พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญาซื้อขายเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตามสัญญา
จำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายภายในกำหนดเวลา โจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยส่งมอบ โดยระบุว่าขอสงวนสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าปรับตามสัญญาจากจำเลยด้วยแสดงว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะเลิกสัญญากับจำเลยเลยจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสิ่งของให้ถูกต้องตามสัญญาเมื่อจำเลยส่งมอบแล้วแต่สิ่งของนั้นไม่ถูกต้องตรงตามสัญญาก็ต้องถือว่าจำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายภายในกำหนดเวลา โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยเพื่อให้ปฏิบัติตามสัญญา แต่ในขณะเดียวกันระยะเวลาที่ล่วงเลยมานั้นก็ยังคงถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับจากการส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนด จนกระทั่งโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ จึงมีหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญา ซึ่งตามสัญญาข้อ 9 วรรคสาม มีข้อความว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขาย ไม่อาจจะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิ บอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้อง ให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาก็ได้ ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 มิใช่ตามสัญญาข้อ 8 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับตามข้อสัญญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญาซื้อขายเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตามสัญญา
จำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายภายในกำหนดเวลาโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยส่งมอบโดยระบุว่าขอสงวนสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าปรับตามสัญญาจากจำเลยด้วยแสดงว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะเลิกสัญญากับจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสิ่งของให้ถูกต้องตามสัญญาเมื่อจำเลยส่งมอบแล้วแต่สิ่งของนั้นไม่ถูกต้องตรงตามสัญญาก็ต้องถือว่าจำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายภายในกำหนดเวลาโจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยเพื่อให้ปฎิบัติตามสัญญาแต่ในขณะเดียวกันระยะเวลาที่ล่วงเลยมานั้นก็ยังคงถือว่าจำเลยปฎิบัติผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับจากการส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนดจนกระทั่งโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฎิบัติตามสัญญาต่อไปได้จึงมีหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาซึ่งตามสัญญาข้อ9วรรคสามมีข้อความว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจจะปฎิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันตามสัญญาข้อ7กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ8วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาก็ได้ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ9มิใช่ตามสัญญาข้อ8โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับตามข้อสัญญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องครอบครองปรปักษ์: ฟ้องไม่ชัดเจน, วินิจฉัยนอกประเด็น, ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยหาจำต้องอุทธรณ์ประเด็นนี้ไม่แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นอื่นจำเลยได้กล่าวคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้แล้วคดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิที่โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกินสิบปีการที่โจทก์บรรยายถึงการเป็นทายาทก็เพียงให้ทราบว่าโจทก์เข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเท่านั้นไม่มีประเด็นเรื่องมรดกหรือขอแบ่งมรดกและที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นไว้ข้อหนึ่งว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ก็หมายความว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะที่ได้ครอบครองปรปักษ์หรือไม่ตามที่กล่าวในฟ้องนั่นเองการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแทนอ. ถือว่าเป็นเจ้าของรวมและมีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทได้นั้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า10ปีจำเลยทั้งหกเป็นทายาทผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันส่งมอบโฉนดเพื่อนำไปทำนิติกรรมแบ่งแยกที่ดินซึ่งจำเลยยึดถือโฉนดไว้ไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวร่วมกันโจทก์ทั้งสองประสงค์จะแบ่งแยกทั้งมิได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกอยู่ในที่ดินแปลงที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดไว้แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคนใดเป็นผู้มีชื่อในโฉนดจึงไม่มีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142()ประกอบด้วยมาตรา246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องครอบครองปรปักษ์: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์และการแบ่งมรดก ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยหาจำต้องอุทธรณ์ประเด็นนี้ไม่ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นอื่น จำเลยได้กล่าวคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้แล้ว คดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิที่โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกินสิบปี การที่โจทก์บรรยายถึงการเป็นทายาทก็เพียงให้ทราบว่าโจทก์เข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่มีประเด็นเรื่องมรดกหรือขอแบ่งมรดก และที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นไว้ข้อหนึ่งว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ ก็หมายความว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะที่ได้ครอบครองปรปักษ์หรือไม่ตามที่กล่าวในฟ้องนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแทน อ.ถือว่าเป็นเจ้าของรวมและมีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทได้นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีจำเลยทั้งหกเป็นทายาทผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันส่งมอบโฉนดเพื่อนำไปทำนิติกรรมแบ่งแยกที่ดินซึ่งจำเลยยึดถือโฉนดไว้ ไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวร่วมกัน โจทก์ทั้งสองประสงค์จะแบ่งแยก ทั้งมิได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกอยู่ในที่ดินแปลงที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดไว้แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคนใดเป็นผู้มีชื่อในโฉนด จึงไม่มีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิที่โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกินสิบปี การที่โจทก์บรรยายถึงการเป็นทายาทก็เพียงให้ทราบว่าโจทก์เข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่มีประเด็นเรื่องมรดกหรือขอแบ่งมรดก และที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นไว้ข้อหนึ่งว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ ก็หมายความว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะที่ได้ครอบครองปรปักษ์หรือไม่ตามที่กล่าวในฟ้องนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแทน อ.ถือว่าเป็นเจ้าของรวมและมีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทได้นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีจำเลยทั้งหกเป็นทายาทผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันส่งมอบโฉนดเพื่อนำไปทำนิติกรรมแบ่งแยกที่ดินซึ่งจำเลยยึดถือโฉนดไว้ ไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวร่วมกัน โจทก์ทั้งสองประสงค์จะแบ่งแยก ทั้งมิได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกอยู่ในที่ดินแปลงที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดไว้แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคนใดเป็นผู้มีชื่อในโฉนด จึงไม่มีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องคดีอาญาเมื่อโจทก์ไม่มาศาลตามนัดไต่สวนมูลฟ้อง แม้ไม่ใช่การนัดครั้งแรก
การที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไปแล้วในการไต่สวนมูลฟ้องจะพอฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่ต้องเป็นกรณีที่โจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้วไม่ติดใจนำพยานเข้าไต่สวนต่อไปแต่เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งที่สองแม้จะไม่ใช่วันนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งแรกศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166วรรคแรกโดยไม่ต้องวินิจฉัยพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วในนัดก่อนว่าคดีมีมูลหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดไต่สวนมูลฟ้องส่งผลให้ศาลยกฟ้อง แม้จะมีการไต่สวนพยานไปแล้ว
การที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไปแล้วในการไต่สวนมูลฟ้องจะพอฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่ ต้องเป็นกรณีที่โจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้วไม่ติดใจนำพยานเข้าไต่สวน ต่อไป แต่เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งที่สองแม้จะไม่ใช่วันนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งแรก ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 วรรคแรก โดยไม่ต้องวินิจฉัยพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วในนัดก่อนว่าคดีมีมูลหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ถูกห้าม และการแก้ไขพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้พินัยกรรมโมฆะ
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และจำเลยฎีกาต่อมาก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่ชื่อว่า"ลเมียด"แล้วตกเติมคำว่า"ละเมียด"ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้นมิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้องเมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไขผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองคำว่า"ละเมียด"ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า"ลเมียด"ในพินัยกรรมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่ พินัยกรรมมีข้อความว่าเมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1)เรือน...และมีข้อความว่าขอมอบพินัยกรรมให้กับนาง ลเมียด...แสดงว่าเจ้ามรดกมิได้มีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่2หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉยๆไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้พินัยกรรมเดิมเป็นโมฆะ, เจตนาของเจ้ามรดกในการยกทรัพย์สิน
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และจำเลยฎีกาต่อมา ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า "ลเมียด" แล้วตกเติมคำว่า "ละเมียด" ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้น มิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรม แต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้อง เมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไข ผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง คำว่า "ละเมียด" ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า "ลเมียด" ในพินัยกรรม การแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่
พินัยกรรมมีข้อความว่า เมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1) เรือน... และมีข้อความว่า ขอมอบพินัยกรรมให้กับนางลเมียด... แสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉย ๆ ไม่
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า "ลเมียด" แล้วตกเติมคำว่า "ละเมียด" ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้น มิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรม แต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้อง เมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไข ผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง คำว่า "ละเมียด" ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า "ลเมียด" ในพินัยกรรม การแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่
พินัยกรรมมีข้อความว่า เมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1) เรือน... และมีข้อความว่า ขอมอบพินัยกรรมให้กับนางลเมียด... แสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉย ๆ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ และเจตนาในการยกทรัพย์สินให้ผู้รับพินัยกรรม
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า"ลเมียด"แล้วตกเติมว่า"ละเมียด"ส่วนนามสกุลคงไว้เช่นเดิมมิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้องเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไขผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า"ลเมียด"ในพินัยกรรมพินัยกรรมคงมีข้อความตามเดิมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบหามีผลทำให้ พินัยกรรมที่ สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็น โมฆะไม่ พินัยกรรมมีข้อความว่า"ข้อ1ข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้(1)เรือนทรงมลิลามุงกระเบื้องวิบูลศรีพร้อมกระดานพื้น19แผ่นกระดานระเบียงด้านยาว7แผ่น1หลังข้อ2ข้าพเจ้าขอมอบพินัยกรรมให้กับนาง ลเมียดช้างแก้วมณี และขอตั้งให้นาย มานพสุขสวัสดิ์เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมนี้"ถ้อยคำในพินัยกรรมดังกล่าวแสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่นาง ละเมียดโจทก์ที่2และตั้งนาย มานพโจทก์ที่1เป็นผู้จัดการมรดกหาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบเอกสารพินัยกรรมให้โจทก์ที่2เก็บรักษาไว้เฉยๆเท่านั้นไม่โจทก์ที่2จึงเป็น ผู้รับพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันสัญญาค้ำประกันที่ทำต่อหน้าศาล แม้มีลายมือชื่อจำกัด
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมีคำพิพากษาตามยอมศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยได้นำตัว ช.มาทำสัญญาค้ำประกันตามที่ตกลงกันจึงให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันเสนอมาในวันนี้ด้วยแล้วแม้หนังสือสัญญาค้ำประกันคงมีแต่เพียงลายมือชื่อของ ช. กับจ่าศาลลงไว้เท่านั้นก็ถือได้ว่า ช. ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา274แล้ว