คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มีพาศน์ โปตระนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบมัดจำกับการปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย หากจำเลยไม่บอกเลิกสัญญา โจทก์ต้องชำระราคาทั้งหมด
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้บางส่วน ส่วนที่เหลือจะชำระในวันจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำ แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงยังมีผลบังคับ เมื่อโจทก์จะให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป โจทก์ต้องชำระราคาที่ดินทั้งหมดตามสัญญา จะเพียงแต่ชำระส่วนที่ขาดโดยนำเงินมัดจำที่จำเลยใช้สิทธิริบไปแล้วมาคิดหักไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้เสนอที่จะชำระเงินเต็มตามสัญญา การที่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระราคาเต็มจำนวนเป็นเงื่อนไขสำคัญ แม้จำเลยริบมัดจำแล้ว โจทก์ต้องชำระส่วนที่เหลือทั้งหมดจึงจะบังคับให้โอนได้
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้บางส่วน ส่วนที่เหลือจะชำระในวันจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำ แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายจึงยังมีผลบังคับ เมื่อโจทก์จะให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป โจทก์ต้องชำระราคาที่ดินทั้งหมดตามสัญญา จะเพียงแต่ชำระส่วนที่ขาดโดยนำเงินมัดจำที่จำเลยใช้สิทธิริบไปแล้วมาคิดหักไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้เสนอที่จะชำระเงินเต็มตามสัญญา การที่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6759/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเดียวกันในการทำร้ายร่างกาย ผู้ตายและผู้เสียหาย ถือเป็นกรรมเดียว
เมื่อจำเลยกับพวกเห็นผู้ตายกับผู้เสียหายก็วิ่งเข้าทำร้ายทันทีการที่จะทำร้ายใครก่อนหลังเป็นเรื่องธรรมดา แต่เห็นเจตนาของจำเลยกับพวกได้ว่าเจตนาร่วมกันที่จะทำร้ายผู้เสียหายกับผู้ตาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาจะทำร้ายเฉพาะผู้ตายและเพิ่มเจตนาทำร้ายผู้เสียหายอีกคนหนึ่งในภายหลัง ลักษณะของเจตนาในการกระทำผิดเป็นอันเดียวกัน แม้จะมีการกระทำหลายหนแต่บุคคลหลายคนก็ตาม ก็ถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้อง ซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่ 10832 มีชื่อบริษัทโจทก์ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น โจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่ การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก. เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัทก. จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วจำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนต่างประเทศ, การใช้ก่อน, และการเพิกถอนทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อม คำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้องซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่10832มีชื่อบริษัทโจทก์ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นโจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้วหาเป็น ฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่ การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการใน วัตถุประสงค์ของ นิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก. เกี่ยวข้องอยู่ด้วยก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้เมื่อบริษัท ก.เป็น ตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้บริษัท ก. จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศและได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วจำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเองโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วมทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยและจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตามโจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนในไทย แม้จะยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้อง ซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่ 10832 มีชื่อบริษัทโจทก์ ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น โจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่
การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก.เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัท ก.จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธคำฟ้องที่ไม่ชัดเจนและการนำสืบพยานในชั้นพิจารณา
จำเลยยื่นคำให้การว่า ขอให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์อย่างสิ้นเชิง คำฟ้องใดที่จำเลยไม่ได้ให้การรับไว้โดยชัดแจ้งให้ถือว่าจำเลยปฏิเสธเป็นการปฏิเสธลอย ๆ โดยไม่มีเหตุผลแห่งการปฏิเสธคำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยมานำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาไม่ทำให้คำให้การที่ไม่ชัดแจ้งกลายเป็นคำให้การชัดแจ้งไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การปฏิเสธฟ้องต้องชัดแจ้งมีเหตุผล การนำสืบในชั้นพิจารณาไม่ทำให้คำให้การไม่ชัดเจนเป็นคำให้การชัดเจนได้
จำเลยยื่นคำให้การว่า ขอให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์อย่างสิ้นเชิง คำฟ้องใดที่จำเลยไม่ได้ให้การรับไว้โดยชัดแจ้งให้ถือว่าจำเลยปฏิเสธเป็นการปฏิเสธลอย ๆ โดยไม่มีเหตุผลแห่งการปฏิเสธคำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยมานำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาไม่ทำให้คำให้การที่ไม่ชัดแจ้งกลายเป็นคำให้การชัดแจ้งไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6345/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราสำเร็จ แม้ไม่พบร่องรอยบาดเจ็บ หากมีหลักฐานยืนยันการสอดใส่
การที่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายประมาณ 1 นิ้ว ถือว่ากระทำชำเราสำเร็จแล้ว มิใช่เพียงพยายามกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6345/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราสำเร็จ การสอดใส่ถึง 1 นิ้ว
การที่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายประมาณ 1 นิ้ว ถือว่ากระทำชำเราสำเร็จแล้ว มิใช่เพียงพยายามกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารเท่านั้น
of 39