พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการปฏิบัติการชำระหนี้โดยการซ่อมแซม เสาอากาศวิทยุ แทนการชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
หลังจากจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของเสาอากาศวิทยุให้โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย คงประสงค์ให้จำเลยซ่อมแซมและติดตั้งเสาอากาศวิทยุให้ใหม่เท่านั้น อุปกรณ์การซ่อมแซมของจำเลยรายใดไม่เป็นไปตามมาตรฐานของทางราชการ โจทก์ก็เร่งรัดให้จำเลยแก้ไขโดยไม่ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ใช้เสาอากาศวิทยุที่จำเลยติดตั้งให้ใหม่มาโดยตลอด แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาเสาอากาศวิทยุที่จำเลยติดตั้งให้ใหม่แทนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันไว้ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์จากการผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดรถยนต์ชอบด้วยสัญญา ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายตามฟ้องหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาค่างวดรถยนต์ติดต่อกันถึง 7 งวดจำเลยจึงใช้สิทธิตามสัญญายึดรถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์ จำเลยจึงมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงฟังไม่ได้ตามฟ้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคดีต่อไปว่า เมื่อจำเลยยึดรถพิพาทคืนจากโจทก์ เป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม และให้จำเลยคืนเงินค่างวดรถยนต์ที่ได้รับชำระไว้แล้วทั้งหมดแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์คืนจากผู้ผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยเรื่องเลิกสัญญาเกินประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาค่างวดรถยนต์ติดต่อกันถึง 7 งวด จำเลยจึงใช้สิทธิตามสัญญายึดรถยนต์คืนจากโจทก์ ดังนั้น จำเลยจึงมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงฟังไม่ได้ตามฟ้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคดีต่อไปว่า เมื่อจำเลยยึดรถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์เป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมและให้จำเลยคืนเงินค่างวดรถยนต์ที่ได้รับชำระไว้แล้วทั้งหมดแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลต้องบังคับรื้อถอนตามกฎหมาย
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯข้อ 76(4) ระบุว่า การก่อสร้างอาคารตึกแถว ห้องแถวต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารไม่น้อยกว่า 2 เมตร เมื่อจำเลยต่อเติมดัดแปลงอาคารปกคลุมที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมทำให้ไม่มีที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมเหลืออยู่ อีกทั้งจำเลยต่อเติมดัดแปลงไปโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และอาคารที่ดัดแปลงแล้วนั้นไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม กรณีการต่อเติมดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตและเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้นั้นพระราชบัญญัติคุมคุมอาคารฯ มาตรา 42 มิได้ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้รื้อถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่ก็ได้เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนศาลจำต้องบังคับให้มีการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3894/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์, พยายามข่มขืน, และความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีอาญา
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 และ 318ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา ให้ลงโทษตามมาตรา 318 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 4 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าเป็นความผิด 2 กระทง และแก้บทกฎหมายทั้ง 2 มาตรา ดังกล่าว โดยระบุวรรคเสียให้ชัดเจน แต่คงให้ลงโทษจำคุกจำเลยรวมแล้วมีกำหนด 4 ปี ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยมีมีดปลายแหลมเป็นอาวุธบุกรุกขึ้นไปบนเรือนของโจทก์ร่วม ผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปี เป็นหลานของโจทก์ร่วมและอาศัยหลับนอนอยู่ที่บ้านของโจทก์ร่วม ได้กระโดดลงเรือนเพื่อหลบหนี การที่ผู้เสียหายกระโดดลงเรือหนีไปเกิดเพราะจำเลยเป็นต้นเหตุให้หนี ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้เสียหายเองและยังหลบหนีไปไม่ไกล จึงถือว่าขณะนั้นผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในความปกครองของโจทก์ร่วมไม่ได้ และการที่ต่อจากนั้นจำเลยเข้าไปจับผมผู้เสียหายดึงไปทั้งขู่ไม่ให้ร้อง และพาผู้เสียหายไปที่ทุ่งนาห่างบ้านเกิดเหตุประมาณ 1 เส้น เพื่อกระทำอนาจารและพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดา หรือผู้ดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3894/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การกระทำที่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลบหนีถือเป็นการพรากจากผู้ดูแลหรือไม่
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 284 และ 318 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม มาตรา 318 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าเป็นความผิด 2 กระทง และแก้บทกฎหมายทั้ง 2 มาตราดังกล่าว โดยระบุวรรคเสียให้ชัดเจน แต่คงให้ลงโทษจำคุกจำเลยรวมแล้วมีกำหนด 4 ปี ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
การที่ผู้เสียหายกระโดดลงจากเรือนหนีไปเกิดเพราะจำเลยเป็นต้นเหตุให้หนี ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้เสียหายเองและยังหลบหนีไปไม่ไกลจะถือว่าขณะนั้นผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในความปกครองของโจทก์ร่วมไม่ได้ และการที่ต่อจากนั้น จำเลยเข้าไปจับผมผู้เสียหายดึงไปทั้งขู่ไม่ให้ร้อง และพาผู้เสียหายไปที่ทุ่งนาห่างบ้านเกิดเหตุประมาณ 1 เส้น เพื่อกระทำอนาจารและพยายามข่มขืนผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดา หรือผู้ดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม
การที่ผู้เสียหายกระโดดลงจากเรือนหนีไปเกิดเพราะจำเลยเป็นต้นเหตุให้หนี ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้เสียหายเองและยังหลบหนีไปไม่ไกลจะถือว่าขณะนั้นผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในความปกครองของโจทก์ร่วมไม่ได้ และการที่ต่อจากนั้น จำเลยเข้าไปจับผมผู้เสียหายดึงไปทั้งขู่ไม่ให้ร้อง และพาผู้เสียหายไปที่ทุ่งนาห่างบ้านเกิดเหตุประมาณ 1 เส้น เพื่อกระทำอนาจารและพยายามข่มขืนผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดา หรือผู้ดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุขาดนัดพิจารณาคดี: ความล่าช้าจากการต่อรองค่าเสียหายอุบัติเหตุรถยนต์ไม่ถือเป็นเหตุสมควร
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ อ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของผู้มีชื่อระหว่างทางมาศาล ต้องเสียเวลาตกลงกันเกือบ 2 ชั่วโมง ทำให้มาศาลไม่ทันตามกำหนดเวลานัด แต่ข้อเท็จจริงส่อแสดงว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันเป็นความผิดของจำเลยที่ 2 และความล่าช้าในการตกลงเรื่องค่าเสียหายกับผู้มีชื่อเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 พยายามต่อรองราคาค่าเสียหาย ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 2 สามารถจ่ายหรือทำความตกลงกับผู้มีชื่อได้โดยไม่ชักช้า นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังจะต้องให้ผู้มีชื่อซึ่งไม่มีความสันทัดในการเขียนหนังสือเขียนใบรับเงินที่มีข้อความค่อนข้างยืดยาวให้อีก อันเป็นการเพิ่มพูนการเสียเวลาให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งความชักช้าดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัด เช่นนี้ จึงยังฟังไม่ได้ถนัดนักว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มาศาลไม่ได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่อาจอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามที่ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังสมรส: สิทธิของคู่สมรสในทรัพย์สินที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรส และขอบเขตการยกประเด็นใหม่ในคดี
คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่าจำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่โดยคู่ความแถลงรับกันว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 จำเลยจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2525 อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว การที่จำเลยและจำเลยร่วมยกข้อโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นการตั้งประเด็นใหม่อีกหาอาจกระทำได้ไม่ ข้อโต้แย้งของจำเลยและจำเลยร่วมดังกล่าวอยู่นอกคำท้าศาลไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินหลังจดทะเบียนสมรส: ศาลต้องพิจารณาว่าที่ดินเป็นสินส่วนตัวหรือสินร่วม
โจทก์จำเลยและจำเลยร่วมท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่า จำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่ โดยคู่ความแถลงรับกันว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วม อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมจะโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการตั้งเป็นประเด็นใหม่นอกคำท้าอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจดทะเบียนสมรส: สิทธิของคู่สมรสในทรัพย์สินที่ได้มาในช่วงชีวิตสมรส
โจทก์จำเลยและจำเลยร่วมท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่า จำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่ โดยคู่ความแถลงรับกันว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วม อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมจะโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการตั้งเป็นประเด็นใหม่นอกคำท้าอีกหาได้ไม่