คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ จันเทรมะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 419 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: พฤติการณ์หลีกเลี่ยงการชี้แนวเขต และประวัติการบุกรุกเดิมบ่งชี้เจตนา
โจทก์ร่วมนำพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินและพนักงานสอบสวน ไปทำการรังวัดสอบเขต จำเลยที่ 1 มีพิรุธไม่กล้าที่จะนำชี้แสดง แนวเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่อ้างว่าเป็นที่ดินได้รับยกให้จาก บ.ให้ปรากฏแน่ชัดได้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องทราบดีว่าที่ดินส่วนนี้เป็นของโจทก์ร่วม ทั้งยังปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เคยบุกรุกที่ดินของโจทก์ร่วมมาก่อน และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ไปแล้วจึงเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนา ที่จะบุกรุกที่ดินของโจทก์ร่วมอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สินสูญหาย ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาที่ประกอบด้วยสัญญาเช่าและคำมั่นว่าจะขายทรัพย์สิน เมื่อรถยนต์พิพาทซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อสูญหายไป ย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อไม่ได้รับประโยชน์ในรถยนต์พิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่อาจจะขายหรือให้รถยนต์พิพาทตกเป็นสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามคำมั่น สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นอันระงับไป โจทก์คงมีสิทธิริบค่าเช่าซื้อที่ส่งไว้แล้ว และกลับเข้าครองครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ แต่ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยสูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดและยอมชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบเป็นข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่รถยนต์ที่เช่าซื้อได้หายไปในระหว่างการครอบครองของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ไม่สามารถกลับเข้าครอบครองได้ และถือว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับโดยเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระมาเป็นจำนวนค่าเสียหาย ศาลย่อมกำหนดให้โจทก์ได้ตามควรแก่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สินสูญหาย ผู้เช่าซื้อรับผิดตามข้อตกลงเบี้ยปรับ ศาลพิจารณาความเสียหายที่แท้จริง
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ระบุว่า ถ้าทรัพย์สิน ที่เช่าซื้อถูกโจรภัย...สูญหาย...ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดและยอมชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบข้อสัญญาดังกล่าวแปลได้ว่าเป็นข้อตกลง ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุ ที่รถยนต์พิพาทได้หายไปในระหว่างการครอบครองของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ไม่สามารถกลับเข้าครอบครองได้ และถือว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับโดยเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระมาเป็นจำนวนค่าเสียหาย ดังนั้น ศาลย่อมกำหนดให้โจทก์ได้ตามควรแก่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลรับฟังพยานหลักฐานเกินกำหนดระยะเวลา เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนมาตรา 88 และมาตรา 90 แต่ในมาตรา 87(2) นั้นเองบัญญัติต่อไปว่า "...แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้"เมื่อพยานบุคคลที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญในคดีส่วนพยานเอกสารที่จำเลยอ้างก็เป็นชุดเดียวกับที่โจทก์อ้างทั้งจำเลยขอยื่นบัญชีพยานในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน แม้จะสืบพยานโจทก์ไปแล้ว 2 ปาก ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เนื่องจากเป็นการนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์เท่านั้น ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีพยานของจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีอื่นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชำระหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่งให้โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ขณะทำการรับโอนที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ได้โดยสิ้นเชิง แม้จำเลยที่ 1 จะมีลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับชำระหนี้ได้นอกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้ จึงทำให้กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลดน้อยลงไม่พอที่จะใช้หนี้แก่โจทก์ อันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ จึงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้โดย สิ้นเชิงตามป.พ.พ. มาตรา 291 แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีลูกหนี้ร่วม คนอื่นก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินที่ได้ โอนขายให้จำเลยที่ 2ที่ 3 ไป และขณะโอนขาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์และไม่มีทรัพย์สินอื่นพอ ชำระหนี้โจทก์ โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉล โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดสัญญาเช่าทั้งหมด ศาลพิจารณาจากสภาพแห่งข้อหาและเหตุแห่งข้อหาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของอาคารพิพาทซึ่งปลูกสร้างในที่ดินที่เช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยทั้งสองเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ ค่าเช่าครั้งหลังสุดเดือนละ2,000 บาท ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2530 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าและให้ส่งมอบอาคารพิพาทคืนแก่โจทก์ เป็นการกล่าวถึงสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทจากโจทก์และเหตุแห่งข้อหา คือ โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าอันทำให้สัญญาเช่าระงับไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังครอบครองอาคารพิพาทอยู่โดยไม่มีสิทธิ ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้ว หาจำต้องกล่าวให้ละเอียดไปถึงว่าจำเลยที่ 1 เริ่มเช่าอาคารพิพาทจากใคร ตั้งแต่เมื่อใด มีหลักฐานการเช่าหรือไม่ ข้อตกลงในการเช่ามีอย่างไรและสัญญาเช่าสิ้นสุดลงเมื่อใดไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องขับไล่: รายละเอียดสัญญาเช่าเป็นเรื่องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่โดยกล่าวถึงสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ และบรรยายถึงเหตุแห่งข้อหาคือโจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าอันทำให้สัญญาเช่าระงับไปแล้วแต่จำเลยทั้งสองก็ยังครอบครองอาคารพิพาทของโจทก์อยู่โดยไม่มีสิทธิ โจทก์หาจำต้องกล่าวให้ละเอียดว่า จำเลยที่ 1 เริ่มเช่าอาคารพิพาทจากใคร ตั้งแต่เมื่อใด มีหลักฐานการเช่าหรือไม่ข้อตกลงในการเช่ามีอย่างไร และสัญญาเช่าสิ้นสุดลงเมื่อใดไม่เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนี้ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จัดหางานโดยรู้ว่าเป็นการค้าประเวณี ร่วมกันเป็นธุระจัดหาล่อไปหรือชักพาเพื่อการอนาจาร
จำเลยรู้อยู่ว่าห้องอาหารที่อยู่ในโรงแรมนั้น นอกจากขายอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ยังจัดให้มีการค้าประเวณีด้วย จำเลย ได้แนะนำชี้ชวนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ให้ไปทำงานใน ตำแหน่งรีเซฟชั่นหรือพนักงานต้อนรับและพนักงานเสิร์ฟ ที่ห้องอาหาร ดังกล่าวร่วมกับนาย ก. และนาง ท. จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิด ฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 และการแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
การนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดี ก่อน 2 คดีซึ่งพิพากษาให้จำคุก 3 เดือนและ 9 เดือนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุก 10 ปีของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้รวมเป็นจำคุก 11 ปี เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับ 30 วันเป็น 1 เดือน ถ้ากำหนดเป็นปีให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการดังนั้นการนับจำนวนวันใน 1 เดือนเท่ากับ 30 วัน กำหนดโทษจำคุก12 เดือนคิดเป็นจำนวนวันเท่ากับ 360 วัน แต่การนับจำนวนวันใน 1 ปีเท่ากับ 365 วันหรือ 366 วันจึงมากกว่า
of 42