พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิด แม้บิดาเป็นต่างด้าว และใช้สัญชาติบิดาต่างประเทศ ไม่เป็นเหตุถอนสัญชาติ
การที่ผู้ร้องแสดงตนและเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นบุคคลต่างด้าว หาทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิที่จะพิสูจน์ความจริงว่าตนมีสัญชาติไทย ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯมาตรา 57 ไม่ จึงไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวโดยที่มิได้อ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยมาตัดสิทธิของผู้ร้องและยกคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติได้ ผู้ร้องเกิดในประเทศไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว มารดาเป็นคนสัญชาติไทย ผู้ร้องได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตาม พ.ร.บ.สัญชาติฯ มาตรา 7(3) ผู้คัดค้านมิได้นำสืบว่าบิดาผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน ได้รับอนุญาต หรือเข้ามา ตามที่ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 บัญญัติไว้ ดังนี้ผู้ร้องจึงไม่ถูกถอนสัญชาติตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และใช้สัญชาติจีน อันเป็นสัญชาติของบิดาตลอดมานั้น กรณีเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งถอนสัญชาติไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายซื้อข้าวโพดชดเชยขาดสต๊อก เป็นรายจ่ายจริงในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี
โจทก์ประกอบธุรกิจรับอบข้าวโพดที่จะส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศเมื่อลูกค้านำข้าวโพดมาส่งให้โจทก์ โจทก์จะชั่งน้ำหนักและวัดความชื้นไว้แล้วใช้สูตรมาตรฐานคำนวณว่าเมื่อนำข้าวโพดมาแยกวัสดุเจือปนออกและอบให้ได้ความชื้น ร้อยละ 14.5 แล้วจะเหลือน้ำหนักเท่าใด โจทก์ก็จะออกใบรับตามจำนวนน้ำหนักที่คำนวณจากสูตรมาตรฐานนั้นให้ลูกค้าเพื่อนำมารับข้าวโพดคืน ข้าวโพดที่ลูกค้ามารับคืนไม่จำต้องเป็นจำนวนเดียวกันกับที่ลูกค้านำมาอบ ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบการสูญเสียน้ำหนักเอง ข้าวโพดที่ผ่านการอบแล้วบางส่วนจะมีความชื้นเหลือน้อยกว่าร้อยละ 14.5 ทำให้สูญเสียน้ำหนักไปเกินกว่าที่คำนวณไว้โดยสูตรมาตรฐานดังกล่าว และยังมีการสูญเสียน้ำหนักภายหลังอบแล้วด้วยเหตุอื่นอีก เช่นความชื้นลดลงอีกตามธรรมชาติและการขนถ่ายข้าวโพดลงเรือซึ่งโจทก์ไม่สามารถปัดให้เป็นความรับผิดของลูกค้าได้ โจทก์ต้องส่งมอบข้าวโพดที่อบแล้วตามจำนวนน้ำหนักที่ได้คำนวณด้วยสูตรมาตรฐานให้แก่ลูกค้าแต่ละรายที่ได้ออกใบรับให้ไว้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวโพดมาชดเชยจำนวนข้าวโพดที่สูญเสียน้ำหนักไปซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า จึงเป็นรายจ่ายที่มีการจ่ายจริงนำมาคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเจ้าหน้าที่มาตรฐานสินค้าและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสินค้าที่มาควบคุมการขนถ่ายสินค้าจากไซโล ลงเรือโจทก์จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ แต่มิได้ระบุว่าจ่ายให้แก่ผู้ใด จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายซื้อข้าวโพดชดเชยขาดสต๊อกเป็นรายจ่ายจริงทางภาษี หากพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายจริงและเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
แม้โจทก์จะจ่ายค่าบริการให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเจ้าหน้าที่มาตรฐานสินค้าและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสินค้าที่มาควบคุมการขนถ่ายสินค้าจากไซโลลงเรือไปจริงและเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อค่าใช้จ่ายดังกล่าวโจทก์เพียงแต่ลงบัญชีไว้โดยมิได้ระบุว่าจ่ายให้แก่ผู้ใด จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18) โจทก์รับอบข้าวโพดจากลูกค้า ข้าวโพดจะสูญเสียน้ำหนักภายหลังการอบเนื่องจากความชื้นลดลงและตกหล่น ขณะขนส่งโจทก์ต้องรับผิดต่อลูกค้าโดยซื้อข้าวโพดมาชดเชยส่วนที่สูญเสียน้ำหนัก ค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวโพดมาชดเชยจึงมิใช่รายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง โจทก์จึงนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และอายุความสัญญา
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินจำนวน50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ค้ำประกันการทำงานของ อ.ให้ยกฟ้องโจทก์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกัน อ.จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันการเข้าทำงานของ อ.ไว้ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันคงมีผลให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดในการกระทำของ อ.ที่ให้กระทำภายหลังมีการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันเท่านั้น ส่วนความรับผิดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอยู่ก่อน การบอกเลิกสัญญาหาได้ระงับไปด้วยไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699
อ.ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยยอมให้โจทก์หักเงินเดือนชดใช้เป็นรายเดือนจนกว่าจะครบจำนวนและโจทก์ได้หักเงินเดือนของ อ.ชดใช้ตลอดมาจน อ.ถึงแก่ความตาย ความรับผิดของ อ.ที่มีต่อโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันการเข้าทำงานของ อ.ไว้ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันคงมีผลให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดในการกระทำของ อ.ที่ให้กระทำภายหลังมีการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันเท่านั้น ส่วนความรับผิดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอยู่ก่อน การบอกเลิกสัญญาหาได้ระงับไปด้วยไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699
อ.ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยยอมให้โจทก์หักเงินเดือนชดใช้เป็นรายเดือนจนกว่าจะครบจำนวนและโจทก์ได้หักเงินเดือนของ อ.ชดใช้ตลอดมาจน อ.ถึงแก่ความตาย ความรับผิดของ อ.ที่มีต่อโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ผลของการบอกเลิกสัญญา, ความรับผิดหลังบอกเลิก, และอายุความของหนี้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับรองและค้ำประกันการเข้าทำงานของ อ.ต่อโจทก์ สัญญาว่าจะร่วมรับผิดกับ อ.ในกรณีที่อ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในอนาคตในขณะที่ อ. ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของโจทก์จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2525 และได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2528 อ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2526 ระหว่างที่สัญญาค้ำประกันยังมีผลใช้บังคับ การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันคงมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดในการกระทำของ อ. ที่ได้กระทำภายหลังมีการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 เท่านั้น ส่วนความผิดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอยู่ก่อนการบอกเลิกสัญญาหาได้ระงับไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละเงื่อนเวลาชำระราคาและโอนกรรมสิทธิ์: ศาลบังคับได้แม้ก่อนครบกำหนด หากจำเลยโต้แย้งสิทธิโจทก์
