คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มีพาศน์ โปตระนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้จากเงินขายทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่จำเลยวางประกันไว้กับโจทก์ และขอบเขตการชำระหนี้
ลูกเดือยเป็นของจำเลยที่1ซึ่งได้วางประกันไว้กับโจทก์เมื่อจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ยินยอมให้โจทก์ขายลูกเดือยนั้นได้เงินที่ขายย่อมเป็นของจำเลยที่1ดังนั้นเมื่อจำเลยที่1เป็นหนี้ ค่าเช่า โกดังเก็บสินค้าของโจทก์จำเลยที่1ย่อมมีสิทธิที่จะให้ หักกลบลบหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341การนำเงิน750,000บาทที่โจทก์ขายลูกเดือยไปหักหนี้ค่าเช่าโกดังของบริษัท ส. นั้นยังไม่ถูกต้องเพราะบริษัท ส.เป็นบุคคลอีกคนหนึ่งแม้บริษัทดังกล่าวจะเป็นหนี้ค่าเช่าโกดังโจทก์แต่ก็ไม่ได้เป็น เจ้าหนี้โจทก์จึง หักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกขอชำระหนี้แทนการที่จำเลยที่2ได้มีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์หักหนี้ค่าเช่าโกดังของบริษัท ส. จำนวน346,875บาทเงินที่เหลือจำนวน403,125บาทให้ส่งคืนจำเลยที่1นั้นศาลชั้นต้นนำเงินจำนวนที่เหลือดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้ค่าเช่าโกดังโจทก์ที่จำเลยที่1เป็นหนี้อยู่จึงชอบแล้วเพราะ สิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวของจำเลยทั้งสอง ไม่มี ข้อต่อสู้แต่ประการใดเมื่อเงินจำนวนดังกล่าวได้มีการนำไปหักกลบลบหนี้แล้วจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องเสีย เบี้ยปรับนับถัดจากวันฟ้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท การสะดุดหยุดของอายุความ และความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง
ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง4ฉบับข้อ6กำหนดไว้ว่าจำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ18ต่อปีในจำนวนเงินที่คำนวณแล้วว่าต้องชำระแก่โจทก์โดยเริ่มนับจากวันทำสัญญานี้จนถึงวันที่โจทก์ได้รับเงินครบถ้วนจากจำเลยที่1ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้ระบุเวลาให้จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยและจะอนุมานจากพฤติการณ์ก็ไม่ได้โจทก์ย่อมจะเรียกให้จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยได้โดยพลันนับแต่วันทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203วรรคหนึ่งอายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาทรัสต์รีซีทเช่นกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม)อายุความดอกเบี้ยค้างส่งเริ่มนับจากวันถัดจากวันดังกล่าวไปจนกว่าจะครบ5ปีการที่จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยสำหรับสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง4ฉบับบางส่วนทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172(เดิม)โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด5ปีจึงไม่ขาดอายุความเรียกร้องดอกเบี้ย จำเลยที่2ผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้นย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา692ซึ่งเป็นข้อยกเว้นมาตรา295จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 จำเลยที่3ผู้จำนองแม้หนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่าให้รับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมด้วยเมื่อจำเลยที่1รับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่3เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295วรรคสองจำเลยที่3ผู้จำนองจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังไป5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา189(เดิม)และมาตรา745 จำเลยทั้งสามฎีกาว่าในการผ่อนชำระหนี้จำเลยทั้งสามมิได้กำหนดชำระหนี้รายใดไว้โดยเฉพาะโจทก์ชอบที่จะเอาชำระหนี้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยก่อนแต่โจทก์เลือกการชำระหนี้เอาเองตามใจชอบจึงไม่ผูกพันจำเลยทั้งสามนั้นประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ยและการรับผิดของลูกหนี้ร่วม, ผู้ค้ำประกัน, และผู้จำนอง
ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 4 ฉบับ ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ในจำนวนเงินที่คำนวณแล้วว่าต้องชำระแก่โจทก์โดยเริ่มนับจากวันทำสัญญานี้จนถึงวันที่โจทก์ได้รับเงินครบถ้วนจากจำเลยที่ 1 ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยและจะอนุมานจากพฤติการณ์ก็ไม่ได้ โจทก์ย่อมจะเรียกให้จำเลยที่ 1ชำระดอกเบี้ยได้โดยพลันนับแต่วันทำสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่งอายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาทรัสต์รีซีทเช่นกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169(เดิม) อายุความดอกเบี้ยค้างส่งเริ่มนับจากวันถัดจากวันดังกล่าวไปจนกว่าจะครบ5 ปี การที่จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยสำหรับสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 4 ฉบับ บางส่วนทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 (เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 5 ปี จึงไม่ขาดอายุความเรียกร้องดอกเบี้ย
จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้น ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตามป.พ.พ. มาตรา 692 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นมาตรา 295 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 3 ผู้จำนอง แม้หนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่าให้รับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่ 3 เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 วรรคสอง จำเลยที่ 3 ผู้จำนองจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังไป 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 189 (เดิม) และมาตรา 745
จำเลยทั้งสามฎีกาว่า ในการผ่อนชำระหนี้ จำเลยทั้งสามมิได้กำหนดชำระหนี้รายใดไว้โดยเฉพาะ โจทก์ชอบที่จะเอาชำระหนี้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยก่อน แต่โจทก์เลือกการชำระหนี้เอาเองตามใจชอบจึงไม่ผูกพันจำเลยทั้งสามนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าเรือต่อความเสียหาย และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก
เกี่ยวกับความรับผิดของผู้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 562 นั้นหากความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่ามิใช่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินโดยมิชอบ และมิใช่เป็นการกระทำของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วงผู้เช่าก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่า ส่วนข้อตกลงรับผิดนอกเหนือจากนี้ที่มีระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าเป็นเรื่องที่บังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เช่าในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่าจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดไม่
