คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มีพาศน์ โปตระนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินจากตัวแทน และอายุความของคดีตัวแทนรับเงินแทน
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นดอกเบี้ย โดยระบุอัตราดอกเบี้ย ต้นเงินและระยะเวลาที่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งสามารถคิดคำนวณจำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำนวนดอกเบี้ยรายเดือนเป็นเงินเดือนละเท่าใดอีกและคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า โจทก์ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อโดยจำเลยในฐานะกรรมการบริษัทซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนหรือผู้แทนของบริษัทตามบทบัญญัติของกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการแทน และจำเลยได้รับเงินมัดจำกับเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อไว้แทนโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งมอบเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่ โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินค่าขายสินค้าที่จำเลยได้รับไว้แทนให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทน มิใช่กรณีพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปี และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินจากตัวแทน: ไม่ใช่การซื้อขาย แต่เป็นความรับผิดในฐานะตัวแทน มีอายุความ 10 ปี
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นดอกเบี้ย โดยระบุอัตราดอกเบี้ย ต้นเงิน และระยะเวลาที่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งสามารถคิดคำนวณจำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำนวนดอกเบี้ยรายเดือนเป็นเงินเดือนละเท่าใดอีก และคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า โจทก์ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อโดยจำเลยในฐานะกรรมการบริษัทซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนหรือผู้แทนของบริษัทตามบทบัญญัติของกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการแทน และจำเลยได้รับเงินมัดจำกับเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อไว้แทนโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งมอบเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินค่าขายสินค้าที่จำเลยได้รับไว้แทนให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทน มิใช่กรณีพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปี และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7733/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายระงับ สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของผู้ขาย สิทธิค่าเช่าตกเป็นของผู้รับโอน
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่กำหนดว่า หากสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเหตุอันระงับไปด้วยมิใช่ความผิดของผู้ขายแล้ว บรรดาสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งอื่นใดอันทำให้ที่ดินมีราคาเพิ่มขึ้นให้ตกเป็นของผู้ขายทั้งสิ้น มิใช่เป็นการกำหนดเบี้ยปรับหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรตาม ป.พ.พ.มาตรา379 เพราะในกรณีสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ระงับลงด้วยเหตุใดก็ตามที่มิใช่ความผิดของผู้ขาย แม้จะมิใช่เป็นความผิดของผู้ซื้อเลย สิ่งก่อสร้างก็ต้องตกเป็นของผู้ขายตามข้อสัญญาดังกล่าวด้วย การที่คลังสินค้าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายตามข้อสัญญาจึงหาได้เป็นกรณีเบี้ยปรับสูงเกินส่วนไม่
บริษัท พ.ผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ชำระราคาที่ดินให้แก่ผู้ร้องถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา ผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับบริษัท พ.โดยชอบแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับบริษัท พ.จึงระงับไปโดยมิใช่ความผิดของผู้ร้อง คลังสินค้าส่วนที่สร้างอยู่บนที่ดินมีโฉนดของผู้ร้องย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และกรณีเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งให้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าของบริษัท พ. ผู้โอนที่มีต่อจำเลยผู้เช่าด้วย บริษัท พ.ไม่มีสิทธิเรียกร้องการเก็บค่าเช่าคลังสินค้าในส่วนที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวของผู้ร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ได้ตามฟ้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับค่าเช่าจากจำเลยสำหรับคลังสินค้าส่วนที่รับโอนมาตามสัดส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7733/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์คลังสินค้าตกเป็นของผู้ขายตามสัญญาจะซื้อขายเมื่อสัญญาเป็นโมฆะจากเหตุผู้ซื้อผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่กำหนดว่าหากสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเหตุอันระงับไปด้วยมิใช่ความผิดของผู้ขายแล้วบรรดาสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งอื่นใดอันทำให้ที่ดินมีราคาเพิ่มขึ้นให้ตกเป็นของผู้ขายทั้งสิ้นมิใช่เป็นการกำหนดเบี้ยปรับหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา379เพราะในกรณีสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ระงับลงด้วยเหตุใดก็ตามที่มิใช่ความผิดของผู้ขายแม้จะมิใช่เป็นความผิดของผู้ซื้อเลยสิ่งก่อสร้างก็ต้องตกเป็นของผู้ขายตามข้อสัญญาดังกล่าวด้วยการที่คลังสินค้าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายตามข้อสัญญาจึงหาได้เป็นกรณีเบี้ยปรับสูงเกิดส่วนไม่ บริษัทพ.ผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ชำระราคาที่ดินให้แก่ผู้ร้องถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับบริษัทพ.โดยชอบแล้วสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับบริษัทพ.จึงระงับไปโดยมิใช่ความผิดของผู้ร้องคลังสินค้าส่วนที่สร้างอยู่บนที่ดินมีโฉนดของผู้ร้องย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและกรณีเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งให้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569ผู้ร้องซื่งเป็นผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าของบริษัทพ.ผู้โอนที่มีต่อจำเลยผู้เช่าด้วยบริษัทพ.ไม่มีสิทธิเรียกร้องการเก็บค่าเช่าคลังสินค้าในส่วนที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวของผู้ร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ได้ตามฟ้องผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับค่าเช่าจากจำเลยสำหรับคลังสินค้าส่วนที่รับโอนมาตามสัดส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6860/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นทางสาธารณะและการละเมิด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