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 154 วรรคสองอาจจะเป็นการแสดงออกของผู้ได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธหนี้ของโจทก์อย่างเดียวโดยมิได้ยกเงื่อนเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นโดยปริยาย ศาลจะหยิบยกปัญหาเรื่องเงื่อนเวลาขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์พร้อมที่จะชำระราคาที่ดินพิพาททั้งหมดให้จำเลยที่ 1 และแจ้งให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามนัด ทั้งต่อมายังมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกับให้รับชำระราคาจากโจทก์ก่อนครบกำหนดเงื่อนเวลาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาในสัญญาซื้อขาย และการโต้แย้งสิทธิของคู่สัญญา
กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาไว้จึงอาจจะเป็นการแสดงออกของผู้ได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนไขเวลาโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ หากจำเลยประสงค์จะได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่กำหนดให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ในวันที่ 31 มกราคม 2530 อันเป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นซึ่งกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้คือจำเลยที่ยังไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์จนกว่าจะครบกำหนดเงื่อนเวลาดังกล่าว จำเลยก็จะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ เมื่อจำเลยให้การเพียงปฏิเสธหนี้ของโจทก์โดยมิได้ยกเงื่อนเวลานั้นเป็นข้อต่อสู้ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยปริยาย ปัญหาเรื่องเงื่อนเวลามิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ โจทก์พร้อมที่จะชำระราคาที่ดินทั้งหมดให้แก่จำเลย และได้แจ้งกำหนดนัดให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยไม่ไปตามนัดทั้งยังมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินแก่โจทก์พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์พร้อมกับรับชำระราคาทั้งหมดไปจากโจทก์ก่อนครบกำหนดเงื่อนเวลาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยพ่อค้า ผู้ซื้อสุจริตได้รับความคุ้มครองจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม
โจทก์ทั้งสองซื้อรถยนต์พิพาทมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ชำระราคาและรับมอบรถยนต์พิพาทมาแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนมาเป็นชื่อของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันจัดทำทะเบียนรถยนต์และโอนทะเบียนรถยนต์พิพาททั้งสองคันให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนี้ เฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้น ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาซื้อขายต่อโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำทะเบียนและจดทะเบียนโอนรถยนต์เป็นชื่อของโจทก์ทั้งสอง ถ้าไม่ไปจดทะเบียนขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนเท่านั้น เมื่อรถยนต์พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ไม่มีนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทกับโจทก์ทั้งสอง ดังนั้นการจัดทำและโอนทะเบียนรถยนต์เกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ทั้งสองได้ต่อไป สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้ จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดได้ตามฟ้อง ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้ายานพาหนะและของเก่าทุกชนิด มีสำนักงานที่ทำการเป็นหลักแหล่งเปิดเผย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 1ที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมาเพื่อขายให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยให้นำรถยนต์เก่าของโจทก์ทั้งสองแลกกับรถยนต์พิพาท และชำระราคาส่วนที่เหลือ มิใช่เป็นการเช่าซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1โดยเฉพาะ พฤติการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะการแสวงหากำไรเช่นปกติของพ่อค้ารับแลกเปลี่ยนรถยนต์ทั่ว ๆ ไป จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 การที่โจทก์ทั้งสองซื้อรถยนต์พิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยสุจริตแม้รถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 อยู่ โจทก์ทั้งสองย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยไม่ต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 3จนกว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จะชดใช้ราคาให้ และในกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมิใช่เป็นการละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสองระหว่างที่ครอบครองรถยนต์พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องคดีของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์: คำร้องพิจารณาใหม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สิน อำนาจอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีฝ่ายเดียวให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แต่ในวันนัดไต่สวนคำร้อง จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีอื่นแล้ว ดังนี้ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยย่อมเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลย อำนาจในการฟ้องร้องต่อสู้คดีของจำเลยจึงอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) จำเลยไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องของลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่กระทบสิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องย่อมมีผลทำให้ศาลต้องหยิบยกปัญหาในเรื่องหนี้ของจำเลยที่ 2 ขึ้นพิจารณาใหม่ จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยที่ 2 อำนาจในการฟ้องร้องต่อสู้คดีของจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) จำเลยที่ 2จึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้.