บุคคลที่ต้องเสียหายและมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดต่อเรือตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 คือเจ้าของเรือ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าเรือดังกล่าวมาทำการรับขน จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่เรืออันมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรับขนได้ก็แต่โดยอาศัยการรับช่วงสิทธิตามป.พ.พ. มาตรา 226, 227

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าเรือต่อความเสียหาย และสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก
เกี่ยวกับความรับผิดของผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 562 นั้น หากความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่ามิใช่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินโดยมิชอบ และมิใช่เป็นการกระทำของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วงผู้เช่าก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่า ส่วนข้อตกลงรับผิดนอกเหนือจากนี้ที่มีระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าเป็นเรื่องที่บังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เช่าในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่าจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดไม่ บุคคลที่ต้องเสียหายและมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดต่อเรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 คือเจ้าของเรือ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าเรือดังกล่าวมาทำการรับขน จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่เรืออันมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรับขนได้ก็แต่โดยอาศัยการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226,227

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิดต่อเรือเช่า: ผู้เช่ายังไม่มีสิทธิฟ้องแทนเจ้าของเรือจนกว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของเรือก่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 หากความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่ามิได้เกิดจากการใช้ทรัพย์สินโดยมิชอบ และมิใช่เป็นการกระทำของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่าหรือของผู้เช่าช่วง ผู้เช่าก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่า ส่วนข้อตกลงรับผิดนอกเหนือจากนี้ที่มีระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าเป็นเรื่องที่บังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เช่าในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่าจากบุคคลภายนอกผู้กระทำละเมิด โจทก์ฟ้องบุคคลภายนอกเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่ตัวเรือมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรับขน บุคคลที่ต้องเสียหายและมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 คือเจ้าของเรือ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าจะใช้สิทธินั้นได้ก็แต่โดยอาศัยการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 227 ซึ่งต้องชำระหนี้ค่าเสียหายแก่เจ้าของเรือไปก่อน จึงจะฟ้องผู้กระทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือคนร้ายจำหน่ายทรัพย์ที่ได้จากการปล้นทรัพย์เข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร
ส.เป็นญาติกับผ. บิดาผู้เสียหายไปไถ่รถจักรยานยนต์จาก ช.มาให้ผ.ได้เพราะจำเลยเป็นผู้ติดต่อบอกเบาะแสและพา ส.ไปเอารถจักรยานยนต์โดยจำเลยทราบว่าส. เป็นญาติกับผ.และส. ได้มอบเงินค่าไถ่รถจักรยานยนต์ให้จำเลยแล้ว จึงได้รถจักรยานยนต์คืนมา มิใช่จำเลยไปเป็นเพื่อน ส. เพื่อไถ่รถจักรยานยนต์ การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือคนร้ายจำหน่ายรถจักรยานยนต์อันเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ช่วยเหลือจำหน่ายทรัพย์ที่ได้จากการปล้นทรัพย์ มีความผิดฐานรับของโจร
ส.เป็นญาติกับ ผ. บิดาผู้เสียหายไปไถ่รถจักรยานยนต์จาก ช.มาให้ ผ.ได้ เพราะจำเลยเป็นผู้ติดต่อบอกเบาะแสและพา ส.ไปเอารถจักรยานยนต์โดยจำเลยทราบว่า ส.เป็นญาติกับ ผ. และ ส.ได้มอบเงินคต่าไถ่รถจักรยานยนต์ให้จำเลยแล้ว จึงได้รถจักรยานยนต์คืนมา มิใช่จำเลยไปเป็นเพื่อน ส.เพื่อไถ่รถจักรยานยนต์ การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือคนร้ายจำหน่ายรถจักรยานยนต์อันเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6921/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้สาธารณชนหลงผิดและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำฟ้องบรรยายว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ทั้งสองเครื่องหมายการค้าหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้และที่ยื่นขอจดทะเบียน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยโจทก์ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และระบุรายละเอียดในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของจำเลยโดยแนบเอกสารมาท้ายฟ้องด้วย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งจำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของ จำเลยได้ โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า "JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกันและโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและ อยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSONปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG"แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON"ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้าย กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียน และนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6921/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้สาธารณชนหลงผิด แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
คำฟ้องบรรยายว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ทั้งสองเครื่องหมายเหมือนหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้และที่ยื่นขอจดทะเบียน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยโจทก์ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และระบุรายละเอียดในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของจำเลยโดยแนบเอกสารมาท้ายฟ้องด้วย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งจำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSONG" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า"JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกัน และโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและอยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSON ปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG" แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
of 39