการไม่ชอบ เพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโดยระบุให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและสินสมรส โดยผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องแทนทายาทได้ ไม่เป็นอุทลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเป็นภรรยาเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรส ทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไปหาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทอย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุม ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างนั้น ยังไม่ชอบเพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก, ที่ดิน, ตึกแถว, สิทธิในฐานะผู้จัดการมรดกและคู่สมรส, ค่าเสียหายจากการเช่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย โดยตึกแถวพิพาทเป็นสินสมรสของผู้ตายกับโจทก์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ เช่นนี้โจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้วคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม และตามคำฟ้อง โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายทั้งในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยามีส่วนแบ่งในสินสมรสของผู้ตาย ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายและในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้องในฐานะต่าง ๆ ดังกล่าวรวมกันมาโจทก์ย่อมฟ้องรวมกันมาได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยา เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรสทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป เช่นนี้ หาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทแต่อย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้ กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุมแต่อย่างไร เมื่อบิดาของผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของบิดาผู้ตายต่อมา ย่อมเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย และเมื่อผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยมิได้แบ่งปันกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงโดยแจ้งชัดต่อผู้ตายว่ามีเจตนาจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตายตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 7 กันยายน 2527 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสมรส หาได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมไม่ เช่นนี้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าตึกแถวพิพาทจะให้เช่าได้เดือนละเท่าไรนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และใบเสร็จรับเงินค่าเช่ามิใช่เอกสารที่จะต้องฟังเป็นยุติว่าทรัพย์สินนั้นให้เช่าได้เดือนละเท่าไร ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วฟังว่าค่าเสียหายเป็นเงินเดือนเท่าไรได้ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทอันเป็นสินสมรสและมรดกของผู้ตายทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป แต่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างเป็นการไม่ชอบ เพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโดยระบุให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการชำระหนี้ด้วยวิธีการอื่นแทนการชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
หลังจากจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของเสาอากาศวิทยุให้โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย คงประสงค์ให้จำเลยซ่อมแซมและติดตั้งเสาอากาศวิทยุให้ใหม่เท่านั้น อุปกรณ์การซ่อมแซมของจำเลยรายใดไม่เป็นไปตามมาตรฐานของทางราชการ โจทก์ก็เร่งรัดให้จำเลยแก้ไขโดยไม่ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ใช้เสาอากาศวิทยุที่จำเลยติดตั้งให้ใหม่มาโดยตลอด แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาเสาอากาศวิทยุที่จำเลยติดตั้งให้ใหม่แทนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันไว้ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการชำระหนี้ด้วยวิธีการอื่นที่คู่กรณีรับทราบและยินยอม ถือเป็นการปลดเปลื้องภาระหนี้เดิม
จำเลยขับรถยนต์ชนลวดสลิง ที่ยึดโยงเสาอากาศวิทยุของโจทก์ทำให้เสาอากาศวิทยุล้มเสียหายใช้การไม่ได้ จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์ยอมรับเอาเสาอากาศวิทยุที่จำเลยติดตั้งใหม่แทนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันไว้ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงเป็นอันระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคแรก.