คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มีพาศน์ โปตระนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ, การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ, การตรวจรับงาน, ความรับผิดทางละเมิด
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สินหนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯเป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ.2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัดถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่4และที่5ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754 ตามระเบียบของทางราชการคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งหากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น1ปีหลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงานณสถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้องสมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายและการปรับตามสัญญาเมื่อผู้ขายส่งมอบสิ่งของไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน
ตามสัญญาให้ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาเมื่อผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของตามที่ตกลงหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดแต่ไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบซึ่งเป็นสิทธิของผู้ซื้อที่จะเลิกหรือจะให้ปฏิบัติตามสัญญาก็ได้ เมื่อผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาในทันทีแต่ให้โอกาสแก่ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาก็ย่อมได้เพราะผู้ซื้อยังมีความประสงค์จะซื้อสิ่งของตามสัญญานั้นอยู่เป็นหน้าที่ของผู้ขายจะต้องนำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อจนครบถ้วนการที่ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับตามสัญญาในอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาก็เป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่นเมื่อไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และการกีดขวางทางดังกล่าว
ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่1เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่1โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350 ปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์เป็นผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาชำแหละเนื้อสุกรขายการใช้รถยนต์ผ่านทางเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็น: ที่ดินไม่มีทางออก รถยนต์คือปัจจัยจำเป็น
ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
ปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์เป็นผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาชำแหละเนื้อสุกรขายการใช้รถยนต์ผ่านทางเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่นเมื่อไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และการรุกล้ำกีดขวางทาง
ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่ 1เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์เป็นผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาชำระแหละเนื้อสุกรขาย การใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออก และการรบกวนการใช้ทางของผู้อื่น
ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่1เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่1โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350 ปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์เป็นผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาชำระแหละเนื้อสุกรขายการใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นทางสาธารณะและภารจำยอม: การยกประเด็นใหม่ในฎีกาที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งห้ารื้อถอนเสาคอนกรีตกับรั้วลวดหนามและสิ่งที่รุกล้ำออกไปจากทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะและทางภารจำยอมเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนเสาและรั้วลวดหนามออกไปจากทางพิพาทคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกโจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมประเด็นเรื่องทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงยุติแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าทางพิพาทมิใช่ทางภารจำยอมก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ฎีกาของโจทก์ที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานการยืมเงินต้องมีลายมือชื่อผู้ยืมจึงใช้บังคับคดีได้
เอกสารที่จำเลยเขียนมีข้อความว่า "วันที่ 11 กันยายน 2528วัฒนา สุขสำราญ ได้ยืมเงินพี่ดาหกหมื่นบาทถ้วน" ถือไม่ได้ว่าชื่อจำเลยที่เขียนไว้เป็นการลงลายมือชื่อ เมื่อเอกสารไม่มีลายมือชื่อของจำเลยลงไว้ในฐานะเป็นผู้ยืมจึงไม่เป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตามความมุ่งหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้ยืมเงินที่ไม่มีลายมือชื่อผู้กู้ แม้จะเขียนด้วยมือผู้กู้เอง ก็ใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
จำเลยเขียนเอกสารการกู้ยืมเงินด้วยลายมือตนเองโดยระบุชื่อจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินโจทก์แต่จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อไว้ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยโจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานกู้ยืมต้องมีลายมือชื่อผู้ยืม จึงใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้
แม้จำเลยเบิกความรับว่าจำเลยเป็นผู้เขียนข้อความในเอกสารด้วยตนเองว่าจำเลยได้ยืมเงินโจทก์หกหมื่นบาทถ้วนแต่เมื่อเอกสารไม่มีลายมือชื่อจำเลยลงไว้เป็นผู้ยืมก็ถือไม่ได้ว่าชื่อจำเลยที่เขียนไว้เป็นการลงลายมือชื่อของจำเลยตามความหมายของมาตรา653วรรคหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยไม่ได้
of 39