คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ จันเทรมะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: จำเลยต้องยื่นคำร้องคัดค้านภายใน 8 วันนับแต่ทราบเหตุ
จำเลยฎีกาว่า ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แบ่งแยกที่ดินทางด้านทิศเหนือให้แก่โจทก์และบุตรโจทก์ 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต้องนำเจ้าพนักงานไปรังวัดแบ่งแยกให้แก่โจทก์และบุตรโจทก์ แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับยึดที่ดินทั้งแปลงและขายทอดตลาดไปนั้น เป็นการอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีนั้นเสีย ไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้นจำเลยทราบการยึดที่ดินทั้งแปลงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันที่โจทก์นำยึด แต่เพิ่งมายื่นคำร้องในภายหลังครบกำหนด 8 วันมาช้านานแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ (จำเลยเพิ่งยกปัญหาว่าการยึดและการขายทอดตลาดเป็นการนอกเหนือคำพิพากษาศาลชั้นต้นในชั้นฎีกา เดิมศาลชั้นต้นสั่งไม่รับในประเด็นข้อนี้ แต่ต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งให้รับ เพราะเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามคำสั่งคำร้องฎีกาที่ 2629/2534) ในวันขายทอดตลาดจำเลยได้มาดูแลการขาย แต่กลับไปก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเขียนรายงานการขายทอดตลาดที่ดินให้แก่ผู้สู้ราคาสูงสุด แสดงว่าจำเลยได้ทราบในวันนั้นเองว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดที่ดินไปในราคาที่อ้างว่าต่ำกว่าราคาปกติจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันดังกล่าว ทั้งตามคำร้องของจำเลยก็ไม่ได้มีข้อความอันเป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่แต่ละคัน และการแบ่งความรับผิด
รถ 5 คันขับตามกันมาในทิศทางเดียวกัน ธ.เป็นผู้ขับรถคันที่ 4 ซึ่งเป็นคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ จำเลยเป็นผู้ขับรถคันที่ 5 แล่นตามมา ธ. ขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังหยุดรถไม่ทัน เป็นเหตุให้ไปชนรถคันที่ 3 ที่แล่นนำหน้าอยู่ และเป็นผลทำให้จำเลยที่ขับรถคันที่ 5 ตามมาด้วยความประมาทเช่นกัน หยุดรถไม่ทัน จึงชนท้ายรถคันที่ 4 อักคันหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ตนขับแต่ประการใดดังนั้น ค่าเสียหายที่รถคันที่ 4 จะได้รับจากการที่ถูกรถคันที่ 5 ชน จะพิจารณาโดยอาศัยพฤติการณ์ที่ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 โดยถือว่า ธ.หรือจำเลยผู้ใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประเมินความประมาทของผู้ขับขี่แต่ละคันเพื่อแบ่งความรับผิด
รถยนต์ 5 คัน ขับตามกันมาในทิศทางเดียวกัน ธ.เป็นผู้ขับรถคันที่ 4 ซึ่งเป็นคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ธ.ขับรถโดยประมาทหยุดรถไม่ทันเป็นเหตุให้ไปชนรถคันที่ 3ที่แล่นนำหน้าอยู่ และเป็นผลทำให้จำเลยที่ขับรถคันที่ 5ตามมาด้วยความประมาทเช่นกันหยุดรถไม่ทันจึงชนท้ายรถคันที่ 4อีกคันหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ธ.ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ตนขับดังนั้นความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจากการที่ถูกรถคันที่ 5 ชน จะนำไปอาศัยพฤติการณ์ที่ ธ.ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 มารวมพิจารณาโดย ถือว่า ธ.หรือจำเลยผู้ใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใดย่อมไม่ได้ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประเมินความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายเพื่อแบ่งแยกความรับผิดชอบ
ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ที่ไปชนท้ายรถคันที่ 3 ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นความผิดของคนขับรถคันที่ 4 ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่ตนก่อให้เกิดขึ้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการที่รถคันที่ 5 ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับโดยประมาทไปชนท้ายรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ผู้ขับขี่รถคันที่ 4 ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ ดังนั้น ค่าเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจะนำไปอาศัยพฤติการณ์ที่ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 มารวมพิจารณาว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรนั้นย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจะต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ขัดต่อข้อจำกัดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาท ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 จำเลยอายุ12 ปี ไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 74 แต่เห็นสมควรให้คุมประพฤติตามมาตรา 56 คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา193 ทวิ จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายมีทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าถูกจำเลยลักทั้งพยานหลักฐานโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของจำเลย แล้วพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการมิชอบ และต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3135/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่นอกขอบเขตอำนาจ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าเป็นการกระทำนอกหน้าที่ไม่ผิดมาตรานี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นอันยุติได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ใด ๆ เกี่ยวกับคดีที่คนร้ายลักกระบือของผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 กับการปล่อยคืนรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวการในการเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นเรื่องปฏิบัตินอกหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการถือเอากำหนดเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
ทางปฏิบัติของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายสินค้าที่ถือปฏิบัติต่อกันมาไม่ได้ถือเอากำหนดเวลาการชำระเงินที่ได้ตกลงกันไว้ตามใบสั่งโดยเคร่งครัด แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระเงินเป็นสาระสำคัญตามสัญญาดังที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ทั้งข้อสัญญาตามใบสั่งครั้งแรกก็ไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าหากโจทก์ไม่ชำระเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับของ สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้นจำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก็ต่อเมื่อได้แจ้งให้โจทก์ชำระเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับของตามใบสั่งครั้งแรกในงวดต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 และจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิเลิกสัญญาตามใบสั่งครั้งที่สองและครั้งที่สาม เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าฐานะทางการเงินของโจทก์ไม่ดี เกรงว่าจะไม่ได้รับชำระเงินมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2943/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเลื่อนคดี: ศาลพิจารณาเจตนาประวิงคดีของจำเลยได้
ข้ออ้างของจำเลยในเรื่องทนายความของจำเลยติดว่าความที่ศาลอื่นเป็นข้ออ้างที่ไม่ควรรับฟังให้เลื่อนคดีเพราะจำเลยทราบกำหนดนัดพิจารณาของศาลล่วงหน้าก่อนแล้ว ทั้งปรากฏว่าในวันสืบพยานจำเลยนัดก่อนซึ่งจำเลยขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ป่วย ศาลได้กำชับว่าในนัดหน้าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมและสืบให้เสร็จในนัดเดียวจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก ที่จำเลยแถลงไม่ติดใจนำสืบจำเลยทั้งหมดยกเว้นจำเลยที่ 1 และพยานประเด็นอื่น ก็ไม่ใช่เหตุผลอันควรให้จำเลยขอเลื่อนคดีได้เช่นกัน นอกจากนี้ประเด็นในเรื่องการคิดคำนวณดอกเบี้ย จำเลยก็มิได้กล่าวแก้ไว้ให้ชัดเจน ที่ศาลล่างทั้งสองพิเคราะห์เห็นความไม่สุจริตในการดำเนินคดีของจำเลยที่มีลักษณะประวิงคดีให้ล่าช้ามากกว่าเหตุอื่นจึงไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีนั้น ชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานแจ้งความเท็จและการกระทำของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดแม้เจ้าพนักงานจะใช้ให้ทำ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแจ้งความต่อห. กำนัน ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำหน้าที่ ให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 จำเลยฎีกาว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำความผิดเสียเอง มิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ทั้งยังใช้จำเลยเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด โดยใช้ให้จำเลยเป็นผู้ลงข้อความเป็นเท็จลงไปการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ดังนี้ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยเป็นยุติไว้แล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ห. เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ห. เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้าย และได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ท.ร.17 ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห. ใช้ให้จำเลยหรือบุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 แทนห. ไม่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดแจ้งความเท็จ: เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ vs. ผู้ใช้กระทำผิด
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ไปแจ้งความต่อ ห.กำนันตำบลสระเยาว์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 จำเลยฎีกาว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำความผิดเสียเอง มิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ทั้งยังใช้จำเลยเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ดังนี้ ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยเป็นยุติไว้แล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่หรือไม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก
ห.เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้าย และได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้วการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห.จะใช้ให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 แทน ห. หาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 แต่อย่างใดไม่
of 42