พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีในช่วงยกเว้นตาม พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) ผู้เสียภาษีต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามเกณฑ์
โจทก์ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะการประเมินดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีจนกว่าจะถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 ตามคำฟ้องโจทก์เช่นนี้ เป็นการยกข้อกล่าวอ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจ เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม 2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียตามมาตรานี้ ภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอด้วย เมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาตามพระราชกำหนดดังกล่าวโดยโจทก์ยังคงกล่าวอ้างและยืนยันในคำฟ้องปฏิเสธว่า โจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษี กรณีของโจทก์จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือมีคำสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนดดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีในช่วงพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) ผู้เสียภาษีต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามกำหนด
โจทก์ฟ้องว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 ยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีจนกว่าจะถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็นการยกข้อกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน อย่างไรก็ตามผู้ต้องเสียภาษีที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรตามมาตรา 30 จะต้องเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอด้วย แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาตามพระราชกำหนด ดังกล่าว โจทก์คงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษี จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนด เป็นฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าและการแบ่งสินสมรส: ศาลไม่ต้องพิจารณาเรื่องสินสมรสหากไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่ากับขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพและแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516, 1526และ 1533 หาใช่เป็นการร้องขอให้ลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมกันในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับซึ่งเป็นสินสมรสโดยอาศัยอำนาจดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาเรื่องค่าเลี้ยงชีพและทรัพย์สินตามฟ้องว่าเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันหรือไม่ ทั้งไม่มีเหตุที่จะลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรส: ศาลไม่พิจารณาแบ่งทรัพย์สินหากไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่ากับขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพและแบ่งที่ดินโดย อ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516,1526 และ 1533 หาใช่เป็นการร้องขอให้ลงชื่อ โจทก์เป็นเจ้าของรวมกันในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับซึ่งเป็นสินสมรส โดยอาศัยอำนาจดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 ดังนั้น เมื่อ ศาลชั้นต้นฟังว่าไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการ เป็นสามีภริยากันแล้วจึงไม่จำต้องพิจารณาเรื่องค่าเลี้ยงชีพและ ทรัพย์สินตามฟ้องว่าเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันหรือไม่ ทั้งไม่มี เหตุที่จะลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับที่โจทก์อ้างว่าเป็น สินสมรสด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงเดิมที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และประเด็นค่าเสียหายที่เป็นข้อเท็จจริง
ข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นฎีกาว่า ก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้จำเลยเคยฟ้องโจทก์มาก่อน ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้พิพากษาโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิได้เช่าอาคารพิพาทจากจำเลยศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ในคดีนี้กลับวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เช่าอาคารพิพาทจากจำเลย การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่คณะกรรมการปรับปรุงอาคารพิพาทของโจทก์ผู้ให้เช่ามีมติให้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยผู้เช่า นางย. ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองอาคารของโจทก์ผู้ให้เช่า ได้มีหนังสือบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยผู้เช่าไปตามมติดังกล่าวนั้น แม้ในมตินั้นจะไม่ได้ระบุให้นางย.เป็นผู้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยก็ถือได้ว่านางย.บอกเลิกการเช่าแทนโจทก์ผู้ให้เช่าแล้วโดยชอบโดยปริยาย ไม่จำเป็นต้องให้ผู้อำนวยการของโจทก์ผู้ให้เช่าต้องมอบอำนาจอีกการเช่าอาคารระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่าระงับลงแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นฟ้องอาจให้ค่าเช่าได้เพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทดังนี้ การที่จำเลยฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ควรต่ำกว่าเดือนละ 1,000 บาท เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มติไม่ได้ระบุผู้มีอำนาจ สิทธิระงับลงด้วยการบอกเลิกโดยชอบ
คณะกรรมการปรับปรุงอาคารพิพาทของผู้ให้เช่ามีมติให้บอกเลิกการเช่าแก่ผู้เช่า ย. ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองอาคารของผู้ให้เช่าได้มีหนังสือบอกเลิกการเช่าแก่ผู้เช่าไปตามมติดังกล่าว แม้ในมตินั้นจะไม่ได้ระบุให้ ย. เป็นผู้บอกเลิกการเช่าแก่ผู้เช่า ก็ถือได้ว่า ย. บอกเลิกการเช่าแทนผู้ให้เช่าแล้วโดยชอบโดยปริยาย ไม่จำเป็นต้องให้ผู้อำนวยการของผู้ให้เช่าต้องมอบอำนาจอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญาตามมาตรา 158: การระบุความผิดฐานลักทรัพย์และการรับของโจร
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ซึ่งในคดีนี้ฟ้องของโจทก์ที่บรรยายไว้ได้กล่าวอ้างถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ซึ่งการกระทำทุกอย่างหรืออย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เมื่อโจทก์นำสืบได้ข้อเท็จจริงชัดเจนหรือพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่าง การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว หาได้เคลือบคลุมดังจำเลยกล่าวอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา มาตรา 357: การระบุการกระทำความผิดหลายรูปแบบ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายช่วยพาเอาไป รับซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด เป็นการกล่าวอ้างถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ซึ่งการกระทำทุกอย่างหรืออย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่าง การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาฐานรับของโจร: การบรรยายฟ้องที่ครอบคลุมการกระทำที่เป็นความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 357ซึ่งการกระทำทุกอย่างหรืออย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อโจทก์นำสืบได้ข้อเท็จจริงชัดเจนหรือพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่าง การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 ไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องยักยอกทรัพย์ แม้ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ชัดเจน การพิสูจน์ข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณา
ฟ้องของโจทก์ซึ่งกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกแม้จะมิได้อ้างในคำฟ้องว่าเงินที่ผู้เสียหายมอบให้แก่จำเลยเป็นเงินมัดจำซื้อบ้านจำนวนเท่าใด ต่อเติมบ้านจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ก็ถือเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ หากจำเลยเห็นว่าเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยจำนวนดังกล่าวเป็นเงินค่าจ้างที่ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยต่อเติมบ้านให้ผู้เสียหาย จึงเป็นเงินของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็เป็นข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งสามารถนำสืบหักล้างได้ในชั้นพิจารณา