แม้จำเลยได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่าที่ดินของจำเลยไม่มีทางสาธารณะตัดผ่าน และโจทก์ทั้งหกไม่ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แต่คำแก้อุทธรณ์ได้ยื่นเข้ามาเมื่อพ้นกำหนดและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเป็นเพียงคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวคดีจึงมีปัญหาในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกแต่เพียงว่า ทางสาธารณะพิพาทกว้างเท่าใดและโจทก์ทั้งหกได้รับความเสียหายเป็นพิเศษหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาที่ว่า ที่ดินของจำเลยมีทางสาธารณะตัดผ่านหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นที่คู่ความยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบและถือว่าประเด็นดังกล่าวเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวต่อมาก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ทางสาธารณะที่พิพาทที่ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นทางสาธารณะจากหมู่บ้านออกสู่ถนนสายธนบุรี - ปากท่อ โจทก์ทั้งหกซึ่งมีที่ดินและบ้านพักอาศัยอยู่ในท้องที่หมู่บ้านดังกล่าวเคยใช้ทางสาธารณะที่พิพาทอยู่แต่เดิม การที่จำเลยทำรั้วปิดกั้นทางสาธารณะที่พิพาทย่อมทำให้โจทก์ทั้งหกเสียหายไม่สามารถใช้ทางสาธารณะที่พิพาทเป็นทางเข้าออกได้ การกระทำของจำเลยจึงทำให้โจทก์ทั้งหกได้รับความเสียหายเป็นพิเศษและเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการต่อสู้คดี & การยกเหตุใหม่ในชั้นอุทธรณ์: ผู้ค้ำประกันต้องยกเหตุไม่ต้องรับผิดในคำให้การเท่านั้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ซ.ลูกหนี้ชั้นต้นของโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์ โดยบรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมทั้งหลักฐานการเป็นหนี้ส่งไปยังจำเลย จำเลยรับแจ้งการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่จำเลยค้ำประกันไว้แต่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้ส่วนหนึ่ง ขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่แจ้งไปตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์อ้างจริง แต่ไม่ต้องรับผิดในหนี้บางจำนวน กล่าวคือใบส่งของบางฉบับไม่ระบุวันที่รับสินค้า ใบส่งของบางฉบับไม่ระบุหลักฐานการลงนามรับสินค้าและวันที่รับสินค้าและหนี้บางรายการไม่ปรากฏใบส่งของ จำเลยจึงแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะชำระหนี้เฉพาะที่มีหลักฐานถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น จะเห็นได้ว่าคำให้การได้ยกเหตุแห่งการปฏิเสธหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ชัดแจ้ง ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 177 วรรคสองแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อที่ 2 ว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใด แต่การวินิจฉัยคดีในประเด็นดังกล่าวก็จำกัดอยู่แต่ในข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้น หากนำเหตุอื่นมาวินิจฉัยคดีก็จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ซึ่งไม่อาจกระทำได้ ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพราะมีสินค้าบางส่วนที่โจทก์ได้รับคืนไปแล้วและบางส่วนโจทก์ได้รับชดใช้ราคาไปแล้วก็ดีกับข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นแล้วทำให้หนี้สินระงับไปจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดก็ดี ล้วนแต่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้
กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติขึ้นเพื่อให้การดำเนินกระบวน-พิจารณาในศาลเป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกฝ่าย มิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบในเชิงคดี ข้อที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่าขณะที่จำเลยยื่นคำให้การจำเลยพิจารณาเฉพาะพยานหลักฐานที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพิ่งจะทราบข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิด เพราะเมื่อมีการคืนสินค้าบางส่วน ชำระราคาและปลดหนี้ให้แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีก และพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวขึ้นกล่าวในคำให้การเพราะจำเลยเพิ่งทราบภายหลังนั้นไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมายได้ให้โอกาสที่จำเลยจะสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นแนวทางต่อสู้คดีก่อนที่จำเลยจะยื่นคำให้การแล้ว ทั้งปัญหาว่าลูกหนี้ชั้นต้นเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใดก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างเหตุนี้ปฏิเสธหนี้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่กรณีที่มีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเหตุแก้ต่างนอกคำให้การในคดีค้ำประกัน ศาลจำกัดเฉพาะข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นในชั้นต้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันบริษัทซ.ลูกหนี้ชั้นต้นของโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์โดยบรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมทั้งหลักฐานการเป็นหนี้ส่งไปยังจำเลยจำเลยรับแจ้งการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่จำเลยค้ำประกันไว้แต่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้ส่วนหนึ่งขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่แจ้งไปตามสัญญาค้ำประกันจำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์อ้างจริงแต่ไม่ต้องรับผิดในหนี้บางจำนวนกล่าวคือใบส่งของบางฉบับไม่ระบุวันที่รับสินค้าใบส่งของบางฉบับไม่ระบุหลักฐานการลงนามรับสินค้าและวันที่รับสินค้าและหนี้บางรายการไม่ปรากฏใบส่งของจำเลยจึงแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะชำระหนี้เฉพาะที่มีหลักฐานถูกต้องครบถ้วนเท่านั้นจะเห็นได้ว่าคำให้การได้ยกเหตุแห่งการปฏิเสธหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ชัดแจ้งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา177วรรคสองแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อที่2ว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใดแต่การวินิจฉัยคดีในประเด็นดังกล่าวก็จำกัดอยู่แต่ในข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นหากนำเหตุอื่นมาวินิจฉัยคดีก็จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นซึ่งไม่อาจกระทำได้ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพราะมีสินค้าบางส่วนที่โจทก์ได้รับคืนไปแล้วและบางส่วนโจทก์ได้รับชดใช้ราคาไปแล้วก็ดีกับข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นแล้วทำให้หนี้สินระงับไปจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดก็ดีล้วนแต่เป็นข้อทีมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติขึ้นเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกฝ่ายมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบในเชิงคดีข้อที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่าขณะที่จำเลยยื่นคำให้การจำเลยพิจารณาเฉพาะพยานหลักฐานที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพิ่งจะทราบข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะเมื่อมีการคืนสินค้าบางส่วนชำระราคาและปลดหนี้ให้แล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีกและพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวขึ้นกล่าวในคำให้การเพราะจำเลยเพิ่งทราบภายหลังนั้นไม่ถูกต้องเพราะกฎหมายได้ให้โอกาสที่จำเลยจะสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นแนวทางต่อสู้คดีก่อนที่จำเลยจะยื่นคำให้การแล้วทั้งปัญหาว่าลูกหนี้ชั้นต้นเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใดก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างเหตุนี้ปฏิเสธหนี้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและมิใช่กรณีที่มีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินย้อนหลัง: ความเกี่ยวโยงระหว่างคดีแพ่งและอาญาฐานโกงเจ้าหนี้
ประเด็นสำคัญในคดีแพ่งที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งจะเป็นประเด็นที่ทำให้แพ้หรือชนะคดีนั้นมีอยู่ว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้สมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนขายให้โจทก์จริงหรือไม่ ถ้าเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปจริง จำเลยทั้งสองก็จะแพ้คดีแพ่ง ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าสมคบกันทำนิติกรรมโดยไม่สุจริตอันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ เพราะในคดีอาญาดังกล่าวถ้าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทฉบับดังกล่าว โดยเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อนขายให้โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็อาจจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาโกงเจ้าหนี้ ศาลวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดเพราะไม่ได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ และตามคำบรรยายฟ้องการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โดยมิได้ชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนขายให้โจทก์หรือไม่ ในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังหรือไม่ตามที่คู่ความนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันทำสัญญาซื้อขายย้อนหลังเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ และผลกระทบต่อการเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิ
ประเด็นสำคัญในคดีแพ่งที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งจะเป็นประเด็นที่ทำให้แพ้หรือชนะคดีนั้นมีอยู่ว่าจำเลยที่1และจำเลยที่2ได้สมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์จริงหรือไม่ถ้าเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปจริงจำเลยทั้งสองก็จะแพ้คดีแพ่งซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าสมคบกันทำนิติกรรมโดยไม่สุจริตอันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เพราะในคดีอาญาดังกล่าวถ้าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทฉบับดังกล่าวโดยเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสองก็อาจจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาโกงเจ้าหนี้ศาลวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดเพราะไม่ได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้และตามคำบรรยายฟ้องการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยมิได้ชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้จำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์หรือไม่ในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวศาลย่อมมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังหรือไม่ตามที่คู่ความนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4724/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษความผิดต่อเจ้าพนักงาน: การต่อสู้ขัดขวางโดยใช้อาวุธ
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 138 วรรคสอง และมาตรา 140 วรรคสามนั้น การปรับบทลงโทษเพียงตามมาตรา 140 วรรคสามนั้น ยังไม่ชัดเจน เพราะไม่แน่ชัดว่าจำเลยผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่งของมาตรา 140วรรคแรก หรือวรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีและใช้อาวุธปืน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง, 140 วรรคแรก และวรรคสาม ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้
of 39